xs
xsm
sm
md
lg

สัตวแพทย์จุฬาฯ ยันหวัดหมูไทยไม่ใช่ “หวัดเม็กซิโก” จับตาหวั่นผสมหวัดนก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงยืนยันเชื้อไข้หวัดหมูในไทย เป็นคนละชนิดกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก เผยยังจับตาต่อเนื่อง เพราะหมูอาจเป็นที่ผสมเชื้อไวรัสหวัด หวั่นไข้หวัดนกผสมไข้หวัดหมูในไทย แล้วเกิดเชื้อหวัดใหม่ติดสู่คน แต่ยังไม่พบการกลายพันธุ์แต่อย่างใด

ศ.น.สพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.สพ.ญ.ดร.สันนิภา สุรทัตต์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช หัวหน้าหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ และ สพ.ญ.ดร.ประวีณา กิติคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสโรคสุกร เปิดแถลงข่าวเรื่อง “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” ยืนยันว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดเม็กซิโก ที่ในช่วงแรกเรียกว่า “ไข้หวัดหมู” นั้น พบเพียงการติดจากคนสู่คนเท่านั้น ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อดังกล่าวจากหมูมาสู่คนแต่อย่างใด จึงถือว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นเชื้อคนละชนิดกับเชื้อไข้หวัดหมูโดยทั่วไป รวมทั้งเชื้อไข้หวัดหมูในประเทศไทย อีกทั้งย้ำว่า เชื้อไข้หวัดหมูทั่วไป จะติดต่อผ่านทางการคลุกคลี ไม่ได้ติดต่อผ่านทางการกิน แต่ที่ยังต้องมีการสกัดห้ามนำเข้าหมูจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการปิดประตูโอกาสในทุกทาง

“แม้ชื่อเป็น H1N1 เหมือนกัน แต่ไส้ในไม่เหมือนกัน จากการศึกษาไข้หวัดหมูตั้งแต่ตรวจพบครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2531 เชื้อยังไม่เปลี่ยน กระทั่งล่าสุดปี 2546-2548 ก็ยังมีหน้าตาเชื้อไม่เปลี่ยนไป แต่ที่เรากังวลและต้องเฝ้าระวังอย่างมากคือ หมูเป็นสัตว์ที่มีเซลล์รับเชื้อหวัด และเป็นที่ผสมเชื้อได้ดี ในบ้านเรามีเชื้อไข้หวัดนกอยู่แล้ว ไข้หวัดนกอาจไปผสมโรงกับไข้หวัดหมูในฟาร์มหมู แล้วกลายพันธุ์เป็นเชื้อใหม่ ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาของเชื้อนี้มาตั้งแต่ปี 2531” คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวว่า โรคไข้หวัดหมูจัดอยู่ในโรคหวัดกลุ่มเอ ซึ่งติดเชื้อในคน หมู และสัตว์ปีก ลักษณะของไข้หวัดหมูที่พบทั่วโลกเป็นสายพันธุ์ H1N1 H3N2 และ H1N2 แต่เชื้อในแต่ละท้องที่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เพราะมีวิวัฒนาการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่เชื้อมาจากการผสมยีนส์ของไข้หวัดในสัตว์ใดบ้างอย่างไร

สพ.ญ.ดร.ประวีณา กล่าวว่า จากการติดตามศึกษาเชื้อไข้หวัดหมูในไทยประเทศไทย หลักฐานทางซีรั่มวิทยาพบว่ามีการวนเวียนของเชื้อ H1 และ H3 ในฟาร์มหมูอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมเชื้อไข้หวัดหมูในไทย ก็พบว่าไม่เหมือนกับลักษณะของเชื้อไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก โดยยกตัวอย่างอย่างยีนส์ HA และ NA ซึ่งเป็น 2 ใน 8 ท่อนยีนส์ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ พบว่าเป็นเชื้อที่จัดในกลุ่มอเมริกากับยุโรป ขณะที่เชื้อของไทยอยู่คนละกลุ่มกัน

ในการแถลงข่าวยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในหมูในประเทศไทย ว่า เป็นโรคที่พบไม่มากนัก และไม่บ่อยนักในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนยิ่งพบน้อย และโรคไข้หวัดหมูนี้ หมูจะแสดงอาการชัดเจน เกษตรสามารถเข้าดูแลได้ทันที โอกาสที่เชื้อจะไปผสมพันธุ์กับเชื้อไวรัสอื่นก็จะน้อยลง ที่ผ่านมาไข้หวัดหมูพบมากในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว แต่กลับไม่พบว่าเกิดความเสียหายต่อฟาร์มหมูอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า ไข้หวัดหมูไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกรไทย

รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย

  • รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!

  • สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล

  • คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา

  • สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก

  • สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน

  • แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า

  • “สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ

  • สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.

  • รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี

  • WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด

  • สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด

  • ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”

  • ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้

  • จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้

  • จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก
  • กำลังโหลดความคิดเห็น