ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เผย บังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครบ 1 ปี ธุรกิจเหล้าแหกกฎหมายเพียบทั้งหนังสือพิมพ์-ทีวี-ป้ายโฆษนากลางแจ้ง กระหน่ำโฆษณาเพิ่มสูงกว่ายังไม่มีกฎหมายคุม สื่อทีวีอัดสปอตทั้งโฆษณาตรง-แฝง แถมลอบยิงโฆษณาก่อน 4 ทุ่ม ตราผลิตภัณฑ์ สูงกว่าเดิม 10 เท่า ตราบริษัทพุ่งขึ้น 15 เท่า งานวิจัยยันโฆษณาทำเด็กอยากลองดื่ม 4 เท่า เรียกร้องรัฐเข้มกฎหมาย ม. 32
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แถลง “ผลติดตามเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวาระครบรอบ 1 ปี ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551”
ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวว่า ศวส.ได้ติดตามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ 5 ช่อง และหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ ตลอดปี 2551 ซึ่งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ พบว่า มีการโฆษณาในปี 2551 จำนวน 827 ครั้ง คิดเป็นเดือนละ 69 ครั้ง โดยช่วงก่อนบังคับใช้กฎหมายมีโฆษณาเหล้าเฉลี่ย 37.5 ครั้งต่อเดือน เป็นโฆษณาที่เห็นภาพขวด 27 ครั้ง แต่หลังบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น 81.2 ครั้งต่อเดือน มีโฆษณาผิดกฎหมายเห็นภาพขวด 72 ครั้ง
ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเฝ้าระวังทางโทรทัศน์ 5 ช่อง พบว่า มีการโฆษณาทางตรงในลักษณะยิงสปอตโฆษณาที่เห็นภาพขวดผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 36 ครั้ง
“นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาในลักษณะแฝงให้เห็นภาพขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏในรายการต่างๆ เช่น รายการข่าว รายการกีฬา รวมทั้งสิ้นถึง 202 ครั้ง ซึ่งการโฆษณาทั้งแบบตรงและแฝงเหล่านี้ล้วนผิดมาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อครั้งที่กระทำการโฆษณา ดังนั้น หากมีการตรวจจับดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดธุรกิจสุราจะต้องเสียเงินจำนวนมาก” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ ธุรกิจสุราให้ความร่วมมือกับมติ ครม. 29 ก.ค.2546 ที่ห้ามไม่ให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งการให้ปรากฏภาพขวดผลิตภัณฑ์ ภาพตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และ ภาพตราสัญลักษณ์บริษัท ทางวิทยุและโทรทัศน์ระหว่างเวลา 05.00-.22.00 น.แต่การเฝ้าระวังพบปี 2551 มีโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบให้เห็นตราผลิตภัณฑ์และตราบริษัทก่อนเวลาดังกล่าว จำนวน 42 และ 122 ครั้งต่อสัปดาห์ตามลำดับ
ขณะที่ในปี 2550 มีเพียง 4.5 และ 8.3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น การโฆษณาตราผลิตภัณฑ์ในช่วงก่อนตีห้าถึงสี่ทุ่มเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า และ โฆษณาตราบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 15 เท่า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กและเยาวชนดูโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก
“มีงานวิจัยสำรวจ พบว่า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลสัมพันธ์กับความอยากลองดื่มของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า หมายความว่า กลุ่มเด็กที่จดจำโฆษณาได้ จะทำให้อยากลองดื่มมากกว่ากลุ่มที่จำไม่ได้ 4 เท่า จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กำหนดกฎกระทรวงตามมาตรา 32 ให้สามารถควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์และวิทยุไม่ให้โฆษณาในช่วงเวลาตีห้าถึงสี่ทุ่มเช่นเดิม” ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์
ด้าน นายธีระ วัชรปราณี ผจก.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ผลสำรวจการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้ายกลางแจ้ง บนถนนสายหลัก อาทิ รามคำแหง ลาดพร้าว เกษตร-นวมินทร์ พลโยธิน วันที่ 12-16 ก.พ. 2552 พบ สถานบันเทิงและร้านค้า ร้านอาหาร รวม 236 ร้าน พบป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น 509 กรณี มีการกระทำผิด 378 กรณี หรือ ร้อยละ 74.26 พบการนำตราสินค้าบนขวดมาเผยแพร่ถึง 21 ยี่ห้อ รูปแบบสื่อโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายมากที่สุด คือ ป้ายตู้ไฟมาก ร้อยละ 52.91 ตามด้วย ธงราว ธงญี่ปุ่น ร้อยละ 21.16 แบนเนอร์ 13.22
