เครือข่ายองค์กรเหล้าฯ ออกแถลงการณ์ไม่ไว้ใจ “เสธ.หนั่น” ร้อง “อภิสิทธิ์” นั่ง ปธ.กก.นโยบายเหล้าแทน พร้อมจับตาประชุมครั้งต่อไปใกล้ชิด ด้าน นักวิชาการ ชี้ เสธ.หนั่น น่าสงสัยหลายประเด็น ทั้งล็อบบี้ฝ่าย สธ.ก่อนเข้าประชุม แถมโยนกฤษฎีกาถ่วงเวลา ระบุ ห้ามคุมวันเดียวแค่ขอไปที แต่ลดอุบัติเหตุไม่ได้
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) ได้ออกแถลงการณ์ในนามเครือข่ายฯ ต่อมาตรการในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีในฐานประธานคณะกรรมการนโยบายฯมาร่วมในการประชุมแทน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่กระทบต่อสาธารณชนในวงกว้าง และมีกลุ่มที่มีผลประโยชน์เบื้องหลังมากมาย จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศมารับผิดชอบในเรื่องสำคัญระดับนี้
“นอกจากนี้ ท่าทีของ พล.ต.สนั่น ในการทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ทำให้เครือข่ายเกิดความไม่มั่นใจและวางใจ เนื่องจากมีประเด็นเรื่องความทับซ้อน เพราะตามกฎสากลขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ระบุว่า ไม่ควรให้ผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องดังกล่าวมาเป็นผู้ออกนโยบายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ”แถลงการณ์ ระบุ
นายคำรณ กล่าวต่อว่า ทราบมาว่า คณะกรรมการนโยบายฯจะมีการประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทางเครือข่ายพร้อมด้วยภาคประชาชนอีกหลายองค์กรจะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล หรือสถานที่ในการประชุมอื่นๆ หากมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะไปให้กำลังใจและรอผลการประชุมอย่างใกล้ชิด
“หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสำคัญ ก็ควรที่จะให้เวลามาเป็นประธานในการประชุมแทน ซึ่งอย่างน้อยก็ควรมีมาตรการใดๆ สักอย่างออกมา เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีทางเลือก แต่กลับเลือกมาตรการที่มีประสิทธิภาพน้อยสุด คือ การห้ามเพียงวันที่ 13 เมษายนเพียงวันเดียวและเว้นให้จำหน่ายได้ในช่วงเวลา 18.00-24.00 น.แม้ว่าหากคณะกรรมการนโยบายฯ เลือกทางนี้ อาจดูว่าดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แต่ก็เป็นทางเลือกที่อ่อนที่สุด ซึ่งต้องตอบคำถามที่สังคมถามด้วยว่า ในเมื่อมีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ เพราะเหตุใดรัฐบาลถึงไม่เลือกทำ ผลประโยชน์ของประชาชนกับของธุรกิจน้ำเมาจะเลือกใคร”นายคำรณ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาพบความไม่ชอบมาพากลหลายประเด็น ได้แก่ 1 พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เรียก นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข เข้าพบก่อนการประชุมนั้น ถือว่าเป็นการล็อบบี้หรือไม่ เพราะผลคือ สธ.เสนอแนวทางเดียว คือ การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงวันเดียว คือ 13 เมษายน ยกเว้นให้ร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรมให้จำหน่ายได้ตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น.
“การที่ พล.ต.สนั่น กระทำเช่นนี้ เท่ากับว่า การเปลี่ยนแปลงข้อเสนอของ สธ.ในชั่วพริบตา โดยที่ พล.ต.สนั่น เป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สธ.เสนอ 2 แนวทาง คือ ห้ามขายตลอดทั้งวัน วันที่ 12-14 เมษายน และ ห้ามขายในช่วง 12-14 เมษายน เว้นให้กับสถานประกอบการที่มีใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 ประกาศของคณะปฏิวัติที่ ป.ว.253/2515 ที่กำหนดให้จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.นั้น มีศักดิ์ศรีเท่ากับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อยู่แล้ว ดังนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ภายหลังและเข้มข้นกว่าให้ถือบังคับใช้ตามกฎหมายใหม่ จึงเป็นการใช้เทคติกที่เรียกว่า Delay tactic (กลเม็ดการถ่วงเวลา) เพื่อไม่ให้สามารถออกทันสงกรานต์ปีนี้
“การกำหนดให้ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์เพียงวันเดียวในวันที่ 13 เมษายน จะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้กักตุนและไม่สามารถลดอุบัติเหตุได้ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ อย่างน้อยต้องห้าม 3 วันถึงเป็นผล ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายฯก็ไม่ควรออกนโยบายอย่างขอไปที” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) ได้ออกแถลงการณ์ในนามเครือข่ายฯ ต่อมาตรการในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีในฐานประธานคณะกรรมการนโยบายฯมาร่วมในการประชุมแทน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่กระทบต่อสาธารณชนในวงกว้าง และมีกลุ่มที่มีผลประโยชน์เบื้องหลังมากมาย จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศมารับผิดชอบในเรื่องสำคัญระดับนี้
“นอกจากนี้ ท่าทีของ พล.ต.สนั่น ในการทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ทำให้เครือข่ายเกิดความไม่มั่นใจและวางใจ เนื่องจากมีประเด็นเรื่องความทับซ้อน เพราะตามกฎสากลขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ระบุว่า ไม่ควรให้ผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องดังกล่าวมาเป็นผู้ออกนโยบายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ”แถลงการณ์ ระบุ
นายคำรณ กล่าวต่อว่า ทราบมาว่า คณะกรรมการนโยบายฯจะมีการประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทางเครือข่ายพร้อมด้วยภาคประชาชนอีกหลายองค์กรจะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล หรือสถานที่ในการประชุมอื่นๆ หากมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะไปให้กำลังใจและรอผลการประชุมอย่างใกล้ชิด
“หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสำคัญ ก็ควรที่จะให้เวลามาเป็นประธานในการประชุมแทน ซึ่งอย่างน้อยก็ควรมีมาตรการใดๆ สักอย่างออกมา เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีทางเลือก แต่กลับเลือกมาตรการที่มีประสิทธิภาพน้อยสุด คือ การห้ามเพียงวันที่ 13 เมษายนเพียงวันเดียวและเว้นให้จำหน่ายได้ในช่วงเวลา 18.00-24.00 น.แม้ว่าหากคณะกรรมการนโยบายฯ เลือกทางนี้ อาจดูว่าดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แต่ก็เป็นทางเลือกที่อ่อนที่สุด ซึ่งต้องตอบคำถามที่สังคมถามด้วยว่า ในเมื่อมีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ เพราะเหตุใดรัฐบาลถึงไม่เลือกทำ ผลประโยชน์ของประชาชนกับของธุรกิจน้ำเมาจะเลือกใคร”นายคำรณ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาพบความไม่ชอบมาพากลหลายประเด็น ได้แก่ 1 พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เรียก นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข เข้าพบก่อนการประชุมนั้น ถือว่าเป็นการล็อบบี้หรือไม่ เพราะผลคือ สธ.เสนอแนวทางเดียว คือ การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงวันเดียว คือ 13 เมษายน ยกเว้นให้ร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรมให้จำหน่ายได้ตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น.
“การที่ พล.ต.สนั่น กระทำเช่นนี้ เท่ากับว่า การเปลี่ยนแปลงข้อเสนอของ สธ.ในชั่วพริบตา โดยที่ พล.ต.สนั่น เป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สธ.เสนอ 2 แนวทาง คือ ห้ามขายตลอดทั้งวัน วันที่ 12-14 เมษายน และ ห้ามขายในช่วง 12-14 เมษายน เว้นให้กับสถานประกอบการที่มีใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 ประกาศของคณะปฏิวัติที่ ป.ว.253/2515 ที่กำหนดให้จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.นั้น มีศักดิ์ศรีเท่ากับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อยู่แล้ว ดังนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ภายหลังและเข้มข้นกว่าให้ถือบังคับใช้ตามกฎหมายใหม่ จึงเป็นการใช้เทคติกที่เรียกว่า Delay tactic (กลเม็ดการถ่วงเวลา) เพื่อไม่ให้สามารถออกทันสงกรานต์ปีนี้
“การกำหนดให้ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์เพียงวันเดียวในวันที่ 13 เมษายน จะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้กักตุนและไม่สามารถลดอุบัติเหตุได้ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ อย่างน้อยต้องห้าม 3 วันถึงเป็นผล ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายฯก็ไม่ควรออกนโยบายอย่างขอไปที” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว