“สุขุมพันธุ์” เตรียมพร้อมรับก่อการร้ายสากลที่สนามบินสุวรรณภูมิ สั่ง รพ.สิรินธร ประสานการท่าฯ อบรมบุคลากรรับสถานการณ์ ขณะเดียวกันเตรียมอนุมัติงบ 53 ล้าน ปรับปรุงศูนย์เอราวัณ และประสาน บช.น. พัฒนาการปฏิบัติการของศูนย์เอราวัณ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. มอบนโยบายด้านการแพทย์ที่สำนักการแพทย์ โดยผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในส่วนของโรงพยาบาลสิรินธร เขตประเวศ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมากที่สุด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่โรงพยาบาลสิรินธรจะต้องมีการประสานความร่วมมือกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีการอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การก่อการสร้างรูปแบบต่างๆ เช่น ก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ สารเคมี นอกจากนั้นแล้วในอนาคตเชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิจะต้องเป็นถูกใช้เป็นที่ขนถ่ายของสารเคมีที่มีอันตราย เจ้าหน้าที่ก็ต้องฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่ให้พร้อม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนโรงพยาบาลในสังกัด กทม.อื่นๆ นั้น ตนตั้งเป้าไว้ว่าภายในระยะเวลาการบริหารราชการของตนนั้น โรงพยาบาลอีก 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชูตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จะต้องขยายให้เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง ส่วนโรงพยาบาลบางขุนเทียนนั้น เท่าที่ได้รับรายงานขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักการแพทย์และสำนักการโยธา เรื่องของที่ดิน หลังจากที่พิจารณาแล้วเสร็จก็จะเสนอไปยังนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องที่ดิน และหลังจากนั้นก็จะให้ตนเซ็นรับมอบต่อไป ส่วนการสร้างโรงพยาบาลนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโดย นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า และในช่วงภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ และอื่นๆ หน่วยงานสำคัญที่ต้องเร่งปรับปรุงให้มีศักยภาพในส่วนของสำนักการแพทย์ คือ ศูนย์เอราวัณ ซึ่งตนอยากให้ปรับปรุงเต็มรูปแบบ เพื่อสามารถออกปฏิบัติการในเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ และสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน ส่วนปัญหาบุคลากรและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอนั้น ตนจะเร่งพิจารณาให้ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อรัฐบาลโอนให้ศูนย์เอราวัณมาอยู่ในความดูแลของ กทม.แล้ว ก็ต้องจัดสรรเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือ เช่น รถพยาบาลที่จะต้องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตจะต้องพร้อม แม้ว่าจะราคาจะอยู่ที่คันละกว่า 2 ล้านก็ต้องลงทุน
ด้านที่นายพีระพงษ์ สายเชื้อ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้บุคลากรของศูนย์เอราวัณ ที่สำนักการแพทย์ดูแลอยู่นั้น มีข้าราชการประจำปฏิบัติงานทั้งหมด 11 คน และมีลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 50 คน ซึ่งในเรื่องของการเพิ่มอัตราบุคลากรทั้งข้าราชการประจำและลูกจ้าง ตอนนี้ได้หารือกับทางสำนักคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (กก.) เพื่อให้เร่งบรรจุและจ้างบุคลากรอัตราใหม่ อีก 10 ตำแหน่ง นอกจากนั้นแล้วตนมีแผนพัฒนาศูนย์เอราวัณให้มีศักยภาพ ได้แก่ 1.การเพิ่มอาคาร ศูนย์ปฏิบัติการเอราวัณ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง โดยได้ของบประมาณจาก กทม.แล้วจำนวน 53 ล้านบาท คาดว่าประมาณกลางเดือนมีนาคม ผู้บริหารจะอนุมัติงบประมาณดังกล่าว และ 2.การเพิ่มบุคลากร ศักยภาพของบุคลากรด้วยการจัดอบรมการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นแล้วในส่วนของการเพิ่มความสามารถในการทำงานในพื้นที่ ตนเตรียมที่จะไปหารือกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อให้มีการประสานทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของศูนย์เอราวัณ หรือศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอื่น และสถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. มอบนโยบายด้านการแพทย์ที่สำนักการแพทย์ โดยผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในส่วนของโรงพยาบาลสิรินธร เขตประเวศ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมากที่สุด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่โรงพยาบาลสิรินธรจะต้องมีการประสานความร่วมมือกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีการอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การก่อการสร้างรูปแบบต่างๆ เช่น ก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ สารเคมี นอกจากนั้นแล้วในอนาคตเชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิจะต้องเป็นถูกใช้เป็นที่ขนถ่ายของสารเคมีที่มีอันตราย เจ้าหน้าที่ก็ต้องฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่ให้พร้อม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนโรงพยาบาลในสังกัด กทม.อื่นๆ นั้น ตนตั้งเป้าไว้ว่าภายในระยะเวลาการบริหารราชการของตนนั้น โรงพยาบาลอีก 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชูตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จะต้องขยายให้เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง ส่วนโรงพยาบาลบางขุนเทียนนั้น เท่าที่ได้รับรายงานขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักการแพทย์และสำนักการโยธา เรื่องของที่ดิน หลังจากที่พิจารณาแล้วเสร็จก็จะเสนอไปยังนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องที่ดิน และหลังจากนั้นก็จะให้ตนเซ็นรับมอบต่อไป ส่วนการสร้างโรงพยาบาลนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโดย นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า และในช่วงภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ และอื่นๆ หน่วยงานสำคัญที่ต้องเร่งปรับปรุงให้มีศักยภาพในส่วนของสำนักการแพทย์ คือ ศูนย์เอราวัณ ซึ่งตนอยากให้ปรับปรุงเต็มรูปแบบ เพื่อสามารถออกปฏิบัติการในเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ และสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน ส่วนปัญหาบุคลากรและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอนั้น ตนจะเร่งพิจารณาให้ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อรัฐบาลโอนให้ศูนย์เอราวัณมาอยู่ในความดูแลของ กทม.แล้ว ก็ต้องจัดสรรเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือ เช่น รถพยาบาลที่จะต้องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตจะต้องพร้อม แม้ว่าจะราคาจะอยู่ที่คันละกว่า 2 ล้านก็ต้องลงทุน
ด้านที่นายพีระพงษ์ สายเชื้อ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้บุคลากรของศูนย์เอราวัณ ที่สำนักการแพทย์ดูแลอยู่นั้น มีข้าราชการประจำปฏิบัติงานทั้งหมด 11 คน และมีลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 50 คน ซึ่งในเรื่องของการเพิ่มอัตราบุคลากรทั้งข้าราชการประจำและลูกจ้าง ตอนนี้ได้หารือกับทางสำนักคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (กก.) เพื่อให้เร่งบรรจุและจ้างบุคลากรอัตราใหม่ อีก 10 ตำแหน่ง นอกจากนั้นแล้วตนมีแผนพัฒนาศูนย์เอราวัณให้มีศักยภาพ ได้แก่ 1.การเพิ่มอาคาร ศูนย์ปฏิบัติการเอราวัณ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง โดยได้ของบประมาณจาก กทม.แล้วจำนวน 53 ล้านบาท คาดว่าประมาณกลางเดือนมีนาคม ผู้บริหารจะอนุมัติงบประมาณดังกล่าว และ 2.การเพิ่มบุคลากร ศักยภาพของบุคลากรด้วยการจัดอบรมการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นแล้วในส่วนของการเพิ่มความสามารถในการทำงานในพื้นที่ ตนเตรียมที่จะไปหารือกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อให้มีการประสานทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของศูนย์เอราวัณ หรือศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอื่น และสถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