ไทย-พม่า ลงนามความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพื่อใช้เป็นกรอบป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ของ 2 ประเทศ ครอบคลุมปัญหาลักลอบเข้าประเทศของชาวโรฮิงญา
นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กกับ พลตรีหม่องอู (H.E.Major General Maung Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สหภาพพม่า โดยกรอบความร่วมมือ 2 ประเทศ เน้นแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ที่มุ่งค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็ก กักขังหน่วงเหนี่ยว เพื่อผลักดันให้กลุ่มคนดังกล่าว กับสู่ประเทศโดยเร็ว ปัจจุบันยังคงเหลือเด็กสตรีชาวพม่า ที่เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และรอกลับประเทศอีก 192 คน ซึ่งจะมีการตั้งด่านตรวจสอบ ปัญหาการลักลอบการเข้าเมืองเพิ่ม ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจะครอบคลุมไปถึงการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติด และการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงยา ซึ่งทางการพม่ายังขอร้องไทย ร่วมแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของโรฮิงยา ร่วมกัน 2 ประเทศ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม โดยเตรียมประสานกับรัฐบาลไทย เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่รัฐบาลไทย และรัฐบาลสหภาพพม่าจัดทำร่วมกันนี้ จะครอบคลุมถึงความร่วมมือในการป้องกัน การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การปราบปราม การส่งกลับและคืนสู่สังคม ตลอดจนกลไกประสานงาน การบริหารจัดการต่างๆ และยังเชื่อมโยงกับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดจ้างแรงงาน ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามร่วมกับรัฐบาลสหภาพพม่า เมื่อปี 2546 ด้วย เพราะเป็นการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบของแรงงาน คือ การส่งเสริมการย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงาน ซึ่งจะเป็นฐานการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ที่เข้มแข็งต่อไป
นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กกับ พลตรีหม่องอู (H.E.Major General Maung Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สหภาพพม่า โดยกรอบความร่วมมือ 2 ประเทศ เน้นแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ที่มุ่งค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็ก กักขังหน่วงเหนี่ยว เพื่อผลักดันให้กลุ่มคนดังกล่าว กับสู่ประเทศโดยเร็ว ปัจจุบันยังคงเหลือเด็กสตรีชาวพม่า ที่เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และรอกลับประเทศอีก 192 คน ซึ่งจะมีการตั้งด่านตรวจสอบ ปัญหาการลักลอบการเข้าเมืองเพิ่ม ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจะครอบคลุมไปถึงการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติด และการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงยา ซึ่งทางการพม่ายังขอร้องไทย ร่วมแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของโรฮิงยา ร่วมกัน 2 ประเทศ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม โดยเตรียมประสานกับรัฐบาลไทย เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่รัฐบาลไทย และรัฐบาลสหภาพพม่าจัดทำร่วมกันนี้ จะครอบคลุมถึงความร่วมมือในการป้องกัน การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การปราบปราม การส่งกลับและคืนสู่สังคม ตลอดจนกลไกประสานงาน การบริหารจัดการต่างๆ และยังเชื่อมโยงกับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดจ้างแรงงาน ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามร่วมกับรัฐบาลสหภาพพม่า เมื่อปี 2546 ด้วย เพราะเป็นการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบของแรงงาน คือ การส่งเสริมการย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงาน ซึ่งจะเป็นฐานการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ที่เข้มแข็งต่อไป