ผู้สูงอายุยังตื่นตัวแห่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ หวั่นเกินยอด 3 ล้านคน เล็งเสนอนายกฯ พิจารณาหาเงินเพิ่ม ให้ความมั่นใจได้รับทุกคน เผยผู้สูงอายุในเขต อบต.ลงทะเบียนแล้วกว่าร้อยละ 60 พร้อมยอดรวมผู้ลงทะเบียนแต่ละแห่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ระบุค่าธรรมเนียมเงินโอนแล้วแต่ธนาคาร รับเป็นเงินไม่น้อยรัฐอาจแบกภาระแทนไม่ไหว
วันนี้ (2 มี.ค.) นายกิตติ สมานไทย ผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมการลงทะเบียนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เขตราชเทวี กทม.ว่า จากการตรวจเยี่ยมจุดลงทะเบียนหลายแห่ง เช่น จ.ตรัง จ.เชียงใหม่ และกทม. พบว่ากลุ่มใหญ่ที่มาลงทะเบียนในต่างจังหวัดจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ โดยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะมีผู้สูงอายุมาลงทะเบียนแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50-60 ส่วนเขตเทศบาลยังมาไม่เกินร้อยละ 20 แต่ก็ทยอยมาลงทะเบียนกันเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ ผู้สูงอายุที่มีรายได้แต่อยากใช้สิทธิที่ได้รับจากนโยบายรัฐบาล โดยเขตราชเทวีมีแม่ชีมาขอลงทะเบียนจำนวนหนึ่งด้วย สำหรับยอดรวมตัวเลขแต่ละแห่งขณะนี้มียอดลงทะเบียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20
ส่วนปัญหาเท่าที่พบขณะนี้ คือ ประชาชนยังขาดความเข้าใจว่าตัวเองมีสิทธิได้รับเงินหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะมีการหักค่าธรรมเนียมกรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี ครั้งละ 8-10 บาท จากเบี้ยยังชีพ 500 บาทที่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าโอนเข้าธนาคารใด เพราะหากให้รัฐรับภาระค่าธรรมเนียมด้วยก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อย
“ผู้สูงอายุทั่วประเทศตื่นตัวมาลงทะเบียนเงินเบี้ยยังชีพค่อนข้างมาก ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะเกินจำนวนผู้สูงอายุที่คาดประมาณไว้ประมาณ 3 ล้านคนหรือไม่ ต้องรอดูหลังวันที่ 15 มี.ค.นี้ ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะตรวจสอบจำนวนและคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนปลายเดือนจะทราบจำนวนที่ชัดเจน ซึ่งหากเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ ผมจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาว่าจะนำเงินส่วนใดมาใช้จ่ายเพิ่มเติม ให้ความมั่นใจผู้สูงอายุทุกคนหากมีคุณสมบัติและได้ลงทะเบียนไว้ก็จะได้รับเงินแน่นอน”นายกิตติกล่าว
วันนี้ (2 มี.ค.) นายกิตติ สมานไทย ผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมการลงทะเบียนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เขตราชเทวี กทม.ว่า จากการตรวจเยี่ยมจุดลงทะเบียนหลายแห่ง เช่น จ.ตรัง จ.เชียงใหม่ และกทม. พบว่ากลุ่มใหญ่ที่มาลงทะเบียนในต่างจังหวัดจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ โดยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะมีผู้สูงอายุมาลงทะเบียนแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50-60 ส่วนเขตเทศบาลยังมาไม่เกินร้อยละ 20 แต่ก็ทยอยมาลงทะเบียนกันเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ ผู้สูงอายุที่มีรายได้แต่อยากใช้สิทธิที่ได้รับจากนโยบายรัฐบาล โดยเขตราชเทวีมีแม่ชีมาขอลงทะเบียนจำนวนหนึ่งด้วย สำหรับยอดรวมตัวเลขแต่ละแห่งขณะนี้มียอดลงทะเบียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20
ส่วนปัญหาเท่าที่พบขณะนี้ คือ ประชาชนยังขาดความเข้าใจว่าตัวเองมีสิทธิได้รับเงินหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะมีการหักค่าธรรมเนียมกรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี ครั้งละ 8-10 บาท จากเบี้ยยังชีพ 500 บาทที่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าโอนเข้าธนาคารใด เพราะหากให้รัฐรับภาระค่าธรรมเนียมด้วยก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อย
“ผู้สูงอายุทั่วประเทศตื่นตัวมาลงทะเบียนเงินเบี้ยยังชีพค่อนข้างมาก ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะเกินจำนวนผู้สูงอายุที่คาดประมาณไว้ประมาณ 3 ล้านคนหรือไม่ ต้องรอดูหลังวันที่ 15 มี.ค.นี้ ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะตรวจสอบจำนวนและคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนปลายเดือนจะทราบจำนวนที่ชัดเจน ซึ่งหากเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ ผมจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาว่าจะนำเงินส่วนใดมาใช้จ่ายเพิ่มเติม ให้ความมั่นใจผู้สูงอายุทุกคนหากมีคุณสมบัติและได้ลงทะเบียนไว้ก็จะได้รับเงินแน่นอน”นายกิตติกล่าว