สธ.รับฟังความเห็น คุมเหล้าช่วงสงกรานต์ 4 มี.ค.นี้ ด้านกรมสุขภาพจิต เผย หลังเทศกาลหยุดยาว พบผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังเข้ารับบำบัดอาการทางจิตเพิ่ม 2 เท่า เหตุจากดื่มหนัก ผลาญเงินรักษาพยาบาลปีละหลายแสนล้านบาท
วันที่ 2 มีนาคม ที่กรมสุขภาพจิต นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการตรวจเยี่ยมการทำงานกรมสุขภาพจิต ว่า สธ.จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมรับฟังความเห็นเรื่อง มาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในวันที่ 4 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุม 1 สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยได้เชิญภาคธุรกิจ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงภาคนักวิชาการ เครือข่ายรณรงค์ และหน่อวยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
นายมานิต กล่าวว่า จะมีการหารือแนวทางการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น 2 แนวทางใหญ่ คือ 1.ห้ามจำหน่ายเป็นรายวัน ซึ่งจะมี 3 ทางเลือก คือ ห้ามทุกวันในช่วงเทศกาล ห้ามวันแรกและวันสุดท้ายช่วงเทศกาล และห้ามช่วงกลางเทศกาล 2.ห้ามช่วงเวลาจำหน่าย ซึ่งหากภาคธุรกิจคัดค้านห้ามจำหน่ายตลอดทั้งวันเพราะกระทบกับการท่องเที่ยว ก็อาจจะต้องพิจารณาลดช่วงเวลาห้ามจำหน่ายให้น้อยลง จากเดิมที่จำหน่ายได้ในเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น. อย่างไรก็ตาม การพิจารณาตัดสินใจจะยึดข้อมูลทางวิชาการเป็นหลัก เพราะผ่านกระบวนการศึกษา สำรวจมาแล้ว ส่วนการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา มั่นใจว่าไม่มีใครคัดค้าน
“เป้าหมายสำคัญของมาตรการห้ามจำหน่าย คือ ต้องการลดอุบัติเหตุ และให้กลุ่มเสี่ยงที่เป็นวัยรุ่นซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ยากขึ้น ส่วนตัวอยากจะห้ามจำหน่ายอยู่แล้ว แต่การตัดสินใจจะทำอะไรจะต้องรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องก่อน เพราะขณะนี้เศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ถ้ามีการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีก ก็จะมีคนเอาเรื่องนี้มาผสมโรงและอ้างว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพราะการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหากจะห้ามก็ต้องห้ามหมดจะยกเว้นโรงแรม 5 ดาวไม่ได้ เพราะร้านอาหาร ข้าวต้มกุ๊ย ก็อาจจะโวยวายได้” นายมานิต กล่าว
ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต มีข้อมูลพบว่า ช่วงหลังจากเทศกาลที่มีวันหยุดยาว เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ จะมีผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังเข้ารักษาอาการทางจิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าของช่วงเวลาปกติ สาเหตุมาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากจะมีอาการทางร่างกาย คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง อาเจียนเป็นเลือด ท้องมาร เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการทางจิตประสาทด้วย คือ ประสาทหลอน หวาดระแวง และอาจทำร้ายคนอื่นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดกับคนที่ดื่มหนักแล้วหยุดดื่มเหล้า หรือเรียกว่าลงแดง ซึ่งโรคพิษสุราเรื้อรัง จะพบในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์หนักติดต่อกันทุกวัน เช่น ดื่มวิสกี้วันละ ครึ่งขวดทุกวันติดต่อกัน 5 ปี เป็นต้น และยังป่วยเป็นโรคอื่นด้วย เช่น ตับแข็ง ตับวาย
“ในแต่ละปีมีคนไทยเสียเงินซื้อเหล้า เบียร์ สูงถึง 3 แสนล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีวัยหยุดยาว คนไทยมักจะดื่มเหล้าหรือเบียร์มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเหล้าพื้นบ้านมีสารเป็นพิษสูง เพราะใช้เวลาหมักบ่มนาน คุณภาพการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ที่น่าเป็นห่วง คือ บางร้านมีการเติมสารพิษพวกยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มความแรงของเหล้า ซึ่งเป็นอันตรายกับคนดื่มอย่างมากทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลจากปัญหาการดื่มเหล้า เบียร์สูงปีละหลายแสนล้านบาท” นพ.ชาตรี กล่าว
นพ.ชาตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มเฉพาะงานเลี้ยง การเข้าสังคมเป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่ควรดื่มหนัก หรือดื่มทุกวัน โดยอัตราการดื่มที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คือ ไวน์วันละ 2 แก้ว วิสกี้ผสมโซดา วันละ 3 แก้ว และเบียร์ วันละ 2 กระป๋อง
วันที่ 2 มีนาคม ที่กรมสุขภาพจิต นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการตรวจเยี่ยมการทำงานกรมสุขภาพจิต ว่า สธ.จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมรับฟังความเห็นเรื่อง มาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในวันที่ 4 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุม 1 สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยได้เชิญภาคธุรกิจ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงภาคนักวิชาการ เครือข่ายรณรงค์ และหน่อวยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
นายมานิต กล่าวว่า จะมีการหารือแนวทางการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น 2 แนวทางใหญ่ คือ 1.ห้ามจำหน่ายเป็นรายวัน ซึ่งจะมี 3 ทางเลือก คือ ห้ามทุกวันในช่วงเทศกาล ห้ามวันแรกและวันสุดท้ายช่วงเทศกาล และห้ามช่วงกลางเทศกาล 2.ห้ามช่วงเวลาจำหน่าย ซึ่งหากภาคธุรกิจคัดค้านห้ามจำหน่ายตลอดทั้งวันเพราะกระทบกับการท่องเที่ยว ก็อาจจะต้องพิจารณาลดช่วงเวลาห้ามจำหน่ายให้น้อยลง จากเดิมที่จำหน่ายได้ในเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น. อย่างไรก็ตาม การพิจารณาตัดสินใจจะยึดข้อมูลทางวิชาการเป็นหลัก เพราะผ่านกระบวนการศึกษา สำรวจมาแล้ว ส่วนการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา มั่นใจว่าไม่มีใครคัดค้าน
“เป้าหมายสำคัญของมาตรการห้ามจำหน่าย คือ ต้องการลดอุบัติเหตุ และให้กลุ่มเสี่ยงที่เป็นวัยรุ่นซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ยากขึ้น ส่วนตัวอยากจะห้ามจำหน่ายอยู่แล้ว แต่การตัดสินใจจะทำอะไรจะต้องรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องก่อน เพราะขณะนี้เศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ถ้ามีการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีก ก็จะมีคนเอาเรื่องนี้มาผสมโรงและอ้างว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพราะการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหากจะห้ามก็ต้องห้ามหมดจะยกเว้นโรงแรม 5 ดาวไม่ได้ เพราะร้านอาหาร ข้าวต้มกุ๊ย ก็อาจจะโวยวายได้” นายมานิต กล่าว
ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต มีข้อมูลพบว่า ช่วงหลังจากเทศกาลที่มีวันหยุดยาว เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ จะมีผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังเข้ารักษาอาการทางจิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าของช่วงเวลาปกติ สาเหตุมาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากจะมีอาการทางร่างกาย คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง อาเจียนเป็นเลือด ท้องมาร เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการทางจิตประสาทด้วย คือ ประสาทหลอน หวาดระแวง และอาจทำร้ายคนอื่นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดกับคนที่ดื่มหนักแล้วหยุดดื่มเหล้า หรือเรียกว่าลงแดง ซึ่งโรคพิษสุราเรื้อรัง จะพบในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์หนักติดต่อกันทุกวัน เช่น ดื่มวิสกี้วันละ ครึ่งขวดทุกวันติดต่อกัน 5 ปี เป็นต้น และยังป่วยเป็นโรคอื่นด้วย เช่น ตับแข็ง ตับวาย
“ในแต่ละปีมีคนไทยเสียเงินซื้อเหล้า เบียร์ สูงถึง 3 แสนล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีวัยหยุดยาว คนไทยมักจะดื่มเหล้าหรือเบียร์มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเหล้าพื้นบ้านมีสารเป็นพิษสูง เพราะใช้เวลาหมักบ่มนาน คุณภาพการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ที่น่าเป็นห่วง คือ บางร้านมีการเติมสารพิษพวกยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มความแรงของเหล้า ซึ่งเป็นอันตรายกับคนดื่มอย่างมากทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลจากปัญหาการดื่มเหล้า เบียร์สูงปีละหลายแสนล้านบาท” นพ.ชาตรี กล่าว
นพ.ชาตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มเฉพาะงานเลี้ยง การเข้าสังคมเป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่ควรดื่มหนัก หรือดื่มทุกวัน โดยอัตราการดื่มที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คือ ไวน์วันละ 2 แก้ว วิสกี้ผสมโซดา วันละ 3 แก้ว และเบียร์ วันละ 2 กระป๋อง