ท่าทีของ “เสธ.หนั่น” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ และ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการท่องเที่ยวและกีฬา เป็น 2 เสียงประสานของรัฐมนตรีจากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการห้ามขายเหล้า-เบียร์ ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ของกระทรวงสาธารณสุข
โดยให้เหตุผลว่า การห้ามขายสุราถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งต้นเหตุ คือ การเมาแล้วขับ ดังนั้น จึงควรที่จะกวดขันการขับขี่โดยเฉพาะในถนนสายรอง รวมถึงควรมีจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ อาจกระทบต่อการท่องเที่ยวในภาวะที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ
ว่ากันตามจริงแล้ว เมื่อย้อนกลับไปดูมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ถือว่า กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายรณรงค์ได้พยายามใช้หลายมาตรการร่วมกันในการแก้ปัญหา ทั้งรณรงค์โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานกว่า 1 ปี แล้ว แต่ในทางปฏิบัติบริษัทเหล้า-เบียร์ หาได้สนใจไม่ มิหนำซ้ำยังมีการกระทำที่ผิดและหลีกเลี่ยง กฎหมายมาโดยตลอด ดังนั้น แค่บอกเตือนอาจยังไม่มากพอ
ขณะที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลับมีท่าทีที่น่าผิดหวังยิ่ง เพราะมุ่งเน้นไปการรณรงค์มากกว่าการห้ามขายอย่างจริงๆจังๆ แถมยังเปิดช่องยกเว้นร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรม ให้ขายได้อีกด้วย ซึ่งในที่สุดนายวิทยาก็โยนภาระการตัดสินใจอันหนักยิ่งนี้ให้กับ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบแทน
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้ทิศทางการทำงานของ สธ.ไม่มีเอกภาพ และเป็นอย่างที่เครือข่ายภาคประชาชนชี้ให้เห็นว่า ท่าทีของ รมว.สธ.เป็นไปในลักษณะของการยึกๆ ยักๆ อย่างไรชอบกล กระทั่งมีการนินทาเกิดขึ้นว่า สมัย “เป็ดเหลิม” ยังดีกว่าที่กล้าฟันธงห้ามขาย แม้ว่าจะเป็นแค่การ “เคาะกะลา” ก็ตาม
ขณะที่ นายมานิต ที่แม้จะประกาศว่าจะลุยเต็มที่ เพราะเป็นคนไม่ดื่มเหล้าอยู่แล้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะสุดท้ายผู้ที่ชี้ขาดคือ คณะกรรมการนโยบายฯไม่ใช่ สธ.ที่เป็นเพียงผู้ชงเรื่องขึ้นไปเท่านั้น
งานนี้ นายมานิต ถึงกับบ่นว่า “รู้สึกหนักใจ” แต่ก็ยืนยันว่าจะสู้ และเดินหน้าต่อไป ทั้งยังยืนยันว่า หากอำนาจการตัดสินใจเป็นของ สธ.ก็คงสั่งห้ามขายไปแล้วและเรื่องไม่ยืดเยื้ออย่างนี้แน่นอน
นอกจากนี้ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดของ พล.ต.สนั่น ที่ว่าเป็นการแก้ปลายเหตุว่า พูดยาก เพราะ สธ.ใช้มาตรการแก้ปัญหาทุกด้านเต็มที่แล้ว แต่หาก พล.ต.สนั่น ไม่เลือกตามแนวทางที่ สธ.เสนอ แล้วเลือกแนวทางอื่น ก็ควรตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าเป็นเหตุใด
แต่สิ่งที่สังคมสับสนและงุนงงไปกว่านั้น ก็คือ การที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยตำแหน่ง มอบหมายงานนี้ให้กับ พล.ต.สนั่น ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า มีรสนิยมชมชอบไวน์มากขนาดไหน และจะมีจุดยืนเดียวกับ ชาโต เดอ ชาละวัน ธุรกิจไวน์ที่เคยทำมาหรือไม่
นั่นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ว่า รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ที่มีคนพิการเจ็บตายเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีใครกล้ารับประกันว่า งานนี้จะไม่มีเบื้องลึกเบื้องหลัง เกรงอกเกรงใจพี่บิ๊กอย่างบริษัทเหล้าเหมือนอย่างที่แล้วๆ มาหรือไม่ เพราะแม้แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดแรก เพื่อพิจารณามาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็กลายเป็นการประชุมลับไป เพราะมีใบสั่งไม่ให้การประชุมแพร่งพรายถึงสื่อมวลชน
