สาธารณสุขเผยสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายและไข้เลือดออกปีนี้ ล่าสุด 2 โรคพบผู้ป่วยรวมกว่า 15,000 ราย ให้เจ้าหน้าที่เข้าทำงานเชิงรุก ให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พร้อมทั้งรณรงค์ให้กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทั้งในบ้านและในสวน ป้องกันทั้ง 2 โรค
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 มี.ค.2552 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 5,004 ราย เสียชีวิต 6 ราย มากสุด 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา 499 ราย ปัตตานี 220 ราย และสมุทรปราการ 313 ราย และพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จำนวน 10,556 ราย ไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ นราธิวาส 5,148 ราย สงขลา 3,269 ราย ปัตตานี 1,531 ราย ยะลา 596 ราย นครศรีธรรมราช 5 ราย ตรัง 2 ราย นนทบุรี ศรีสะเกษ กระบี่ อุบลราชธานี และพัทลุง จังหวัดละ 1 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า อาการของโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีไข้ทั้ง 2 โรค แต่โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงร่วมกับมีผื่นแดง ปวดบวมตามข้อ บางรายมีอาการรุนแรง จะนอนซม ปวดข้อมากจนไม่สามารถเดินได้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าโรคไข้ปวดข้อ ซึ่งไม่มียารักษาและไม่มีวัคซีนป้องกัน ส่วนโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับเบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีเลือดกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากมีเลือดออก ในรายที่ช็อค ผู้ป่วยจะซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเร่งทำงานเชิงรุก ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน จัดทำแนวกันชนรอบพื้นที่ระบาด พร้อมทั้งให้สถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งคลินิกเอกชน และร้านขายยาทุกแห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังโรค ผู้ที่มีอาการไข้ ปวดข้อ มีผื่นขึ้น ให้รีบตรวจอย่างละเอียด เพื่อให้การดูแล และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาด พร้อมให้แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพิ่มเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรคชิคุนกุนยาในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งคาดว่าจะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเชื้อไม่แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่น
“เมื่อมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และกินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย หรือทำให้มีเลือดออกที่อวัยวะภายในมากขึ้น ในการป้องกันไม่ให้ป่วย ประชาชนต้องไม่ให้ยุงกัด สวมเสื้อกางเกงขายาวเวลาเข้าสวน และทายากันยุง เช่น ตะไคร้หอม ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องร่วมกันทำลายลูกน้ำยุงลาย ทั้งในบ้านและในสวนทุกบ้าน ซึ่งจะสามารถป้องกันทั้ง 2 โรค คือ ไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 มี.ค.2552 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 5,004 ราย เสียชีวิต 6 ราย มากสุด 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา 499 ราย ปัตตานี 220 ราย และสมุทรปราการ 313 ราย และพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จำนวน 10,556 ราย ไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ นราธิวาส 5,148 ราย สงขลา 3,269 ราย ปัตตานี 1,531 ราย ยะลา 596 ราย นครศรีธรรมราช 5 ราย ตรัง 2 ราย นนทบุรี ศรีสะเกษ กระบี่ อุบลราชธานี และพัทลุง จังหวัดละ 1 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า อาการของโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีไข้ทั้ง 2 โรค แต่โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงร่วมกับมีผื่นแดง ปวดบวมตามข้อ บางรายมีอาการรุนแรง จะนอนซม ปวดข้อมากจนไม่สามารถเดินได้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าโรคไข้ปวดข้อ ซึ่งไม่มียารักษาและไม่มีวัคซีนป้องกัน ส่วนโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับเบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีเลือดกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากมีเลือดออก ในรายที่ช็อค ผู้ป่วยจะซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเร่งทำงานเชิงรุก ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน จัดทำแนวกันชนรอบพื้นที่ระบาด พร้อมทั้งให้สถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งคลินิกเอกชน และร้านขายยาทุกแห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังโรค ผู้ที่มีอาการไข้ ปวดข้อ มีผื่นขึ้น ให้รีบตรวจอย่างละเอียด เพื่อให้การดูแล และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาด พร้อมให้แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพิ่มเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรคชิคุนกุนยาในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งคาดว่าจะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเชื้อไม่แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่น
“เมื่อมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และกินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย หรือทำให้มีเลือดออกที่อวัยวะภายในมากขึ้น ในการป้องกันไม่ให้ป่วย ประชาชนต้องไม่ให้ยุงกัด สวมเสื้อกางเกงขายาวเวลาเข้าสวน และทายากันยุง เช่น ตะไคร้หอม ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องร่วมกันทำลายลูกน้ำยุงลาย ทั้งในบ้านและในสวนทุกบ้าน ซึ่งจะสามารถป้องกันทั้ง 2 โรค คือ ไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าว