ASTVผู้จัดการรายวัน - “จุรินทร์” เผยผลสอบโอเน็ตเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้รั้งท้าย รับข้อเสนอเวทีแสดงความคิดเห็นตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อดูแล ร.ร.เอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อย่างทั่วถึง พร้อมเร่งแก้ปัญหาครูขอย้ายออกนอกพื้นที่ และอัตราครูอยู่ในพื้นที่แต่ตัวไม่อยู่จริง เพื่อให้มีครูผู้สอนตามอัตราที่มีอยู่ แจงเตรียมนำอัตราครูเกษียณที่ขอคืนมาบรรจุครูอัตราจ้าง และพนักงานข้าราชการเป็นข้าราชการ โดยมีเงื่อนไขให้อยู่ปฏิบัติงานสอนในพื้นที่ เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาใต้ให้ดีขึ้น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง “นโยบายการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ” ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดทำร่างแผนพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงต้องการให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการวางแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัญหาสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และปัญหาด้านการบริหารจัดการในพื้นที่
“ปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ส่งผลต่อการศึกษาของเด็ก ทำให้เด็กในพื้นที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และต้องยอมรับความจริงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาหลัก ทั้งภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาต่ำกว่าจังหวัดในภาคใต้ทั้งหมด อีกทั้งผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต อยู่ในอันดับสุดท้ายของประเทศ คือ อยู่ในอันดับที่ 74, 75 และ 76 ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของผม และของทุกคนที่ต้องมาร่วมคิดแก้ปัญหาร่วมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องโอกาสทางการศึกษานั้นตนเห็นว่า ควรมีการจัดสรรโควตาให้กับเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดฯ ได้เข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นในทุกสาขา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับสูงมากขึ้น และให้ไปเรียนในพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงต้องเสริมอาชีพเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กสามารถประกอบเป็นอาชีพได้ในกรณีที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สามารถช่วยเติมเต็มเป็นหลักสูตรระยะสั้นส่วนนี้ได้ นอกเหนือจากวิชาศาสนาและวิชาสามัญที่เด็กในพื้นที่จะต้องได้เรียนอยู่แล้ว ขณะที่ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่สถานศึกษาในพื้นที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ประมาณ ร้อยละ 70 ส่วนอีก ร้อยละ 30 เป็นโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนกับเด็กนักเรียนทุกคน โดยปีนี้จัดสรรงบให้ จำนวน 1,400 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การบริหารจัดการเกิดความคล่องตัวขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดูแลครูนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญทั้งเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพที่ต้องดูแลทั้งประเทศ สำหรับปัญหาครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในพื้นที่มีทั้งครูอัตราจ้าง พนักงานข้าราชการ และข้าราชการ ซึ่งครูอัตราจ้างต้องการเป็นพนักงานข้าราชการ ส่วนพนักงานข้าราชการต้องการเป็นข้าราชการ ดังนั้น ศธ.ต้องขออัตราครูเกษียณคืน 100% เพื่อมารับบรรจุพนักงานข้าราชการและครูอัตราจ้างเป็นข้าราชการ อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถรับบรรจุครูทั้งสองกลุ่มนี้ได้ทั้งหมด เพราะมีผู้ที่สอบขึ้นทะเบียนไว้บางส่วนแล้วจึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม แต่ต้องมีเงื่อนไขสำคัญ ว่า หลังการบรรจุเป็นข้าราชการต้องอยู่ปฏิบัติงานสอนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ระยะหนึ่งก่อนจะขอย้ายออกนอกพื้นที่ได้
ภายหลังการแสดงความคิดเห็น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจน 2 เรื่อง ได้แก่ การเสนอให้จัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอยู่จำนวนมาก การตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดขึ้นมาดูแลจะทำให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวมากขึ้น และเป็นไปอย่างทั่วถึง รวมถึงให้จัดศึกษานิเทศก์ไปให้การนิเทศก์ครูกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนโดยตรง อีกประเด็นคือ ปัญหาเรื่องครูขอย้ายออกนอกพื้นที่จำนวนมาก และมีครูจำนวนหนึ่งที่มีอัตราอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่ตัวบุคคลไปช่วยราชการที่อื่น ซึ่งจะต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ได้ครูกลับมาสอนตามอัตราที่มีอยู่ โดยข้อเสนอทั้ง 2 ข้อนั้นเป็นไปได้สูงที่จะดำเนินการได้ โดยหลังจากนี้ จะต้องนำผลที่ได้จากการประชาพิจารณ์ไปจัดสรุปทำแผนได้ภายใน 1 เดือน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งหากต้องนำแผนดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนก็ต้องดำเนินการต่อไป
