“ยงยุทธ” เผย เวทีประชาพิจารณ์ปฏิรูปการศึกษารอบสองที่ภาคใต้ เสนอเพิ่มเงินเดือนครูเท่าผู้พิพากษา โดยครูควรมี 2 ปริญญา คือ ปริญญาครุศาสตร์ และปริญญาวิชาเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมดันตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา(สกศ.) เฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เปิดเผยว่า จากการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา” ที่ จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้บริหาร/ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยประเด็นที่ที่ประชุมเห็นตรงกัน คือ เรื่องของคุณภาพการศึกษา ทั้งคุณภาพของโรงเรียน คุณภาพด้านระบบการบริหาร และคุณภาพของครู ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจว่า คุณภาพผู้เรียนจะดีขึ้นได้หรือไม่ปัจจัยที่สำคัญ คือ จะต้องคืนครูให้เด็ก เพราะวันนี้ครูถูกนำไปใช้ทางอื่นมากเกินไปแล้ว
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการจัดการศึกษาของท้องถิ่นนั้น มีการพูดกันมาก ว่า หากจะให้ทั่วถึงต้องมีงบประมาณ และมีการปรับปรุงระบบการทำงาน รวมถึงสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรื่องการศึกษา และต้องมีการดูแลเรื่องของเงินเดือนครูด้วย โดยมีผู้เรียกร้องว่าอยากให้ได้เท่ากับผู้พิพากษา ซึ่งเท่าที่ฟังในที่ประชุมค่อนข้างเชื่อว่า ถ้าท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้นำในการเรื่องการปฏิรูปการศึกษาน่าจะทำได้ง่ายกว่าทำจากส่วนกลาง จึงมีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีการพูดกันมากถึงเรื่องการผลิตครู ที่มีการกลับไปกลับมาระหว่างหลักสูตร 4 ปี และ 5 ปี รวมถึงมีข้อเสนอว่า คนที่จบหลักสูตรครูน่าจะได้รับ 2 ปริญญา หรือ ดับเบิลดีกรี เช่น จบครูวิทยาศาสตร์ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิต หรือ ศึกษาศาสตรบัณฑิต กับ วิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นต้น
“เท่าที่รับฟังความคิดเห็นมา 2 เวที คือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ สงขลา ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ประเด็นแรก ในการปฏิรูปการศึกษารอบสองจะต้องมุ่งไปที่คุณภาพของเด็ก ส่วนเรื่องครูก็ค่อนข้างชัดว่าจะต้องให้เงินเดือนเพิ่มขึ้น และเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น แต่ยังไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่าหากได้รับฟังอีก 2 เวทีที่จังหวัดขอนแก่น และกรุงเทพฯ ก็น่าจะพอสรุปเสนอสภาการศึกษาได้แล้ว”ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา(สกศ.) เฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เปิดเผยว่า จากการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา” ที่ จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้บริหาร/ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยประเด็นที่ที่ประชุมเห็นตรงกัน คือ เรื่องของคุณภาพการศึกษา ทั้งคุณภาพของโรงเรียน คุณภาพด้านระบบการบริหาร และคุณภาพของครู ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจว่า คุณภาพผู้เรียนจะดีขึ้นได้หรือไม่ปัจจัยที่สำคัญ คือ จะต้องคืนครูให้เด็ก เพราะวันนี้ครูถูกนำไปใช้ทางอื่นมากเกินไปแล้ว
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการจัดการศึกษาของท้องถิ่นนั้น มีการพูดกันมาก ว่า หากจะให้ทั่วถึงต้องมีงบประมาณ และมีการปรับปรุงระบบการทำงาน รวมถึงสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรื่องการศึกษา และต้องมีการดูแลเรื่องของเงินเดือนครูด้วย โดยมีผู้เรียกร้องว่าอยากให้ได้เท่ากับผู้พิพากษา ซึ่งเท่าที่ฟังในที่ประชุมค่อนข้างเชื่อว่า ถ้าท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้นำในการเรื่องการปฏิรูปการศึกษาน่าจะทำได้ง่ายกว่าทำจากส่วนกลาง จึงมีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีการพูดกันมากถึงเรื่องการผลิตครู ที่มีการกลับไปกลับมาระหว่างหลักสูตร 4 ปี และ 5 ปี รวมถึงมีข้อเสนอว่า คนที่จบหลักสูตรครูน่าจะได้รับ 2 ปริญญา หรือ ดับเบิลดีกรี เช่น จบครูวิทยาศาสตร์ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิต หรือ ศึกษาศาสตรบัณฑิต กับ วิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นต้น
“เท่าที่รับฟังความคิดเห็นมา 2 เวที คือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ สงขลา ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ประเด็นแรก ในการปฏิรูปการศึกษารอบสองจะต้องมุ่งไปที่คุณภาพของเด็ก ส่วนเรื่องครูก็ค่อนข้างชัดว่าจะต้องให้เงินเดือนเพิ่มขึ้น และเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น แต่ยังไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่าหากได้รับฟังอีก 2 เวทีที่จังหวัดขอนแก่น และกรุงเทพฯ ก็น่าจะพอสรุปเสนอสภาการศึกษาได้แล้ว”ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว