ไทยโล่ง! ผลตรวจเบื้องต้นสาวเข้าข่ายเฝ้าระวังแค่ไข้หวัดธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก สธ.ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เตือนหลีกเลี่ยงเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดโรคไข้หวัดเม็กซิโก ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพิ่ม ขอความร่วมมือทุกสายการบินแจกแบบฟอร์มสอบถามประวัติการเดินทางผู้โดยสาร พร้อมประชุมคณะกรรมการฯ ระดับชาติ พรุ่งนี้ ที่รัฐสภา
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมมาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโกเป็นระดับ 4 สธ.ได้ออกแถลงการณ์คำเตือนประชาชนฉบับที่ 1 เพื่อให้รู้ว่ามีความเสี่ยงในการเดินทางไปประเทศเม็กซิโก บางเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่มีการแพร่ระบาด แต่ในช่วงนี้หากไม่จำเป็น ขอให้เลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังเมืองที่เป็นพื้นที่ที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง และหากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ระบาด ขอให้เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่สถานที่แออัด พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยให้ล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของหรือราวบันได ปุ่มลิฟต์ รวมทั้งหากเดินทางกลับประเทศไทย ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ไอ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังเดินทางกลับ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับการรักษาและการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด
“ขณะนี้ได้ประสานให้ผู้แทนองค์การอนามัยโลกที่ประจำในประเทศไทยทำสัญญาณไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอความร่วมมือให้ประเทศเม็กซิโก ตรวจสอบคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศว่ามีอาการป่วยของโรคอยู่ในระดับการแพร่เชื้อหรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจสอบผู้ป่วยตั้งแต่ปีระเทศต้นตอ”นายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในวันนี้ (28 เม.ย.) สธ.ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมสแกนนเอร์เพิ่มอีก 1 ตัว ที่สนามบินนานาชาติเกาะสมุย รวมทั้งจะหารือกับกระทรวงคมนาคมว่ามีช่องทางใดอีกบ้างที่จะมีการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยว เพื่อติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเทอร์โมสแกนให้ครบทุกแห่ง
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก ที่รัฐสภา เวลา 14.00 น.จะเสนอให้มีการขอความร่วมมือทุกสายการบินแจกแบบฟอร์มสอบถามประวัติการเดินทางผู้โดยสารว่าผ่านประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคหรือไม่ หากมีการเดินทางจะจัดเคาน์เตอร์พิเศษในการรองรับผู้โดยสารกลุ่มนี้
ขณะที่ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีพบมีผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังการที่ผู้ป่วยเดินทางเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง เนื่องจากได้ยินข่าวว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ประเทศเม็กซิโกถือเป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนให้ความสนใจและมีความตื่นตัว แม้จะมีอาการไม่มากแต่ก็มารับการรักษาและเฝ้าระวัง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะดำเนินการตามขั้นตอนในการเก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ซึ่งผลเบื้องต้นระบุว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา และเมื่อพิจารณาจากระยะฟักตัวของโรค จึงไม่น่ากังวลมาก เพราะเดินทางกลับมาจากประเทศเม็กซิโกเป็นเวลานานพอสมควร ซึ่งตามขั้นตอนจะให้คนไข้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน เพื่อสังเกตอาการต่อไป ยังถือว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวเข้าข่ายเฝ้าระวังเท่านั้น
นพ.มานิต ตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การตรวจยืนยันเบื้องต้นสามารถทำได้ภายใน 4 ชั่วโมง แต่หากจะต้องยืนยันอีกครั้งจะต้องนำตัวอย่างเชื้อโรคเข้าพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง อีกทั้งต้องยืนยันจากผลการตรวจกับ 5 ห้องปฏิบัติการของโรงเรียนแพทย์ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าที่จะสามารถประกาศว่าพบผู้ป่วยรายแรก ขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนเดียวกันกับตอนตรวจพิสูจน์ไข้หวัดนก
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เตรียมความพร้อมในการสำรองยาต้านไวรัส ซึ่งองค์การเภสัชกรรม.มีประสบการณ์จากการระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก โดยมีการผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ในชื่อ “จีพีโอ เอ ฟลู” (GPO - A – Flu) ซึ่งนักวิชาการยืนยันว่า มีสรรพคุณรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ ไว้จำนวน 170,000เม็ด สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 17,000 คน โดยผู้ป่วย 1 ราย ต้องรับประทานยาวันละ 2 เม็ด เป็นระยะเวลา 5 วัน และมีการสำรองวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสไว้อีก 1 ล้านเม็ด สำหรับผู้ป่วย จำนวน 100,000 คน โดยสามารถผลิตได้ภายใน 4 วัน องค์การเภสัชกรรมมีความพร้อมในการกระจายยาให้สถานพยาบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใน 12 ชั่วโมง ส่วนในภูมิภาคจะส่งให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการสัมผัส อาทิ หน้ากากอนามัย หมวก ชุดกาวน์ และเจลล้างมืออนามัย องค์การเภสัชกรรมมีสำรองไว้พร้อมเช่นกัน สามารถติดต่อได้ในทันที ส่วนการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวนั้น ได้รับมอบหมายให้เร่งทำการวิจัยวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โดยได้รับทุนจากองค์การอนามัยโลกซึ่งได้ทำการวิจัยที่ห้องปฏิบัติการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านการวิจัยในเฟสที่ 1 และกำลังดำเนินการอยู่ในเฟสที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2552 เบื้องต้นสามารถผลิตวัคซีนเพื่อทดลองได้ทันที
ทั้งนี้ สำหรับผลตรวจผู้ป่วยเข้าข่ายเฝ้าระวังจากห้องปฏิบัติการของทาง ร.พ.จุฬาฯ อย่างเป็นทางการ คณะแพทย์จะแถลงในวันพรุ่งนี้ (29 เม.ย.)
