สาธารณสุข เผย สถานการณ์การป่วยมาลาเรียของไทยลดลง แต่เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เหตุเชื้อบริเวณนี้เป็นเชื้อพิเศษ แข็งแรง ทนต่อยาที่สุดในโลกมากว่า 40 ปี การแก้ไขปัญหาต้องกินยาให้ครบสูตรตามเวลาที่แพทย์สั่ง ล่าสุด ไทยมีผู้ป่วยมาลาเรีย ตั้งแต่ ต.ค.51-เม.ย.52 กว่า 10,000 ราย เสียชีวิต 4 ราย
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า วันที่ 25 เมษายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นวันมาลาเรียโลก (World Malaria Day) เพื่อเรียกร้องให้ทุกประเทศที่กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคนี้ ร่วมกันกำจัดโรคมาลาเรีย และให้ประเทศที่ไม่มีปัญหาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดในพื้นที่ ซึ่งโรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม (plasmodium) มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคติดต่อในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ทั่วโลกมีรายงานป่วยปีละกว่า 500 ล้านคน และเสียชีวิตปีละกว่า 1 ล้านคน การระบาดรุนแรงที่สุดในทวีปอาฟริกา และยังมีการระบาดในบริเวณลาตินอเมริกัน เอเชีย ตะวันออกกกลาง และบางส่วนของทวีปยุโรป คาดว่าจะมีประชากรโลกเสี่ยงต่อโรคนี้ประมาณ 3,300 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรโลก องค์การอนามัยโลกจึงได้ให้ทุกประเทศร่วมมือกันกำจัดโรคนี้โดยเร็ว
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า โรคมาลาเรียทั่วโลกจะระบาดสูงสุดประมาณช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ทั่วโลกจึงตกลงกันที่จะรณรงค์ในช่วงปลายเดือนเมษายน และกำหนดให้วันที่ 25 เมษายน เป็นวันมาลาเรียโลก ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้สั่งการให้ทุกจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมักจะเป็นบริเวณชายแดนไทย-พม่า และไทย-กัมพูชา รวม 43 จังหวัด ให้ความรู้กับประชาชน ให้นอนกางมุ้งในเวลากลางคืนและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง อยู่ในป่าเขา ให้ใช้มุ้งชุบสารเคมี ที่นิยมคือไพรีทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ยุงเป็นอัมพาตและตายภายใน 2 วินาที ไม่เป็นอันตรายต่อคน และที่สำคัญเมื่อป่วยแล้ว ขอให้กินยาให้ครบสูตรตามที่แพทย์สั่ง
ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์มาลาเรียของไทย ล่าสุดมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551-มีนาคม 2552 มีผู้ป่วย 10,684 ราย เป็นไทย 8,138 ราย ที่เหลืออีก 2,546 รายเป็นชาวต่างชาติ เสียชีวิต 4 ราย และพบว่าเชื้อมาลาเรียในไทยมีแนวโน้มดื้อยามากขึ้น อัตราการรักษาหายขาดประมาณร้อยละ 90-95 หมายความว่าในผู้ป่วยมาลาเรีย 100 คน จะรักษาหายขาดได้ 90-95 คน ส่วนที่เหลือยังคงมีเชื้ออยู่ในตัวและแพร่เชื้อสู่คนอื่น และเชื้อในคนกลุ่มนี้ อาจจะรักษาด้วยยาเดิมหรือขนาดเท่าเดิมไม่ได้ เป็นปัญหาทางการแพทย์
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อว่า ในไทยพบเชื้อดื้อยาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา แถบ จ.จันทบุรี ตราด และเมืองไพลิน ของกัมพูชา เนื่องจากเชื้อในบริเวณนี้ ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นเชื้อพันธุ์พิเศษ โดยเป็นเชื้อพลาสโมดียม (plasmodium) สายพันธุ์ฟาลซิปารัม (falciparum) ที่มีความแข็งแรงและทนทาน ปรับตัวต่อยาได้เร็ว จากการศึกษาพบว่าเชื้อบริเวณนี้มีแนวโน้มดื้อยามาโดยตลอด ประมาณ 40-50 ปีมาแล้ว เป็นที่จับตาของทั่วโลกที่ต้องช่วยกันกวาดล้างไม่ให้กระจายไปภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ซึ่งไทยกำลังร่วมมือกับกัมพูชาสกัดการแพร่เชื้อชนิดดื้อยา โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ส่วนบริเวณไทย-พม่า ซึ่งมีปัญหาเชื้อดื้อยาเหมือนกันนั้น ไทยและพม่ากำลังขอการสนับสนุนจากกองทุนโลก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า วันที่ 25 เมษายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นวันมาลาเรียโลก (World Malaria Day) เพื่อเรียกร้องให้ทุกประเทศที่กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคนี้ ร่วมกันกำจัดโรคมาลาเรีย และให้ประเทศที่ไม่มีปัญหาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดในพื้นที่ ซึ่งโรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม (plasmodium) มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคติดต่อในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ทั่วโลกมีรายงานป่วยปีละกว่า 500 ล้านคน และเสียชีวิตปีละกว่า 1 ล้านคน การระบาดรุนแรงที่สุดในทวีปอาฟริกา และยังมีการระบาดในบริเวณลาตินอเมริกัน เอเชีย ตะวันออกกกลาง และบางส่วนของทวีปยุโรป คาดว่าจะมีประชากรโลกเสี่ยงต่อโรคนี้ประมาณ 3,300 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรโลก องค์การอนามัยโลกจึงได้ให้ทุกประเทศร่วมมือกันกำจัดโรคนี้โดยเร็ว
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า โรคมาลาเรียทั่วโลกจะระบาดสูงสุดประมาณช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ทั่วโลกจึงตกลงกันที่จะรณรงค์ในช่วงปลายเดือนเมษายน และกำหนดให้วันที่ 25 เมษายน เป็นวันมาลาเรียโลก ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้สั่งการให้ทุกจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมักจะเป็นบริเวณชายแดนไทย-พม่า และไทย-กัมพูชา รวม 43 จังหวัด ให้ความรู้กับประชาชน ให้นอนกางมุ้งในเวลากลางคืนและป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง อยู่ในป่าเขา ให้ใช้มุ้งชุบสารเคมี ที่นิยมคือไพรีทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ยุงเป็นอัมพาตและตายภายใน 2 วินาที ไม่เป็นอันตรายต่อคน และที่สำคัญเมื่อป่วยแล้ว ขอให้กินยาให้ครบสูตรตามที่แพทย์สั่ง
ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์มาลาเรียของไทย ล่าสุดมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551-มีนาคม 2552 มีผู้ป่วย 10,684 ราย เป็นไทย 8,138 ราย ที่เหลืออีก 2,546 รายเป็นชาวต่างชาติ เสียชีวิต 4 ราย และพบว่าเชื้อมาลาเรียในไทยมีแนวโน้มดื้อยามากขึ้น อัตราการรักษาหายขาดประมาณร้อยละ 90-95 หมายความว่าในผู้ป่วยมาลาเรีย 100 คน จะรักษาหายขาดได้ 90-95 คน ส่วนที่เหลือยังคงมีเชื้ออยู่ในตัวและแพร่เชื้อสู่คนอื่น และเชื้อในคนกลุ่มนี้ อาจจะรักษาด้วยยาเดิมหรือขนาดเท่าเดิมไม่ได้ เป็นปัญหาทางการแพทย์
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อว่า ในไทยพบเชื้อดื้อยาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา แถบ จ.จันทบุรี ตราด และเมืองไพลิน ของกัมพูชา เนื่องจากเชื้อในบริเวณนี้ ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นเชื้อพันธุ์พิเศษ โดยเป็นเชื้อพลาสโมดียม (plasmodium) สายพันธุ์ฟาลซิปารัม (falciparum) ที่มีความแข็งแรงและทนทาน ปรับตัวต่อยาได้เร็ว จากการศึกษาพบว่าเชื้อบริเวณนี้มีแนวโน้มดื้อยามาโดยตลอด ประมาณ 40-50 ปีมาแล้ว เป็นที่จับตาของทั่วโลกที่ต้องช่วยกันกวาดล้างไม่ให้กระจายไปภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ซึ่งไทยกำลังร่วมมือกับกัมพูชาสกัดการแพร่เชื้อชนิดดื้อยา โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ส่วนบริเวณไทย-พม่า ซึ่งมีปัญหาเชื้อดื้อยาเหมือนกันนั้น ไทยและพม่ากำลังขอการสนับสนุนจากกองทุนโลก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน