“จุรินทร์” วางกรอบมาตรฐาน กศน.เชื่อมั่นช่วยเพิ่มระดับคุณภาพการศึกษาได้เข้มข้นยิ่งขึ้น มอบหมายให้จัดสอนเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้จบการศึกษาภาคบังคับ หลังพบเด็กเกือบหมื่นคนยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ เพราะมุ่งเบนเข็มเรียนปอเนาะ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยว่าที่ประชุมได้พิจารณากำหนดมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานไว้ 2 ส่วน ได้แก่ 1.การจัดการศึกษาระดับอำเภอ และเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานครจะมี 6 ตัวชี้วัด คือ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ การจัดการศึกษาต่อเนื่องนอกระบบ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การบริหารจัดการ และการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
2.การกำหนดมาตรฐานสำหรับกลุ่มสถานศึกษาพิเศษ 9 กลุ่ม จำนวน 35 แห่งที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) นั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้กำหนดมาตรฐานออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.มาตรฐานร่วมกันของ 9 กลุ่มสถานศึกษาพิเศษจะมีเรื่องของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการทำงานร่วมภาคีเครือข่ายและมาตรฐานการบริหารจัดการ 2.มาตรฐานเฉพาะส่วนแต่ละกลุ่ม เช่น ในส่วนของห้องสมุดการเรียนรู้จะมีมาตรฐานเฉพาะของตนเองกำหนดไว้ว่าจะมีอะไรบ้าง เป็นต้น โดยมาตรฐานทั้งสองส่วนจะเป็นตัวชี้วัดในเรื่องคุณภาพอย่างเข้มข้นและจะทำให้การจัดการศึกษานอกระบบเป็นไปด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่าที่ประชุมยังได้หารือกรณีปัญหาเด็กในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งพบว่ามีเด็กที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอ จ.สงขลา จำนวน 9,805 คน แบ่งเป็น จ.ปัตตานี 2,261 คน จ.ยะลา 2,408 คน จ.นราธิวาส 1,848 คน จ.สตูล 456 คน และ 4 อำเภอ ใน จ.สงขลา 2,632 คน โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงาน กศน.ไปดำเนินการให้เด็กจำนวนนี้ได้มาเรียนกับ กศน. เพื่อให้จบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการทันทีในปีการศึกษา 2552 นี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดครูอาสาเข้าไปประจำในสถานศึกษาปอเนาะแห่งละ 1 คน ดังนั้น ครูอาสาเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานงานให้กับ กศน.ในการเข้าไปจัดการศึกษาภาคบังคับแก่เด็กเหล่านี้ได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยว่าที่ประชุมได้พิจารณากำหนดมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานไว้ 2 ส่วน ได้แก่ 1.การจัดการศึกษาระดับอำเภอ และเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานครจะมี 6 ตัวชี้วัด คือ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ การจัดการศึกษาต่อเนื่องนอกระบบ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การบริหารจัดการ และการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
2.การกำหนดมาตรฐานสำหรับกลุ่มสถานศึกษาพิเศษ 9 กลุ่ม จำนวน 35 แห่งที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) นั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้กำหนดมาตรฐานออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.มาตรฐานร่วมกันของ 9 กลุ่มสถานศึกษาพิเศษจะมีเรื่องของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการทำงานร่วมภาคีเครือข่ายและมาตรฐานการบริหารจัดการ 2.มาตรฐานเฉพาะส่วนแต่ละกลุ่ม เช่น ในส่วนของห้องสมุดการเรียนรู้จะมีมาตรฐานเฉพาะของตนเองกำหนดไว้ว่าจะมีอะไรบ้าง เป็นต้น โดยมาตรฐานทั้งสองส่วนจะเป็นตัวชี้วัดในเรื่องคุณภาพอย่างเข้มข้นและจะทำให้การจัดการศึกษานอกระบบเป็นไปด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่าที่ประชุมยังได้หารือกรณีปัญหาเด็กในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งพบว่ามีเด็กที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอ จ.สงขลา จำนวน 9,805 คน แบ่งเป็น จ.ปัตตานี 2,261 คน จ.ยะลา 2,408 คน จ.นราธิวาส 1,848 คน จ.สตูล 456 คน และ 4 อำเภอ ใน จ.สงขลา 2,632 คน โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงาน กศน.ไปดำเนินการให้เด็กจำนวนนี้ได้มาเรียนกับ กศน. เพื่อให้จบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการทันทีในปีการศึกษา 2552 นี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดครูอาสาเข้าไปประจำในสถานศึกษาปอเนาะแห่งละ 1 คน ดังนั้น ครูอาสาเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานงานให้กับ กศน.ในการเข้าไปจัดการศึกษาภาคบังคับแก่เด็กเหล่านี้ได้