สธ.ไทยเพิ่มมาตรการเข้มข้นเฝ้าระวัง “หวัดเม็กซิโก” เพิ่มการคัดกรองผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาด ที่ท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่ง และออกประกาศคำเตือนประชาชนไทย หากไม่จำเป็นขอให้เลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปเมืองที่มีการระบาดโรค จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น หลังองค์การอนามัยโลกเพิ่มความรุนแรงเป็นระดับ 4
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้ามาตรการป้องกันเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดที่เม็กซิโกว่า ในวันนี้ (28 เม.ย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไทย ได้รับแจ้งจากองค์การอนามัยโลกว่า องค์การอนามัยโลกได้ประกาศจัดความรุนแรงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 คือ เชื้อมีการติดต่อจากคนสู่คน มีการแพร่ระบาดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนของ สธ.ไทยได้ยึดหลักปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.2551 และเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังโรคมากขึ้น โดยในวันนี้ได้ทำการตรวจวัดไข้ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง ในเบื้องต้นนี้เน้นผู้โดยสารที่เดินทางมาจากพื้นที่ซึ่งมีผู้ป่วยยืนยันตามประกาศขององค์การอนามัยโลกก่อน หากพบรายใดมีไข้ จะซักประวัติและตรวจเพิ่มเติม หากป่วยชัดเจนจะส่งตัวไปตรวจรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งได้จัดเตรียมห้องรองรับเรียบร้อยแล้ว
รมว.สธ.กล่าวอีกว่า ผู้โดยสารทุกรายที่เข้าสู่ประเทศไทย จะได้รับบัตรคำเตือนสุขภาพ (Health Beware Card) ระหว่างที่พำนักในประเทศไทย หากเกิดอาการไม่สบายภายใน 14 วัน ขอให้ไปพบแพทย์ตรวจรักษา และแจ้งประวัติการเดินทาง ซึ่งจะทำให้สามารถให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคนี้สามารถใช้ยาต้านไวรัสรักษาได้ และใช้ได้ผลดีภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ ซึ่ง สธ.ได้กระจายไปให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศแล้ว
สธ.ไม่ห้ามเดินทางไปจุดระบาดแต่ไม่จำเป็นให้เลี่ยง
นายวิทยากล่าวต่อว่า วันนี้ สธ.จะออกประกาศคำแนะนำประชาชนในการปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ แต่ยังไม่ห้ามการเดินทางไปพื้นที่ระบาด แต่ในช่วงนี้หากไม่จำเป็น ขอให้เลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังเมืองที่เป็นพื้นที่ที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง และหากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ระบาด ขอให้เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่สถานที่แออัด พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยให้ล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของหรือราวบันได ปุ่มลิฟต์ และภายหลังจากเดินทางกลับประเทศไทย ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ไอ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังเดินทางกลับ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับการรักษาและการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะประสานไปยังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเช่นกรุ๊ปทัวร์ต่างๆ ให้ยึดเป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
ด้าน นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การประกาศความรุนแรงเป็นระดับ 4 ขององค์การอนามัยโลกหมายความว่า เป็นระดับที่มีการติดต่อจากคนสู่คนเป็นเวลายาวนาน และอยู่ในระดับพื้นที่ภายในประเทศ หากสามารถควบคุมระดับนี้ได้ผล จะลดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งมาตรการหลักที่องค์การอนามัยโลกให้ทุกประเทศปฏิบัติคือการป้องกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ และประเทศที่มีการระบาด ต้องคัดกรองผู้ป่วยไม่ให้ออกนอกประเทศอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ห้ามเดินทาง แต่ให้คำแนะนำการป้องกันตนเอง
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้ามาตรการป้องกันเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดที่เม็กซิโกว่า ในวันนี้ (28 เม.ย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไทย ได้รับแจ้งจากองค์การอนามัยโลกว่า องค์การอนามัยโลกได้ประกาศจัดความรุนแรงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 คือ เชื้อมีการติดต่อจากคนสู่คน มีการแพร่ระบาดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนของ สธ.ไทยได้ยึดหลักปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.2551 และเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังโรคมากขึ้น โดยในวันนี้ได้ทำการตรวจวัดไข้ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง ในเบื้องต้นนี้เน้นผู้โดยสารที่เดินทางมาจากพื้นที่ซึ่งมีผู้ป่วยยืนยันตามประกาศขององค์การอนามัยโลกก่อน หากพบรายใดมีไข้ จะซักประวัติและตรวจเพิ่มเติม หากป่วยชัดเจนจะส่งตัวไปตรวจรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งได้จัดเตรียมห้องรองรับเรียบร้อยแล้ว
รมว.สธ.กล่าวอีกว่า ผู้โดยสารทุกรายที่เข้าสู่ประเทศไทย จะได้รับบัตรคำเตือนสุขภาพ (Health Beware Card) ระหว่างที่พำนักในประเทศไทย หากเกิดอาการไม่สบายภายใน 14 วัน ขอให้ไปพบแพทย์ตรวจรักษา และแจ้งประวัติการเดินทาง ซึ่งจะทำให้สามารถให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคนี้สามารถใช้ยาต้านไวรัสรักษาได้ และใช้ได้ผลดีภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ ซึ่ง สธ.ได้กระจายไปให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศแล้ว
สธ.ไม่ห้ามเดินทางไปจุดระบาดแต่ไม่จำเป็นให้เลี่ยง
นายวิทยากล่าวต่อว่า วันนี้ สธ.จะออกประกาศคำแนะนำประชาชนในการปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ แต่ยังไม่ห้ามการเดินทางไปพื้นที่ระบาด แต่ในช่วงนี้หากไม่จำเป็น ขอให้เลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังเมืองที่เป็นพื้นที่ที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง และหากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ระบาด ขอให้เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่สถานที่แออัด พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยให้ล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของหรือราวบันได ปุ่มลิฟต์ และภายหลังจากเดินทางกลับประเทศไทย ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ไอ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังเดินทางกลับ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับการรักษาและการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะประสานไปยังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเช่นกรุ๊ปทัวร์ต่างๆ ให้ยึดเป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
ด้าน นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การประกาศความรุนแรงเป็นระดับ 4 ขององค์การอนามัยโลกหมายความว่า เป็นระดับที่มีการติดต่อจากคนสู่คนเป็นเวลายาวนาน และอยู่ในระดับพื้นที่ภายในประเทศ หากสามารถควบคุมระดับนี้ได้ผล จะลดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งมาตรการหลักที่องค์การอนามัยโลกให้ทุกประเทศปฏิบัติคือการป้องกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ และประเทศที่มีการระบาด ต้องคัดกรองผู้ป่วยไม่ให้ออกนอกประเทศอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ห้ามเดินทาง แต่ให้คำแนะนำการป้องกันตนเอง
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย