“รักษาการ ผอ.พอช.” ยันประธานบอร์ด พอช.ชุดใหม่ยังไม่นำเรื่องการเสนอชื่อ ผอ.พอช.คนใหม่เข้าที่ประชุม ภาคประชาชนยื่นหนังสือถึง “นายกฯ” ทบทวนการแต่งตั้ง เหตุการสรรหา ผอ.พอช.ไม่โปร่งใส่ เอื้อพวกพ้อง ด้านเครือข่ายสลัม 4 ภาค เสนอเปิดเวทีให้ว่าที่ ผอ.พอช.คนใหม่ โชว์วิสัยทัศน์ต่อภาคประชาชน
จากกรณีที่เครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปการสังคมและการเมือง (คปสม.) ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาล ภายหลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (บอร์ด พอช.) ไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา โดยที่ก่อนหน้านี้องค์กรเครือข่ายฯ ต่างท้วงติงไปยัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อขอให้ทบทวน เนื่องจากการสรรหาบอร์ดครั้งที่ผ่านมาขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง
วานนี้ (26 มี.ค.) นายสิน สื่อสวน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ พอช. เปิดเผยถึงกรณีที่เครือข่ายภาคประชาชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตั้ง บอร์ด พอช.และเสนอให้มีการทบทวนกระบวนการแต่งตั้ง ผอ.พอช. คนใหม่ว่า วันที่ 27 มี.ค.นี้จะมีการประชุมบอร์ด พอช.ครั้งแรก แต่ตนในฐานะเลขานุการที่ประชุมบอร์ด พอช.เห็นว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับมอบหมายจากประธานคือ พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ให้นำเรื่องการเสนอชื่อผู้อำนวยการพอช.คนใหม่สู่ที่ประชุม
นายสิน กล่าวอีกว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือร่วมกับองค์กรภาคประชาชนและนักวิชาการ เช่น มูลนิธิชุมชนไท นายสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างใน พอช. ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าควรมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมารับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งผู้อาวุโสด้านงานพัฒนา แต่การรับฟังควรยกระดับในนามของบอร์ด ดังนั้นในการประชุมวันที่ 27 มี.ค.นี้นั้น จึงจะนำเรื่องนี้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่ดีและเปิดกว้างให้บุคคลภายนอก พอช.ได้สะท้อนความคิดเห็น
นอกจากนี้ เครือข่ายองค์กรชุมชนจากภาคต่างๆ เช่น เครือข่ายสิ่งแวดล้อมแม่ฮ่องสอน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ ประธานบอร์ดพอช. เพื่อขอให้มีการทบทวนกระบวนการแต่งตั้งผู้อำนวยการ พอช. โดยเนื้อหาะระบุถึง กระบวนการสรรหาบอร์ดและผู้อำนวยการ พอช.ไม่โปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการวางตัวบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนวจให้ได้รับตำแหน่ง ขณะเดียวกันได้ปฎิเสธอกระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ ในหนังสือดังกล่าวได้ระบุอีกว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการ พอช.ต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนอีก 4 ปี ดังนั้น บุคคลที่ได้รับการสรรหา ประชาชนควรมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ แต่การคัดเลือกที่กำลังดำเนินการอยู่นี้กลับขาดความโปร่งใสและขาดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ขณะเดียวกันการดำเนินงานของพอช.ที่ผ่านมาประสบปัญหาในหลายประเด็น ทั้งกรณีบ้านมั่นคงที่ พอช.มีนโยบายโอนเรื่องการกู้ยืมไปให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน หรือการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการผูกขาดทรัพยากรของผู้นำชุมชนที่ พอช.สนับสนุนในบางกลุ่ม ที่สำคัญคือเรื่องการระดมความาร่วมมือจากภาคประชาสังคมต่างๆ มีปัญหามาก ซึ่งประเด็นเหล่านี้จำเป็นต้องระดมความร่วมมือในการคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของกระบวนการพัฒนา ดังนั้น ผู้อำนวยการคนใหม่จึงจำเป็นต้องได้รับการยอมรับและความศรัทธาจากทุกฝ่าย หากปราศจากการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อภารกิจในอนาคตได้
นางประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า แม้ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค จะไม่สามารถคัดค้านมติของ ครม.ที่แต่งตั้งบอร์ด พอช.ได้ แต่ทางเครือข่ายฯ จะขอเรียกร้องให้บอร์ด พอช.ชุดใหม่ ชะลอการแต่งตั้ง ผอ.พอช.คนใหม่ออกไปก่อน ถ้าบอร์ด พอช.มีความจริงใจและคิดจะปฏิรูป พอช. ควรเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการคัดเลือก ผอ.พอช.คนใหม่ด้วย ทางเครือข่ายฯ ขอเสนอให้บอร์ด พอช.เปิดเวทีให้ว่าที่ ผอ.พอช.คนใหม่ได้แสดงวิสัยทัศน์การทำงานต่อภาคประชาชนทุกเครือข่ายอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ ภาคประชาชนจะหารือกันอีกครั้งในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคัดเลือก ผอ.พอช.คนใหม่
“ผอ.พอช.ถือเป็นคนสำคัญในการทำงานร่วมกับภาคประชาชน หากได้ ผอ.พอช.ที่มีความเข้าใจในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนจะทำให้การทำงานของ พอช.เดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น เพราะที่ผ่านมา พอช.ทำงานแบ่งเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีผลประโยชน์และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องต่างๆ กับ พอช. มักไม่ได้รับความเป็นธรรมและข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ พอช.” ปธ.เครือข่ายสลัม 4 ภาคกล่าว
จากกรณีที่เครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปการสังคมและการเมือง (คปสม.) ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาล ภายหลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (บอร์ด พอช.) ไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา โดยที่ก่อนหน้านี้องค์กรเครือข่ายฯ ต่างท้วงติงไปยัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อขอให้ทบทวน เนื่องจากการสรรหาบอร์ดครั้งที่ผ่านมาขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง
วานนี้ (26 มี.ค.) นายสิน สื่อสวน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ พอช. เปิดเผยถึงกรณีที่เครือข่ายภาคประชาชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตั้ง บอร์ด พอช.และเสนอให้มีการทบทวนกระบวนการแต่งตั้ง ผอ.พอช. คนใหม่ว่า วันที่ 27 มี.ค.นี้จะมีการประชุมบอร์ด พอช.ครั้งแรก แต่ตนในฐานะเลขานุการที่ประชุมบอร์ด พอช.เห็นว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับมอบหมายจากประธานคือ พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ให้นำเรื่องการเสนอชื่อผู้อำนวยการพอช.คนใหม่สู่ที่ประชุม
นายสิน กล่าวอีกว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือร่วมกับองค์กรภาคประชาชนและนักวิชาการ เช่น มูลนิธิชุมชนไท นายสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างใน พอช. ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าควรมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมารับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งผู้อาวุโสด้านงานพัฒนา แต่การรับฟังควรยกระดับในนามของบอร์ด ดังนั้นในการประชุมวันที่ 27 มี.ค.นี้นั้น จึงจะนำเรื่องนี้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่ดีและเปิดกว้างให้บุคคลภายนอก พอช.ได้สะท้อนความคิดเห็น
นอกจากนี้ เครือข่ายองค์กรชุมชนจากภาคต่างๆ เช่น เครือข่ายสิ่งแวดล้อมแม่ฮ่องสอน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ ประธานบอร์ดพอช. เพื่อขอให้มีการทบทวนกระบวนการแต่งตั้งผู้อำนวยการ พอช. โดยเนื้อหาะระบุถึง กระบวนการสรรหาบอร์ดและผู้อำนวยการ พอช.ไม่โปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการวางตัวบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนวจให้ได้รับตำแหน่ง ขณะเดียวกันได้ปฎิเสธอกระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ ในหนังสือดังกล่าวได้ระบุอีกว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการ พอช.ต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนอีก 4 ปี ดังนั้น บุคคลที่ได้รับการสรรหา ประชาชนควรมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ แต่การคัดเลือกที่กำลังดำเนินการอยู่นี้กลับขาดความโปร่งใสและขาดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ขณะเดียวกันการดำเนินงานของพอช.ที่ผ่านมาประสบปัญหาในหลายประเด็น ทั้งกรณีบ้านมั่นคงที่ พอช.มีนโยบายโอนเรื่องการกู้ยืมไปให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน หรือการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการผูกขาดทรัพยากรของผู้นำชุมชนที่ พอช.สนับสนุนในบางกลุ่ม ที่สำคัญคือเรื่องการระดมความาร่วมมือจากภาคประชาสังคมต่างๆ มีปัญหามาก ซึ่งประเด็นเหล่านี้จำเป็นต้องระดมความร่วมมือในการคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของกระบวนการพัฒนา ดังนั้น ผู้อำนวยการคนใหม่จึงจำเป็นต้องได้รับการยอมรับและความศรัทธาจากทุกฝ่าย หากปราศจากการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อภารกิจในอนาคตได้
นางประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า แม้ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค จะไม่สามารถคัดค้านมติของ ครม.ที่แต่งตั้งบอร์ด พอช.ได้ แต่ทางเครือข่ายฯ จะขอเรียกร้องให้บอร์ด พอช.ชุดใหม่ ชะลอการแต่งตั้ง ผอ.พอช.คนใหม่ออกไปก่อน ถ้าบอร์ด พอช.มีความจริงใจและคิดจะปฏิรูป พอช. ควรเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการคัดเลือก ผอ.พอช.คนใหม่ด้วย ทางเครือข่ายฯ ขอเสนอให้บอร์ด พอช.เปิดเวทีให้ว่าที่ ผอ.พอช.คนใหม่ได้แสดงวิสัยทัศน์การทำงานต่อภาคประชาชนทุกเครือข่ายอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ ภาคประชาชนจะหารือกันอีกครั้งในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคัดเลือก ผอ.พอช.คนใหม่
“ผอ.พอช.ถือเป็นคนสำคัญในการทำงานร่วมกับภาคประชาชน หากได้ ผอ.พอช.ที่มีความเข้าใจในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนจะทำให้การทำงานของ พอช.เดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น เพราะที่ผ่านมา พอช.ทำงานแบ่งเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีผลประโยชน์และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องต่างๆ กับ พอช. มักไม่ได้รับความเป็นธรรมและข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ พอช.” ปธ.เครือข่ายสลัม 4 ภาคกล่าว