xs
xsm
sm
md
lg

พิษเศรษฐกิจทำรายได้แรงงานนอกระบบหด 3-5 พันบาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เนต
กทม.เผยวิกฤตเศรษฐกิจทำรายได้แรงงานนอกระบบหด เดือนละ 3-5 พันบาทต่อครัวเรือน พร้อมจับมือ สสส.จัดมหกรรมสมัชชาแรงงานนอกระบบ 30 เม.ย.เปิดรับสมัครงานกว่า 6,000 อัตรา

พญ.มาลินี สุขเวชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณแรงงานนอกระบบ ใน กทม.ว่า จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2551 พบว่าแรงงานนอกระบบมีจำนวนถึง 24.1 ล้านคน ขณะที่แรงงานในระบบมีจำนวน 13.7 ล้านคน

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบในกทม.ปี 2552 มีถึง 1.2 ล้านคน ประกอบอาชีพ รับงานไปทำที่บ้าน รับจ้าง แม่ค้า และแท็กซี่ โดยพบว่ารายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 14,000 บาท และในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ทำให้ส่งผลต่อรายได้แรงงานนอกระบบลดลงถึง 84% หรือรายได้ครัวเรือนลดลงเดือนละประมาณ 3,000-5,000 บาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากยอดขายสินค้าหรือสิ่งของลดลง 60% จำนวนงานที่เคยทำลดลง 31% ต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่ 3%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการแก้ไขปัญหานั้นตนอยากส่งเสริมอาชีพการตัดเย็บชุดนักเรียนให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบเพราะขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรี ที่ให้เงินผู้ปกครองนำไปซื้อชุดนักเรียนให้กับบุตรหลาน แรงงานกลุ่มนี้ก็สามารถตัดเย็บชุดออกมาขายได้ในชุมชนซึ่งจะช่วยให้เกิดรายได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค.กทม.ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเริมสุขภาพ(สสส.) จัดงานมหกรรมสมัชชาแรงงานนอกระบบในวันที่ 30 เม.ย.ที่ศาลาว่าการ กทม.เพื่อรอรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

พร้อมกันนี้ ภายในงาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ เขตพื้นที่ 1 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จะเปิดรับสมัครงานของแรงงานนอกระบบประเภทงานบริการ และภาคอุตสาหกรรมจำนวน 6,000 ตำแหน่งอีกด้วย

ด้นดร.สุปรีดา อดุลยานท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า จากการศึกษาปัญหาที่แรงงานนอกระบบต้องเผชิญ 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.ค่าตอบแทนน้อย ไม่ได้ตามกฎหมายขั้นต่ำ 2.ความเมื่อยจากอิริยาบถในการทำงาน 3.ได้รับสารเคมีเป็นพิษ 4.งานไม่ต่อเนื่อง 5.งานหนัก 6.ฝุ่น ควัน กลิ่น 7.แสงสว่างไม่เพียงพอ 8.เครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตราย 9.ที่ทำงานไม่สะอาด 10.ได้รับอันตรายต่อระบบหู/ตา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารเคมีอันตรายโดยขาเครื่องป้องกันและปัญหาสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งการขาดคามรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานของตน

ทั้งนี้ จากการศึกษาสุขภาพเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบที่สำคัญ เช่น กลุ่มเกษตรกร ช่างเสริมสวย ผู้ผลิตตุ๊กตา พบโรคสำคัญอันดับ 1 คือ ความดันโลหิตสูง ขณะที่ผู้ขับรถแท็กซี่โรคอันดับ 1 คือปวดเกร็งกล้ามเนื้อ และความเครียด ซึ่งการรักษาพยาบาลของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ 64 % หรือ 2.3 ล้านคน ได้รับบาดเจ็บหรืออุบััติเหตุเล็กน้อยและไม่ได้รับการรักษา และอีก 26% หรือ 9.6 แสนคน ซื้อยาจากร้านขายยาไปรักษาตัวเองที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายจากการศึกษากลุ่มแรงงานนอกระบบใน กทม.ประกอบด้วย ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่แรงงานงานในชุมชน เช่น ผลิตเสื้อผ้านักเรียน ชุดพนักงาน ซึ่งมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ผ่านศูนย์ฝึกอบรม และพัฒนาฝีมอแรงงาน สนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการในรูปแบบกองทุนอาชีพ จัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกและเชิงรับในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ 5 รวมถึงมีองค์กรรับผิดชอบที่ชัดเจน
กำลังโหลดความคิดเห็น