รพ.จุฬาฯ แถลง พบตัวหญิงวัย 42 ปี เข้าข่ายเฝ้าระวัง “หวัดเม็กซิโก” ลุ้นผลตรวจจากห้องปฏิบัติการคืนนี้ เผย เดินทางกลับจากเมืองจังโก และสหรัฐอเมริกา ก่อนพำนักในไทย และไปสิงคโปร์ ระบุ ยังเดินเหินได้ตามปกติ แต่มีไข้สูง แพทย์ยันยารักษามีเพียงพอ
เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวความคืบหน้าพบผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังว่าอาจจะติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโก ว่า กรณีที่มีข่าวออกไปว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโก ที่ รพ.จุฬาฯ ขอทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า มีพลเมืองดีแจ้งว่ามีหญิงสาวอายุ 42 ปี เดินทางกลับจากประเทศเม็กซิโกได้ 7 วัน โดยหญิงคนดังกล่าว เดินทางไปเม็กซิโกตั้งแต่วันที่ 3-11 เม.ย.และเดินทางไปพำนักอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ช่วงวันที่ 11-19 เม.ย.และกลับมาอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 19-21 เม.ย.จากนั้น เดินทางไปประเทศสิงคโปร์ วันที่ 22-25 เม.ย.
หญิงสาวคนดังกล่าวมีอาการไข้ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.จากนั้นอาการดีขึ้น และกลับมาเป็นไข้อีกวันที่ 26 เม.ย.จึงเข้ารับการตรวจที่ รพ.จุฬาฯ ในวันนี้ โดยไม่มีอาการรุนแรง แต่มีอาการเหมือนอาการไข้หวัดใหญ่ จึงขอกักตัวดูอาการไว้ก่อน ว่า จะเป็น FLU A สายพันธุ์ใหม่ หรือ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หรือไม่ ผลการตรวจจะออกจากห้องปฏิบัติการภายในคืนนี้ โดยได้เข้าตรวจในห้องปฏิบัติการในช่วงกลางวันที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงจึงจะทราบผล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอาการรุนแรง เดินเหินได้ปกติ แต่ที่ต้องกักตัวการตรวจวินิจฉัยของโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า ในเรื่องวัคซีนป้องกัน ขณะนี้มีเพียงวัคซีนที่ป้องกัน H1N1 และ H3N2 ซึ่งเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล และวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่สามารถใช้ฉีดป้องกันหวัดเม็กซิโกได้ ซึ่งไข้หวัดตามฤดูกาลนั้นในเมืองไทยพบมากช่วงต้นฤดูฝนไปจนหมดฤดูหนาว ในขณะที่ต่างประเทศจะพบมากในฤดูหนาว ไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่เชื้อโรคจะถูกทำลายโดยแสงแดดและยูวี แต่ไข้หวัดเม็กซิโกสามารถทนความร้อนได้ 60 องศาเซลเซียส แต่ไข้หวัดใหญ่ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกอาการคล้ายกันมาก แยกกันไม่ออก ส่วนขณะนี้ยาที่ใช้รักษา คือ ทามิฟลู ได้สำรองไว้ จำนวน 3 ล้านแคปซูล และสามารถผลิตได้ทันที 1 ล้านแคปซูล ประชาชนไม่ต้องห่วงเรื่องยารักษา แต่เรื่องวัคซีนป้องกันต้องใช้เวลาอีก 6 เดือน และขอให้ประชาชนที่สงสัยว่าตนเองมีอาการหวัด รีบเข้าตรวจ และรับคำแนะนำจากแพทย์ทันที
วันเดียวกัน รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโกไว้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 42 ปี เป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดินทางปฏิบัติราชการที่ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายนที่ผ่านมา หลังกลับประเทศไทยมีไข้ต่ำในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นกลับมามีไข้ต่ำอีกครั้งในวันที่ 26 เมษายน และวันนี้ (28 เม.ย.) เดินทางมารับการตรวจที่โรงพยาบาลด้วยไข้สูงถึง 37 องศาเซลเซียส แพทย์จึงรับตัวไว้ดูอาการ เนื่องจากสงสัยว่าอาจมีอาการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก จึงต้องมีการตรวจอีกครั้งว่าเข้าเกณฑ์ป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะรายงานตามระบบให้กระทรวงสาธารณสุขรับทราบอีกครั้ง
รศ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวถึงช่วงเวลาการเดินทางของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2552 อยู่ทีเม็กซิโก วันที่ 11-19 เมษายน อยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 19-21 เมษายน อยู่ที่ประเทศไทย และวันที่ 22-25 เมษายน อยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงเมื่อวันที่ 23 เมษายน และไข้ลดลงด้วยการทานยาเอง และเมื่อวันที่ 26 เมษายนมีไข้ต่ำประกอบกับมีข่าวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก จึงเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตัวเอง เบื้องต้นนอกจากแพทย์จะแยกคนไข้ไว้ในสถานที่เตรียมไว้แล้ว ยังได้ประสานไปยังเครือญาติที่คนไข้ได้สัมผัส หรือมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเฝ้าระวังต่อไป
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวความคืบหน้าพบผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังว่าอาจจะติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโก ว่า กรณีที่มีข่าวออกไปว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโก ที่ รพ.จุฬาฯ ขอทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า มีพลเมืองดีแจ้งว่ามีหญิงสาวอายุ 42 ปี เดินทางกลับจากประเทศเม็กซิโกได้ 7 วัน โดยหญิงคนดังกล่าว เดินทางไปเม็กซิโกตั้งแต่วันที่ 3-11 เม.ย.และเดินทางไปพำนักอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ช่วงวันที่ 11-19 เม.ย.และกลับมาอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 19-21 เม.ย.จากนั้น เดินทางไปประเทศสิงคโปร์ วันที่ 22-25 เม.ย.
หญิงสาวคนดังกล่าวมีอาการไข้ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.จากนั้นอาการดีขึ้น และกลับมาเป็นไข้อีกวันที่ 26 เม.ย.จึงเข้ารับการตรวจที่ รพ.จุฬาฯ ในวันนี้ โดยไม่มีอาการรุนแรง แต่มีอาการเหมือนอาการไข้หวัดใหญ่ จึงขอกักตัวดูอาการไว้ก่อน ว่า จะเป็น FLU A สายพันธุ์ใหม่ หรือ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หรือไม่ ผลการตรวจจะออกจากห้องปฏิบัติการภายในคืนนี้ โดยได้เข้าตรวจในห้องปฏิบัติการในช่วงกลางวันที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงจึงจะทราบผล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอาการรุนแรง เดินเหินได้ปกติ แต่ที่ต้องกักตัวการตรวจวินิจฉัยของโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า ในเรื่องวัคซีนป้องกัน ขณะนี้มีเพียงวัคซีนที่ป้องกัน H1N1 และ H3N2 ซึ่งเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล และวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่สามารถใช้ฉีดป้องกันหวัดเม็กซิโกได้ ซึ่งไข้หวัดตามฤดูกาลนั้นในเมืองไทยพบมากช่วงต้นฤดูฝนไปจนหมดฤดูหนาว ในขณะที่ต่างประเทศจะพบมากในฤดูหนาว ไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่เชื้อโรคจะถูกทำลายโดยแสงแดดและยูวี แต่ไข้หวัดเม็กซิโกสามารถทนความร้อนได้ 60 องศาเซลเซียส แต่ไข้หวัดใหญ่ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกอาการคล้ายกันมาก แยกกันไม่ออก ส่วนขณะนี้ยาที่ใช้รักษา คือ ทามิฟลู ได้สำรองไว้ จำนวน 3 ล้านแคปซูล และสามารถผลิตได้ทันที 1 ล้านแคปซูล ประชาชนไม่ต้องห่วงเรื่องยารักษา แต่เรื่องวัคซีนป้องกันต้องใช้เวลาอีก 6 เดือน และขอให้ประชาชนที่สงสัยว่าตนเองมีอาการหวัด รีบเข้าตรวจ และรับคำแนะนำจากแพทย์ทันที
วันเดียวกัน รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโกไว้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 42 ปี เป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดินทางปฏิบัติราชการที่ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายนที่ผ่านมา หลังกลับประเทศไทยมีไข้ต่ำในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นกลับมามีไข้ต่ำอีกครั้งในวันที่ 26 เมษายน และวันนี้ (28 เม.ย.) เดินทางมารับการตรวจที่โรงพยาบาลด้วยไข้สูงถึง 37 องศาเซลเซียส แพทย์จึงรับตัวไว้ดูอาการ เนื่องจากสงสัยว่าอาจมีอาการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก จึงต้องมีการตรวจอีกครั้งว่าเข้าเกณฑ์ป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะรายงานตามระบบให้กระทรวงสาธารณสุขรับทราบอีกครั้ง
รศ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวถึงช่วงเวลาการเดินทางของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2552 อยู่ทีเม็กซิโก วันที่ 11-19 เมษายน อยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 19-21 เมษายน อยู่ที่ประเทศไทย และวันที่ 22-25 เมษายน อยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงเมื่อวันที่ 23 เมษายน และไข้ลดลงด้วยการทานยาเอง และเมื่อวันที่ 26 เมษายนมีไข้ต่ำประกอบกับมีข่าวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก จึงเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตัวเอง เบื้องต้นนอกจากแพทย์จะแยกคนไข้ไว้ในสถานที่เตรียมไว้แล้ว ยังได้ประสานไปยังเครือญาติที่คนไข้ได้สัมผัส หรือมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเฝ้าระวังต่อไป
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย