วธ.เตรียมถก สตช.-สคบ.พรุ่งนี้ เพื่อหามาตรการจัดโซนนิงหนังสือหวิว “ธีระ” ชี้ ใช้วิธีรัฐศาสตร์คุยกับผู้ประกอบการเพื่อความยั่งยืน
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการที่กลุ่มเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อมายื่นหนังสือร้องเรียนกับตนว่า ตามแผงหนังสือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามร้านสะดวกซื้อ แผงหนังสือทั่วไป มีการนำหนังสือที่มีภาพปกเนื้อหาวาบหวิววางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และยังจำหน่ายหนังสือดังกล่าวให้แก่เด็กและเยาวชนอายุไม่ถึง 20 ปีด้วยนั้น ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ วธ.ได้ประสานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกรมศิลปากร เพื่อมาประชุมหารือถึงแนวทางการจัดโซนนิงการจัดวางหนังสือ ตลอดจนกำหนดอายุ หรือปิดป้ายประกาศกำหนดอายุในการซื้อหนังสือดังกล่าว ว่า ควรจะอยู่ในระดับใด วธ.และ สตช.สามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน
นายธีระ กล่าวต่อไปว่า ตนเห็นว่า ประเทศไทยควรที่จะจัดโซนนิงหนังสือให้เป็นหมวดหมู่เฉพาะเหมือนกับต่างประเทศ โดยหนังสือที่วาบหวิวควรอยู่ในชั้นสูงสุด ที่เด็กและเยาวชนไม่สามารถหยิบถึงได้ง่าย ซึ่งผู้ซื้อหนังสือจะต้องแสดงบัตรประชาชนให้เหมือนกับ การจำหน่ายบุหรี่ และสุรา ขณะที่แผงหนังสือทั่วไป ควรที่จะต้องจัดหนังสือวาบหวิวให้อยู่ในโซนในสุด ไม่ควรที่จะนำออกมาโชว์ด้านหน้าสุดของแผง อย่างไรก็ตาม การจัดโซนนิงหนังสือ วธ.จะใช้วิธีการขอความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้จัดจำหน่าย ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ ในการจัดหนังสือที่มีเนื้อหาวาบหวิวให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมมากที่สุด
“การจัดโซนนิงหนังสือเราจะต้องใช้วิธีการทางรัฐศาสตร์ ต้องใช้วิธีการพูดคุยกับผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกว่า หน่วยงานรัฐเป็นผู้บังคับ ในขณะเดียวกัน กระทรวงจะต้องดูมาตรการทางกฎหมายควบคู่กันไปด้วย โดยการประชุมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ น่าจะได้เห็นแนวคิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า จะดำเนินการอย่างไรถึงจะจัดโซนนิ่งหนังสือได้อย่างเหมาะสมและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป”รมว.วัฒนธรรม กล่าว
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการที่กลุ่มเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อมายื่นหนังสือร้องเรียนกับตนว่า ตามแผงหนังสือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามร้านสะดวกซื้อ แผงหนังสือทั่วไป มีการนำหนังสือที่มีภาพปกเนื้อหาวาบหวิววางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และยังจำหน่ายหนังสือดังกล่าวให้แก่เด็กและเยาวชนอายุไม่ถึง 20 ปีด้วยนั้น ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ วธ.ได้ประสานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกรมศิลปากร เพื่อมาประชุมหารือถึงแนวทางการจัดโซนนิงการจัดวางหนังสือ ตลอดจนกำหนดอายุ หรือปิดป้ายประกาศกำหนดอายุในการซื้อหนังสือดังกล่าว ว่า ควรจะอยู่ในระดับใด วธ.และ สตช.สามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน
นายธีระ กล่าวต่อไปว่า ตนเห็นว่า ประเทศไทยควรที่จะจัดโซนนิงหนังสือให้เป็นหมวดหมู่เฉพาะเหมือนกับต่างประเทศ โดยหนังสือที่วาบหวิวควรอยู่ในชั้นสูงสุด ที่เด็กและเยาวชนไม่สามารถหยิบถึงได้ง่าย ซึ่งผู้ซื้อหนังสือจะต้องแสดงบัตรประชาชนให้เหมือนกับ การจำหน่ายบุหรี่ และสุรา ขณะที่แผงหนังสือทั่วไป ควรที่จะต้องจัดหนังสือวาบหวิวให้อยู่ในโซนในสุด ไม่ควรที่จะนำออกมาโชว์ด้านหน้าสุดของแผง อย่างไรก็ตาม การจัดโซนนิงหนังสือ วธ.จะใช้วิธีการขอความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้จัดจำหน่าย ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ ในการจัดหนังสือที่มีเนื้อหาวาบหวิวให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมมากที่สุด
“การจัดโซนนิงหนังสือเราจะต้องใช้วิธีการทางรัฐศาสตร์ ต้องใช้วิธีการพูดคุยกับผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกว่า หน่วยงานรัฐเป็นผู้บังคับ ในขณะเดียวกัน กระทรวงจะต้องดูมาตรการทางกฎหมายควบคู่กันไปด้วย โดยการประชุมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ น่าจะได้เห็นแนวคิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า จะดำเนินการอย่างไรถึงจะจัดโซนนิ่งหนังสือได้อย่างเหมาะสมและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป”รมว.วัฒนธรรม กล่าว