น.ส.มนทิรา วิโรจน์อนันต์ เครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า การติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในรอบ 1 ปี พบว่า ยังไม่เคยมีประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติแม้แต่ครั้งเดียว ส่งผลต่อการออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง แต่น่ายินดีว่าระดับจังหวัดคืบหน้าชัดเจน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ที่มีผู้ว่าเป็นประธานครบทั้ง 76 จังหวัด โดย 47 จังหวัด ได้ประชุมและกำหนดแนวทางทำงานแล้ว และคาดว่าภายในเดือนเม.ย.จะครบทั้งประเทศ
“ควรผลักดันให้มีการประกาศ การบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เป็นวาระแห่งชาติ หรือวาระจังหวัด พร้อมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในข้อกฎหมายอย่างลึกซึ้งให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติทั้ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และสร้างกระแสสังคม ให้ประชาชนรับรู้ เพื่อให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดกฎหมายเนื่องด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์”น.ส.มณทิรา กล่าว
รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เพื่อให้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความศักดิ์สิทธิ์ เครือข่ายฯ จึงขอเสนอดังนี้ 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตรวจจับดำเนินคดีโดยเคร่งครัด และรวดเร็ว การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเห็นภาพขวดผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบเต็มหรือบางส่วนของขวด หรือบรรจุภัณฑ์ ต้องหมดไปจากทุกสื่อโฆษณา 2.คณะกรรมการรนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ต้องกำหนดกฎกระทรวงตามมาตรา 32 ให้มีมาตรการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ต่ำไปกว่ามาตรการเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์และวิทยุในช่วงเวลาตีห้าถึงสี่ทุ่ม และ 3.ขอเรียกร้องให้เร่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แถลง “ผลติดตามเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวาระครบรอบ 1 ปี ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551”
ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวว่า ศวส.ได้ติดตามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ 5 ช่อง และหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ ตลอดปี 2551 ซึ่งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ พบว่า มีการโฆษณาในปี 2551 จำนวน 827 ครั้ง คิดเป็นเดือนละ 69 ครั้ง โดยช่วงก่อนบังคับใช้กฎหมายมีโฆษณาเหล้าเฉลี่ย 37.5 ครั้งต่อเดือน เป็นโฆษณาที่เห็นภาพขวด 27 ครั้ง แต่หลังบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น 81.2 ครั้งต่อเดือน มีโฆษณาผิดกฎหมายเห็นภาพขวด 72 ครั้ง
ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเฝ้าระวังทางโทรทัศน์ 5 ช่อง พบว่า มีการโฆษณาทางตรงในลักษณะยิงสปอตโฆษณาที่เห็นภาพขวดผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 36 ครั้ง
“นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาในลักษณะแฝงให้เห็นภาพขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏในรายการต่างๆ เช่น รายการข่าว รายการกีฬา รวมทั้งสิ้นถึง 202 ครั้ง ซึ่งการโฆษณาทั้งแบบตรงและแฝงเหล่านี้ล้วนผิดมาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อครั้งที่กระทำการโฆษณา ดังนั้น หากมีการตรวจจับดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดธุรกิจสุราจะต้องเสียเงินจำนวนมาก” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ ธุรกิจสุราให้ความร่วมมือกับมติ ครม. 29 ก.ค.2546 ที่ห้ามไม่ให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งการให้ปรากฏภาพขวดผลิตภัณฑ์ ภาพตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และ ภาพตราสัญลักษณ์บริษัท ทางวิทยุและโทรทัศน์ระหว่างเวลา 05.00-.22.00 น.แต่การเฝ้าระวังพบปี 2551 มีโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบให้เห็นตราผลิตภัณฑ์และตราบริษัทก่อนเวลาดังกล่าว จำนวน 42 และ 122 ครั้งต่อสัปดาห์ตามลำดับ
ขณะที่ในปี 2550 มีเพียง 4.5 และ 8.3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น การโฆษณาตราผลิตภัณฑ์ในช่วงก่อนตีห้าถึงสี่ทุ่มเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า และ โฆษณาตราบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 15 เท่า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กและเยาวชนดูโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก
“มีงานวิจัยสำรวจ พบว่า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลสัมพันธ์กับความอยากลองดื่มของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า หมายความว่า กลุ่มเด็กที่จดจำโฆษณาได้ จะทำให้อยากลองดื่มมากกว่ากลุ่มที่จำไม่ได้ 4 เท่า จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กำหนดกฎกระทรวงตามมาตรา 32 ให้สามารถควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์และวิทยุไม่ให้โฆษณาในช่วงเวลาตีห้าถึงสี่ทุ่มเช่นเดิม” ร.ท.หญิงจุฑาภรณ์
ด้าน นายธีระ วัชรปราณี ผจก.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ผลสำรวจการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้ายกลางแจ้ง บนถนนสายหลัก อาทิ รามคำแหง ลาดพร้าว เกษตร-นวมินทร์ พลโยธิน วันที่ 12-16 ก.พ. 2552 พบ สถานบันเทิงและร้านค้า ร้านอาหาร รวม 236 ร้าน พบป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น 509 กรณี มีการกระทำผิด 378 กรณี หรือ ร้อยละ 74.26 พบการนำตราสินค้าบนขวดมาเผยแพร่ถึง 21 ยี่ห้อ รูปแบบสื่อโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายมากที่สุด คือ ป้ายตู้ไฟมาก ร้อยละ 52.91 ตามด้วย ธงราว ธงญี่ปุ่น ร้อยละ 21.16 แบนเนอร์ 13.22
น.ส.มนทิรา วิโรจน์อนันต์ เครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า การติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในรอบ 1 ปี พบว่า ยังไม่เคยมีประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติแม้แต่ครั้งเดียว ส่งผลต่อการออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง แต่น่ายินดีว่าระดับจังหวัดคืบหน้าชัดเจน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ที่มีผู้ว่าเป็นประธานครบทั้ง 76 จังหวัด โดย 47 จังหวัด ได้ประชุมและกำหนดแนวทางทำงานแล้ว และคาดว่าภายในเดือนเม.ย.จะครบทั้งประเทศ
“ควรผลักดันให้มีการประกาศ การบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เป็นวาระแห่งชาติ หรือวาระจังหวัด พร้อมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในข้อกฎหมายอย่างลึกซึ้งให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติทั้ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และสร้างกระแสสังคม ให้ประชาชนรับรู้ เพื่อให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดกฎหมายเนื่องด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์”น.ส.มณทิรา กล่าว
รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เพื่อให้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความศักดิ์สิทธิ์ เครือข่ายฯ จึงขอเสนอดังนี้ 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตรวจจับดำเนินคดีโดยเคร่งครัด และรวดเร็ว การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเห็นภาพขวดผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบเต็มหรือบางส่วนของขวด หรือบรรจุภัณฑ์ ต้องหมดไปจากทุกสื่อโฆษณา 2.คณะกรรมการรนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ต้องกำหนดกฎกระทรวงตามมาตรา 32 ให้มีมาตรการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ต่ำไปกว่ามาตรการเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์และวิทยุในช่วงเวลาตีห้าถึงสี่ทุ่ม และ 3.ขอเรียกร้องให้เร่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป