ผู้จัดการรายวัน- “ชวรัตน์”รมว.พม. ตั้ง2บอร์ดสางปัญหาบ้านเอื้อฯ พร้อมมอบนโยบายแนวทางแก้ สั่งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับราคาขายบ้านเอื้อฯขึ้น-ลง โดยยึด กลไกการตลาด ดีมานด์ ความห่างไกลในแต่ละพื้นที่เป็นเกณฑ์พิจารณาปรับราคา ขณะการปรับขึ้น-ลงราคาขายบ้านเอื้อฯ อาจสร้างภาระดอกเบี้ยผู้ซื้อบ้าน กคช.แบกต้นทุนเพิ่ม ด้าน พม.เตรียมเรียก ธอส.-ออมสิน หารือลดดอกเบี้ยปล่อยกู้ พร้อมตั้งกองทุนหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำรองรับความต้องการผู้มีรายได้น้อย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ว่าได้มอบนโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร และแนวทางการดำเนินการโครงการบ้านปฐมภูมิ และการฟื้นฟูแฟลตดินแดง แก่คณะกรรมการบริหาร กคช. ซึ่งมี นายวัลลภ พลอยทับทิม เป็นประธาน นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทรเข้ามาพิจารณาปัญหา และหาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีนายวิชา จิวาลัย เป็นประธาน
ทั้งนี้ ปัญหาหลักในโครงการบ้านเอื้อฯคือ ปัญหาการระบายสต็อกบ้านที่มีมากเกินกว่าความต้องการ ปัญหาการก่อสร้างบ้านไมเสร็จจากการทิ้งงาน หรือการขาดศักยภาพการสานต่อการก่อสร้าง และการตั้งราคาขายที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการและกำลังซื้อของประชาชน ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับราคาขายในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการในต่างจังหวัดซึ่งอยู่ห่างไกล และมีต้นทุนที่ดินต่ำจะมีการปรับราคาขายลง ส่วนโครงการในพื้นที่กทม.และปริมณฑลที่มีความต้องการสูง อาจจะมีการปรับราคาขายขึ้น
นอกจากนี้ ในส่วนของห้องชุดอาคารสูงในบ้างพื้นที่อาจจะมีการปรับราคาขายลดลงในส่วนของห้องที่อยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างอาจจะมีราคาขายที่สูงขึ้น โดยการนำหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการขายเนื่องจาก โครงการ บ้านเอื้อฯนั้นไม่มีลิฟท์อำนวยความสะดวกในการขึ้นลง อย่างไรก็ตามการปรับราคาขายดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของลูกค้า และต้นทุนการก่อสร้างโครงการ ซึ่งอาจจะมีการปรับฐานรายได้ขั้นต่ำ และรายได้ขั้นสูงต่อครัวเรือน ต่อเดือนของผู้ซื้อบ้านในโครงการอักครั้งหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกำลังซื้อของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ส่วนปัญหาการทิ้งบ้านไม่ผ่อนต่อซึ่งเป็นจุดบอดของโครงการที่ก่อให้เกิดภาระด้านดอกเบี้ยต่อ กคช.นั้น พม.ได้ให้แนวทางการแก้ปัญหาโดยการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการไปพิจารณาการปรับแก้สัญญาซื้อขายให้รัดกุมมากขึ้น โดยจะต้องมีการยึดเงินทำสัญญา และยึดบ้านคืนในกรณีที่ลูกค้าไม่ผ่อนต่อ สำหรับปัญหาการก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ พม.ยังมีแนวทางให้ กคช. ดำเนินการก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบให้ประชาชนต่อไป ส่วนปัญหาดีมานด์น้อยกว่าซับพลายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่โครงการต่างจังหวัดนั้นก็ให้มีการลดจำนวนหน่วยการก่อสร้างลง
นายชวรัตน์ กล่าวว่า ในส่วนของปัญหาการกู้ไม่ผ่านของผู้มีรายได้น้อยนั้น กคช.จะนำรายชื่อของผู้ต้องการซื้อบ้านเสนอขอกู้เงินต่อ สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่ง กคช.ได้ทำสัญญาขอกู้ยืมไว้ในวงเงิน2,000ล้านบาทแทน นอกจากนี้ พม.จะเชิญกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสินเข้ามาหารือหาแนวทางการแก้ปัญหาอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้ผู้กูซื้อบ้านในโครงการด้วย
“นอกจากนี้ พม.ยังมีแนวทางการเสนอตั้งกองทุนเพื่อหาแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ซื้อบ้านเอื้ออาทรด้วย โดยในส่วนของการก่อตั้งกองทุนนั้นจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ โดยจะให้ คณะอนุกรรมการพิจารณาและหาแนวทางการจัดตั้งกองทุน และเสนอต่อ รมว.พม.พิจารณาเพื่อเสนอ ครม.ในการจัดหาแหล่งเงินตั้งกองทุนอีกครั้งหนึ่ง”
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ว่าได้มอบนโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร และแนวทางการดำเนินการโครงการบ้านปฐมภูมิ และการฟื้นฟูแฟลตดินแดง แก่คณะกรรมการบริหาร กคช. ซึ่งมี นายวัลลภ พลอยทับทิม เป็นประธาน นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทรเข้ามาพิจารณาปัญหา และหาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีนายวิชา จิวาลัย เป็นประธาน
ทั้งนี้ ปัญหาหลักในโครงการบ้านเอื้อฯคือ ปัญหาการระบายสต็อกบ้านที่มีมากเกินกว่าความต้องการ ปัญหาการก่อสร้างบ้านไมเสร็จจากการทิ้งงาน หรือการขาดศักยภาพการสานต่อการก่อสร้าง และการตั้งราคาขายที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการและกำลังซื้อของประชาชน ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับราคาขายในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการในต่างจังหวัดซึ่งอยู่ห่างไกล และมีต้นทุนที่ดินต่ำจะมีการปรับราคาขายลง ส่วนโครงการในพื้นที่กทม.และปริมณฑลที่มีความต้องการสูง อาจจะมีการปรับราคาขายขึ้น
นอกจากนี้ ในส่วนของห้องชุดอาคารสูงในบ้างพื้นที่อาจจะมีการปรับราคาขายลดลงในส่วนของห้องที่อยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างอาจจะมีราคาขายที่สูงขึ้น โดยการนำหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการขายเนื่องจาก โครงการ บ้านเอื้อฯนั้นไม่มีลิฟท์อำนวยความสะดวกในการขึ้นลง อย่างไรก็ตามการปรับราคาขายดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของลูกค้า และต้นทุนการก่อสร้างโครงการ ซึ่งอาจจะมีการปรับฐานรายได้ขั้นต่ำ และรายได้ขั้นสูงต่อครัวเรือน ต่อเดือนของผู้ซื้อบ้านในโครงการอักครั้งหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกำลังซื้อของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ส่วนปัญหาการทิ้งบ้านไม่ผ่อนต่อซึ่งเป็นจุดบอดของโครงการที่ก่อให้เกิดภาระด้านดอกเบี้ยต่อ กคช.นั้น พม.ได้ให้แนวทางการแก้ปัญหาโดยการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการไปพิจารณาการปรับแก้สัญญาซื้อขายให้รัดกุมมากขึ้น โดยจะต้องมีการยึดเงินทำสัญญา และยึดบ้านคืนในกรณีที่ลูกค้าไม่ผ่อนต่อ สำหรับปัญหาการก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ พม.ยังมีแนวทางให้ กคช. ดำเนินการก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบให้ประชาชนต่อไป ส่วนปัญหาดีมานด์น้อยกว่าซับพลายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่โครงการต่างจังหวัดนั้นก็ให้มีการลดจำนวนหน่วยการก่อสร้างลง
นายชวรัตน์ กล่าวว่า ในส่วนของปัญหาการกู้ไม่ผ่านของผู้มีรายได้น้อยนั้น กคช.จะนำรายชื่อของผู้ต้องการซื้อบ้านเสนอขอกู้เงินต่อ สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่ง กคช.ได้ทำสัญญาขอกู้ยืมไว้ในวงเงิน2,000ล้านบาทแทน นอกจากนี้ พม.จะเชิญกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสินเข้ามาหารือหาแนวทางการแก้ปัญหาอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้ผู้กูซื้อบ้านในโครงการด้วย
“นอกจากนี้ พม.ยังมีแนวทางการเสนอตั้งกองทุนเพื่อหาแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ซื้อบ้านเอื้ออาทรด้วย โดยในส่วนของการก่อตั้งกองทุนนั้นจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ โดยจะให้ คณะอนุกรรมการพิจารณาและหาแนวทางการจัดตั้งกองทุน และเสนอต่อ รมว.พม.พิจารณาเพื่อเสนอ ครม.ในการจัดหาแหล่งเงินตั้งกองทุนอีกครั้งหนึ่ง”