ดังนั้น การประชุมวันที่ 23 มีนาคมนี้ จะเป็นการชี้ขาดว่า รัฐบาลจะเอาอย่างไรกันแน่ ซึ่งหากครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปอีก ก็ไม่น่าแปลกใจที่สังคมตั้งคำถามว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรหรือไม่ถึงได้พยายามเตะถ่วงไปเรื่อยๆ อย่างนี้
โดยให้เหตุผลว่า การห้ามขายสุราถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งต้นเหตุ คือ การเมาแล้วขับ ดังนั้น จึงควรที่จะกวดขันการขับขี่โดยเฉพาะในถนนสายรอง รวมถึงควรมีจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ อาจกระทบต่อการท่องเที่ยวในภาวะที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ
ว่ากันตามจริงแล้ว เมื่อย้อนกลับไปดูมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ถือว่า กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายรณรงค์ได้พยายามใช้หลายมาตรการร่วมกันในการแก้ปัญหา ทั้งรณรงค์โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานกว่า 1 ปี แล้ว แต่ในทางปฏิบัติบริษัทเหล้า-เบียร์ หาได้สนใจไม่ มิหนำซ้ำยังมีการกระทำที่ผิดและหลีกเลี่ยง กฎหมายมาโดยตลอด ดังนั้น แค่บอกเตือนอาจยังไม่มากพอ
ขณะที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลับมีท่าทีที่น่าผิดหวังยิ่ง เพราะมุ่งเน้นไปการรณรงค์มากกว่าการห้ามขายอย่างจริงๆจังๆ แถมยังเปิดช่องยกเว้นร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรม ให้ขายได้อีกด้วย ซึ่งในที่สุดนายวิทยาก็โยนภาระการตัดสินใจอันหนักยิ่งนี้ให้กับ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบแทน
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้ทิศทางการทำงานของ สธ.ไม่มีเอกภาพ และเป็นอย่างที่เครือข่ายภาคประชาชนชี้ให้เห็นว่า ท่าทีของ รมว.สธ.เป็นไปในลักษณะของการยึกๆ ยักๆ อย่างไรชอบกล กระทั่งมีการนินทาเกิดขึ้นว่า สมัย “เป็ดเหลิม” ยังดีกว่าที่กล้าฟันธงห้ามขาย แม้ว่าจะเป็นแค่การ “เคาะกะลา” ก็ตาม
ขณะที่ นายมานิต ที่แม้จะประกาศว่าจะลุยเต็มที่ เพราะเป็นคนไม่ดื่มเหล้าอยู่แล้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะสุดท้ายผู้ที่ชี้ขาดคือ คณะกรรมการนโยบายฯไม่ใช่ สธ.ที่เป็นเพียงผู้ชงเรื่องขึ้นไปเท่านั้น
งานนี้ นายมานิต ถึงกับบ่นว่า “รู้สึกหนักใจ” แต่ก็ยืนยันว่าจะสู้ และเดินหน้าต่อไป ทั้งยังยืนยันว่า หากอำนาจการตัดสินใจเป็นของ สธ.ก็คงสั่งห้ามขายไปแล้วและเรื่องไม่ยืดเยื้ออย่างนี้แน่นอน
นอกจากนี้ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดของ พล.ต.สนั่น ที่ว่าเป็นการแก้ปลายเหตุว่า พูดยาก เพราะ สธ.ใช้มาตรการแก้ปัญหาทุกด้านเต็มที่แล้ว แต่หาก พล.ต.สนั่น ไม่เลือกตามแนวทางที่ สธ.เสนอ แล้วเลือกแนวทางอื่น ก็ควรตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าเป็นเหตุใด
แต่สิ่งที่สังคมสับสนและงุนงงไปกว่านั้น ก็คือ การที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยตำแหน่ง มอบหมายงานนี้ให้กับ พล.ต.สนั่น ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า มีรสนิยมชมชอบไวน์มากขนาดไหน และจะมีจุดยืนเดียวกับ ชาโต เดอ ชาละวัน ธุรกิจไวน์ที่เคยทำมาหรือไม่
นั่นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ว่า รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ที่มีคนพิการเจ็บตายเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีใครกล้ารับประกันว่า งานนี้จะไม่มีเบื้องลึกเบื้องหลัง เกรงอกเกรงใจพี่บิ๊กอย่างบริษัทเหล้าเหมือนอย่างที่แล้วๆ มาหรือไม่ เพราะแม้แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดแรก เพื่อพิจารณามาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็กลายเป็นการประชุมลับไป เพราะมีใบสั่งไม่ให้การประชุมแพร่งพรายถึงสื่อมวลชน
ดังนั้น การประชุมวันที่ 23 มีนาคมนี้ จะเป็นการชี้ขาดว่า รัฐบาลจะเอาอย่างไรกันแน่ ซึ่งหากครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปอีก ก็ไม่น่าแปลกใจที่สังคมตั้งคำถามว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรหรือไม่ถึงได้พยายามเตะถ่วงไปเรื่อยๆ อย่างนี้