xs
xsm
sm
md
lg

กทม.เล็งของบ 3,500 ล้านบาท สร้างห้องน้ำในกรุง ยกระดับสู่สากล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กทม.เตรียมเสนอสภาอนุมมัติงบ 3,500 ล้าน พร้อมยกระดับห้องน้ำ กทม.สู่สากลและสร้างใหม่อีก 18 แห่งลงใต้ดิน ขึ้นตึก เล็งทำ MOU 9 ด้านกับจังหวัดปริมณฑลและฉะเชิงเทราเพื่อบูรณการงาน กทม.เพื่อประโยชน์สุขประชาชนรอบด้าน

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ในการประชุมสภากทม.สมัยวิสามัญช่วงปลายเดือนนี้ ตนจะเสนอสภา กทม.ขออนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาทโดยดึงมาจากเงินสะสมที่มีอยู่กว่า 30,000 ล้านบาทซึ่งในส่วนนี้มีเงินสะสมที่ไม่มีภาระผูกพันอยู่ประมาณ 4,000 ล้านบาท จะทำให้หากสภา กทม.อนุมัติงบประมาณจำนวนนี้จะเหลือเงินสะสมกว่า 490 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อนำมาดำเนินกิจการต่างๆ คาดว่า หากสภา กทม.อนุมัติจะสามารถเบิกจ่ายได้ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้ กทม.เป็นเมืองมหานครชั้นนำของโลก กทม.ก็ต้องยกระดับห้องน้ำด้วยโดย กทม.เตรียมที่จะปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำสาธารณะทั้ง 18 แห่งของ กทม.ให้สวยงาม และจะสร้างเพิ่มขึ้นอีก 14 แห่งทั่ว กทม.เน้นเพิ่มห้องน้ำในพื้นที่ชั้นใน ย่านแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งสีลม ข้าวสาร ราชประสงค์ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีห้องน้ำสาธารณะไว้คอยบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา(สนย.) ไปคิดนอกกรอบมาว่าจะทำห้องน้ำสาธารณะรูปแบบใหม่ของ กทม.เป็นในแนวใด โดยอาจจะซื้ออาคาร ตึกแถว ขอใช้สถานที่ราชการ หรือแม้แต่หากไม่สามารถหาพื้นที่สร้างห้องน้ำได้จริง ก็ให้ทำห้องน้ำใต้ดินแทน ซึ่งบประมาณที่ใช้ก่อสร้างเฉลี่ยแห่งละ 1.2 ล้านบาท หรืออาจมากกว่านี้ซึ่ง สนย.ต้องเร่งรัดจัดทำแผนมาโดยเร็ว

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กทม.เตรียมทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ(MOU) กับจังหวัดปริมณฑล และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเป็นผลสืบเนื่องจากความร่วมมือรณรงค์เรื่องยุงลายเมื่อนเดือนกุมภาพันธุ์ 2552 จนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันซึ่งคณะผู้บริหารกทม.เห็นควรที่จะทำร่าง MOU กับจังหวัดดังกล่าว เพื่อให้ครบถ้วนความร่วมมือรวม 9 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ในอนาคตหากมีการสร้างเตาเผาขยะในปริมณฑลที่อาจจะให้เจ้าของพื้นที่สามารถใช้สอบประโยชน์ได้ด้วย ด้านการจราจร อาจจะขอให้ทางจังหวัดนั้นที่ระบบขนส่งมวลชนของกทม.ไปถึง เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสก็จะขอให้จัดหาพื้นที่จอดรถ หรือขอความร่วมมือให้ปรับเปลี่ยนเสน้ทางเดินรถ เป็นต้น ด้าน การบรรเทาสาธารณภัย ด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ ด้านโยธา ด้านผังเมือง ด้านวัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว และด้านการศึกษา

ทั้งนี้ ตนจะเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด นายกบริหารองค์การส่วนจังหวัด (อบจ.)ปริมณฑล และจังหวัดฉะเชิงเทรามารือในเบื้องต้น รวมถึงจะเปิดก่อนเพื่อเปิดกว้างให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในแต่ละพื้นที่ และ ส.ก.มาแสวงหาความร่วมมือด้วยกันเพื่อครบถ้วนสมบูรณ์
กำลังโหลดความคิดเห็น