“อิสสระ” มอบนโยบายข้าราชการ พม.เน้นย้ำเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เผยแจกเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ต้องจ่ายในที่แจ้ง มีข้าราชการ พม.ร่วม พร้อมขึ้นป้ายผ้าเพื่อความชัดเจน ส่วนหนี้การเคหะฯ 8 หมื่นล้าน เตรียมเร่งแก้ไข หลังการเคหะฯ เตรียมทำแผนฟื้นฟู แย้มข่าวดี กทม.กำลังเจรจาซื้อบ้านเอื้อฯ ให้ข้าราชการกู้ คาดได้ข้อสรุปพร้อมทำสัญญาเดือนหน้า
วันนี้ (23 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง โดยกำชับข้าราชการให้ความสำคัญกับนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และนโยบายที่จะเริ่มดำเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี ของรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ซึ่งจะเปิดรับลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพระหว่างวันที่ 26 ก.พ.-15 มี.ค.2552 ณ สำนักงานเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ ซึ่งตอนนี้ก็ให้เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดลงทะเบียน และที่ผ่านมา ก็ได้รับรายงานว่าเกิดปัญหาขึ้นกับ อปท.ในบางพื้นที่ที่ปฏิเสธรับการลงทะเบียนผู้สูงอายุ แต่หลังจากตรวจสอบก็พบว่ามีผู้สูงอายุเดินทางไปลงทะเบียนก่อนกำหนด เมื่อมีผู้ไปขอจดแจ้งสิทธิเลยทำให้เกิดความสับสน ทั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุที่พอมีฐานะ และไม่ได้รับเดือดร้อนหากบุคคลเหล่านี้ปฏิเสธการรับเบี้ยยังชีพ ทางกระทรวงก็จะพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งออกให้โดยรัฐบาลเป็นการขอบคุณ
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายเรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ในจังหวัดต่างได้เน้นย้ำว่า ไม่ควรให้เงินเป็นการส่วนตัว แต่อยากให้มีการมอบเงินในที่ว่าการอำเภอ ที่ประชุมองค์การบริหารท้องถิ่นต่างๆ อบต.และการจ่ายเงินทุกครั้งต้องมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม.ร่วมมอบด้วย หากมีนักการเมืองร่วมมอบเงินก็ต้องตรวจสอบไม่ให้มีเอกสารส่วนตัวใดๆ ปรากฏ ซึ่งต้องมีการขึ้นป้ายผ้าทุกครั้งเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของการรับมอบเงินช่วยเหลือดังกล่าว
“ในส่วนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ก็จะจ่ายเป็นตัวเงินช่วยเหลือแทนการแจกจ่ายสิ่งของ ทั้งนี้ผู้บริจาคเงินสนับสนุน ช่วยเหลือต้องแจ้งที่มาที่ไป ว่า เป็นใคร และจะนำไปให้ใครเป็นจำนวนเท่าไร ต้องมีการแจกแจงอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสที่สุด” รมว.พม.กล่าว
นายอิสสระ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาเรื่องหนี้ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่มีอยู่กว่า 8 หมื่นล้านบาทนั้น ต้องเร่งแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด ซึ่งทางการเคหะฯ ก็เร่งทำแผนฟื้นฟู โดยหนี้ที่มีกว่า 8 หมื่นล้านบาทนั้น ต่างก็จมอยู่กับค่าที่ดิน และหนี้จากการสร้างบ้านเอื้ออาทรที่ขายไม่ออกและไม่มีคนอยู่ แต่ถึงอย่างไรตอนนี้ก็มีข่าวดีมาบ้างเมื่อ กทม.ต้องการที่จะซื้อบ้านเอื้ออาทรจำนวนหมื่นกว่าหลัง เพื่อให้ข้าราชการ กทม.กู้ซื้อ และหาแหล่งเงินกู้ให้ข้าราชการกู้ พร้อมทั้งผ่อนกับธนาคาร ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา คาดว่าภายในเดือนหน้าจะได้ข้อสรุปถึงทำเลที่ตั้ง และรายละเอียดส่วนอื่นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ก็จะได้มีการลงนามทำสัญญากันร่วมกันต่อไป
วันนี้ (23 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง โดยกำชับข้าราชการให้ความสำคัญกับนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และนโยบายที่จะเริ่มดำเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี ของรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ซึ่งจะเปิดรับลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพระหว่างวันที่ 26 ก.พ.-15 มี.ค.2552 ณ สำนักงานเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ ซึ่งตอนนี้ก็ให้เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดลงทะเบียน และที่ผ่านมา ก็ได้รับรายงานว่าเกิดปัญหาขึ้นกับ อปท.ในบางพื้นที่ที่ปฏิเสธรับการลงทะเบียนผู้สูงอายุ แต่หลังจากตรวจสอบก็พบว่ามีผู้สูงอายุเดินทางไปลงทะเบียนก่อนกำหนด เมื่อมีผู้ไปขอจดแจ้งสิทธิเลยทำให้เกิดความสับสน ทั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุที่พอมีฐานะ และไม่ได้รับเดือดร้อนหากบุคคลเหล่านี้ปฏิเสธการรับเบี้ยยังชีพ ทางกระทรวงก็จะพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งออกให้โดยรัฐบาลเป็นการขอบคุณ
นายอิสสระ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายเรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ในจังหวัดต่างได้เน้นย้ำว่า ไม่ควรให้เงินเป็นการส่วนตัว แต่อยากให้มีการมอบเงินในที่ว่าการอำเภอ ที่ประชุมองค์การบริหารท้องถิ่นต่างๆ อบต.และการจ่ายเงินทุกครั้งต้องมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม.ร่วมมอบด้วย หากมีนักการเมืองร่วมมอบเงินก็ต้องตรวจสอบไม่ให้มีเอกสารส่วนตัวใดๆ ปรากฏ ซึ่งต้องมีการขึ้นป้ายผ้าทุกครั้งเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของการรับมอบเงินช่วยเหลือดังกล่าว
“ในส่วนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ก็จะจ่ายเป็นตัวเงินช่วยเหลือแทนการแจกจ่ายสิ่งของ ทั้งนี้ผู้บริจาคเงินสนับสนุน ช่วยเหลือต้องแจ้งที่มาที่ไป ว่า เป็นใคร และจะนำไปให้ใครเป็นจำนวนเท่าไร ต้องมีการแจกแจงอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสที่สุด” รมว.พม.กล่าว
นายอิสสระ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาเรื่องหนี้ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่มีอยู่กว่า 8 หมื่นล้านบาทนั้น ต้องเร่งแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด ซึ่งทางการเคหะฯ ก็เร่งทำแผนฟื้นฟู โดยหนี้ที่มีกว่า 8 หมื่นล้านบาทนั้น ต่างก็จมอยู่กับค่าที่ดิน และหนี้จากการสร้างบ้านเอื้ออาทรที่ขายไม่ออกและไม่มีคนอยู่ แต่ถึงอย่างไรตอนนี้ก็มีข่าวดีมาบ้างเมื่อ กทม.ต้องการที่จะซื้อบ้านเอื้ออาทรจำนวนหมื่นกว่าหลัง เพื่อให้ข้าราชการ กทม.กู้ซื้อ และหาแหล่งเงินกู้ให้ข้าราชการกู้ พร้อมทั้งผ่อนกับธนาคาร ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา คาดว่าภายในเดือนหน้าจะได้ข้อสรุปถึงทำเลที่ตั้ง และรายละเอียดส่วนอื่นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ก็จะได้มีการลงนามทำสัญญากันร่วมกันต่อไป