สธ.มอบมุ้งชุบน้ำยาไพรีทรอยด์ป้องกัน ‘ยุงก้นปล่อง’ พาหะไข้มาลาเรียแก่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา 100 หลัง ยาทากันยุง 3,000 ขวด หลังได้รับรายงานมีทหารเป็นไข้มาลาเรียเข้ารับการรักษา รพ.กันทรลักษณ์กว่า 40 ราย
จากกรณีที่มีการรายงานว่าพบทหารที่ลาดตระเวนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่า ซึ่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกันทรลักษณ์ จำนวนกว่า 40 คนนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคตรวจสอบข้อมูล เพื่อทำการช่วยเหลือทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนบริเวณเขาระวิหารอย่างเต็มที่ และร่วมกันหามาตรการป้องกันไม่ให้ทหารป่วย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าทึบ เป็นแหล่งเพาพันธุ์ยุงก้นปล่อง ประชาชนรวมทั้งทหารที่เข้าไปในป่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคนี้
ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้มอบมุ้งชุบน้ำยาไพรีทรอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันยุง ทำยุงที่เกาะหรือสัมผัสน้ำยาทีมุ้งเป็นอัมพาตและตาย แต่ไม่เป็นพิษต่อคน ให้กับหน่วยทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่จำนวน 100 หลัง และมอบยาทากันยุง จำนวน 3,000 ขวด เพื่อป้องกันโรคไข้มาลาเรีย โดยได้ประสานส่งมอบให้แก่หน่วยทหารในพื้นที่โดยตรงในเร็วๆ นี้
ด้านนพ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่อ.กันทรลักษณ์ ในปีนี้พบผู้ป่วยมาลาเรียที่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลกันทรลักษณ์ 29 ราย รักษาหายทุกราย แต่ในภาพรวมทั้งประเทศในปี 2551 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-ตุลาคม 2551 พบผู้ป่วย 22,381 ราย สียชีวิต 40 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ จ.ตาก ยะลา นราธิวาส แม่อ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี ชุมพร สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ และจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่พบมาลาเรียเกือบทั้งหมด
อาการที่สำคัญของผู้ป่วยมาลาเรียหลังจากยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีไข้สูง หนาวสั่นจับไข้เป็นเวลา หรือเป็นไข้วันเว้นวัน ก็รีบพบแพทย์ทันที ซึ่งมียาที่รักษาได้หายขาด การป้องกันที่ดีที่สุดคือย่าให้ยุงกัด สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุง และนอนในมุ้ง และเนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นตามชนบท ตามป่าเขา กรมคบคุมโรคจึงได้จัดตั้งหน่วยมาลาเรียประมาณ 300 แห่ง และมาลาเรียคลินิกอีก 500 แห่ง ทั่วประเทศ ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้โดยตรง
จากกรณีที่มีการรายงานว่าพบทหารที่ลาดตระเวนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่า ซึ่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกันทรลักษณ์ จำนวนกว่า 40 คนนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคตรวจสอบข้อมูล เพื่อทำการช่วยเหลือทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนบริเวณเขาระวิหารอย่างเต็มที่ และร่วมกันหามาตรการป้องกันไม่ให้ทหารป่วย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าทึบ เป็นแหล่งเพาพันธุ์ยุงก้นปล่อง ประชาชนรวมทั้งทหารที่เข้าไปในป่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคนี้
ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้มอบมุ้งชุบน้ำยาไพรีทรอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันยุง ทำยุงที่เกาะหรือสัมผัสน้ำยาทีมุ้งเป็นอัมพาตและตาย แต่ไม่เป็นพิษต่อคน ให้กับหน่วยทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่จำนวน 100 หลัง และมอบยาทากันยุง จำนวน 3,000 ขวด เพื่อป้องกันโรคไข้มาลาเรีย โดยได้ประสานส่งมอบให้แก่หน่วยทหารในพื้นที่โดยตรงในเร็วๆ นี้
ด้านนพ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่อ.กันทรลักษณ์ ในปีนี้พบผู้ป่วยมาลาเรียที่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลกันทรลักษณ์ 29 ราย รักษาหายทุกราย แต่ในภาพรวมทั้งประเทศในปี 2551 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-ตุลาคม 2551 พบผู้ป่วย 22,381 ราย สียชีวิต 40 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ จ.ตาก ยะลา นราธิวาส แม่อ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี ชุมพร สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ และจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่พบมาลาเรียเกือบทั้งหมด
อาการที่สำคัญของผู้ป่วยมาลาเรียหลังจากยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีไข้สูง หนาวสั่นจับไข้เป็นเวลา หรือเป็นไข้วันเว้นวัน ก็รีบพบแพทย์ทันที ซึ่งมียาที่รักษาได้หายขาด การป้องกันที่ดีที่สุดคือย่าให้ยุงกัด สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุง และนอนในมุ้ง และเนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นตามชนบท ตามป่าเขา กรมคบคุมโรคจึงได้จัดตั้งหน่วยมาลาเรียประมาณ 300 แห่ง และมาลาเรียคลินิกอีก 500 แห่ง ทั่วประเทศ ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้โดยตรง