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง “นโยบายการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ” ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดทำร่างแผนพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงต้องการให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการวางแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัญหาสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และปัญหาด้านการบริหารจัดการในพื้นที่
“ปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ส่งผลต่อการศึกษาของเด็ก ทำให้เด็กในพื้นที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และต้องยอมรับความจริงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาหลัก ทั้งภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาต่ำกว่าจังหวัดในภาคใต้ทั้งหมด อีกทั้งผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต อยู่ในอันดับสุดท้ายของประเทศ คือ อยู่ในอันดับที่ 74, 75 และ 76 ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของผม และของทุกคนที่ต้องมาร่วมคิดแก้ปัญหาร่วมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องโอกาสทางการศึกษานั้นตนเห็นว่า ควรมีการจัดสรรโควตาให้กับเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดฯ ได้เข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นในทุกสาขา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับสูงมากขึ้น และให้ไปเรียนในพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงต้องเสริมอาชีพเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กสามารถประกอบเป็นอาชีพได้ในกรณีที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สามารถช่วยเติมเต็มเป็นหลักสูตรระยะสั้นส่วนนี้ได้ นอกเหนือจากวิชาศาสนาและวิชาสามัญที่เด็กในพื้นที่จะต้องได้เรียนอยู่แล้ว ขณะที่ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่สถานศึกษาในพื้นที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ประมาณ ร้อยละ 70 ส่วนอีก ร้อยละ 30 เป็นโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนกับเด็กนักเรียนทุกคน โดยปีนี้จัดสรรงบให้ จำนวน 1,400 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การบริหารจัดการเกิดความคล่องตัวขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดูแลครูนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญทั้งเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพที่ต้องดูแลทั้งประเทศ สำหรับปัญหาครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในพื้นที่มีทั้งครูอัตราจ้าง พนักงานข้าราชการ และข้าราชการ ซึ่งครูอัตราจ้างต้องการเป็นพนักงานข้าราชการ ส่วนพนักงานข้าราชการต้องการเป็นข้าราชการ ดังนั้น ศธ.ต้องขออัตราครูเกษียณคืน 100% เพื่อมารับบรรจุพนักงานข้าราชการและครูอัตราจ้างเป็นข้าราชการ อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถรับบรรจุครูทั้งสองกลุ่มนี้ได้ทั้งหมด เพราะมีผู้ที่สอบขึ้นทะเบียนไว้บางส่วนแล้วจึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม แต่ต้องมีเงื่อนไขสำคัญ ว่า หลังการบรรจุเป็นข้าราชการต้องอยู่ปฏิบัติงานสอนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ระยะหนึ่งก่อนจะขอย้ายออกนอกพื้นที่ได้
ภายหลังการแสดงความคิดเห็น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจน 2 เรื่อง ได้แก่ การเสนอให้จัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอยู่จำนวนมาก การตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดขึ้นมาดูแลจะทำให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวมากขึ้น และเป็นไปอย่างทั่วถึง รวมถึงให้จัดศึกษานิเทศก์ไปให้การนิเทศก์ครูกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนโดยตรง อีกประเด็นคือ ปัญหาเรื่องครูขอย้ายออกนอกพื้นที่จำนวนมาก และมีครูจำนวนหนึ่งที่มีอัตราอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่ตัวบุคคลไปช่วยราชการที่อื่น ซึ่งจะต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ได้ครูกลับมาสอนตามอัตราที่มีอยู่ โดยข้อเสนอทั้ง 2 ข้อนั้นเป็นไปได้สูงที่จะดำเนินการได้ โดยหลังจากนี้ จะต้องนำผลที่ได้จากการประชาพิจารณ์ไปจัดสรุปทำแผนได้ภายใน 1 เดือน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งหากต้องนำแผนดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนก็ต้องดำเนินการต่อไป