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมมาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโกเป็นระดับ 4 สธ.ได้ออกแถลงการณ์คำเตือนประชาชนฉบับที่ 1 เพื่อให้รู้ว่ามีความเสี่ยงในการเดินทางไปประเทศเม็กซิโก บางเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่มีการแพร่ระบาด แต่ในช่วงนี้หากไม่จำเป็น ขอให้เลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังเมืองที่เป็นพื้นที่ที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง และหากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ระบาด ขอให้เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่สถานที่แออัด พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยให้ล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของหรือราวบันได ปุ่มลิฟต์ รวมทั้งหากเดินทางกลับประเทศไทย ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ไอ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังเดินทางกลับ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับการรักษาและการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด
“ขณะนี้ได้ประสานให้ผู้แทนองค์การอนามัยโลกที่ประจำในประเทศไทยทำสัญญาณไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอความร่วมมือให้ประเทศเม็กซิโก ตรวจสอบคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศว่ามีอาการป่วยของโรคอยู่ในระดับการแพร่เชื้อหรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจสอบผู้ป่วยตั้งแต่ปีระเทศต้นตอ”นายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในวันนี้ (28 เม.ย.) สธ.ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมสแกนนเอร์เพิ่มอีก 1 ตัว ที่สนามบินนานาชาติเกาะสมุย รวมทั้งจะหารือกับกระทรวงคมนาคมว่ามีช่องทางใดอีกบ้างที่จะมีการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยว เพื่อติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเทอร์โมสแกนให้ครบทุกแห่ง
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก ที่รัฐสภา เวลา 14.00 น.จะเสนอให้มีการขอความร่วมมือทุกสายการบินแจกแบบฟอร์มสอบถามประวัติการเดินทางผู้โดยสารว่าผ่านประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคหรือไม่ หากมีการเดินทางจะจัดเคาน์เตอร์พิเศษในการรองรับผู้โดยสารกลุ่มนี้
ขณะที่ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีพบมีผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังการที่ผู้ป่วยเดินทางเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง เนื่องจากได้ยินข่าวว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ประเทศเม็กซิโกถือเป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนให้ความสนใจและมีความตื่นตัว แม้จะมีอาการไม่มากแต่ก็มารับการรักษาและเฝ้าระวัง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะดำเนินการตามขั้นตอนในการเก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ซึ่งผลเบื้องต้นระบุว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา และเมื่อพิจารณาจากระยะฟักตัวของโรค จึงไม่น่ากังวลมาก เพราะเดินทางกลับมาจากประเทศเม็กซิโกเป็นเวลานานพอสมควร ซึ่งตามขั้นตอนจะให้คนไข้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน เพื่อสังเกตอาการต่อไป ยังถือว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวเข้าข่ายเฝ้าระวังเท่านั้น
นพ.มานิต ตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การตรวจยืนยันเบื้องต้นสามารถทำได้ภายใน 4 ชั่วโมง แต่หากจะต้องยืนยันอีกครั้งจะต้องนำตัวอย่างเชื้อโรคเข้าพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง อีกทั้งต้องยืนยันจากผลการตรวจกับ 5 ห้องปฏิบัติการของโรงเรียนแพทย์ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าที่จะสามารถประกาศว่าพบผู้ป่วยรายแรก ขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนเดียวกันกับตอนตรวจพิสูจน์ไข้หวัดนก
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เตรียมความพร้อมในการสำรองยาต้านไวรัส ซึ่งองค์การเภสัชกรรม.มีประสบการณ์จากการระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก โดยมีการผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ ในชื่อ “จีพีโอ เอ ฟลู” (GPO - A – Flu) ซึ่งนักวิชาการยืนยันว่า มีสรรพคุณรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ ไว้จำนวน 170,000เม็ด สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 17,000 คน โดยผู้ป่วย 1 ราย ต้องรับประทานยาวันละ 2 เม็ด เป็นระยะเวลา 5 วัน และมีการสำรองวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสไว้อีก 1 ล้านเม็ด สำหรับผู้ป่วย จำนวน 100,000 คน โดยสามารถผลิตได้ภายใน 4 วัน องค์การเภสัชกรรมมีความพร้อมในการกระจายยาให้สถานพยาบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใน 12 ชั่วโมง ส่วนในภูมิภาคจะส่งให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการสัมผัส อาทิ หน้ากากอนามัย หมวก ชุดกาวน์ และเจลล้างมืออนามัย องค์การเภสัชกรรมมีสำรองไว้พร้อมเช่นกัน สามารถติดต่อได้ในทันที ส่วนการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวนั้น ได้รับมอบหมายให้เร่งทำการวิจัยวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โดยได้รับทุนจากองค์การอนามัยโลกซึ่งได้ทำการวิจัยที่ห้องปฏิบัติการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านการวิจัยในเฟสที่ 1 และกำลังดำเนินการอยู่ในเฟสที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2552 เบื้องต้นสามารถผลิตวัคซีนเพื่อทดลองได้ทันที
ทั้งนี้ สำหรับผลตรวจผู้ป่วยเข้าข่ายเฝ้าระวังจากห้องปฏิบัติการของทาง ร.พ.จุฬาฯ อย่างเป็นทางการ คณะแพทย์จะแถลงในวันพรุ่งนี้ (29 เม.ย.)
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย