วธ.ผุด 3 โครงการแก้ปัญหาชาวเล ทุ่มงบ 160 ล้าน ตั้ง “อันดามันเซ็นเตอร์” เป็นศูนย์ศึกษาและจัดแสดงวิถีชีวิตชาวเลฝั่งอันดามัน
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาวิถีชีวิตชาวเล ประกอบด้วย ชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ที่เหลือในประเทศไทยเพียง 10,000 คน สูญหาย ว่า ตนได้นำเสนอปัญหานี้ต่อที่ประชุมเกี่ยวกับอนุสัญญาคุ้มครองความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้รับทราบปัญหาของชนกลุ่มน้อย ว่า ขณะนี้ประเพณี วิถีชีวิต และภาษาเริ่มหายไปพร้อมความทันสมัยที่มากับสังคมโลกาภิวัตน์ ความช่วยเหลือของ วธ.ที่ชัดเจนเกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิในแถบ 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน จึงได้จัดตั้ง 3 โครงการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือชาวเล ดังนี้ 1.จัดซื้อเรือ 2 ลำที่ถูกคลื่นสึนามิพัดมาเกยตื้นที่บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ และวิธีป้องกันตัวเองจากคลื่นยักษ์
2.จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ให้กับชาวมอแกน ที่เกาะพระทอง จ.พังงา เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์วิถีชีวิตของชาวมอแกน บริหารจัดการโดยชาวบ้านร่วมกับทางจังหวัด โดยมีนักวิชาการจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นพี่เลี้ยงและทำวิจัยเสนอแนวทางการอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวเล 3.จัดตั้งโครงอันดามันเซ็นเตอร์ ที่พังงา เป็นศูนย์ศึกษาและจัดแสดงวิถีชีวิตชาวเลฝั่งอันดามันทั้งหมด ถือเป็นศูนย์ศึกษาด้านนี้ที่ใหญ่ที่สุดด้วยงบประมาณ 160 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและก่อสร้าง
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตมีชุมชนชาวเลทั้งหมด 5 แห่ง ประมาณ 5,000 คน การแก้ปัญหาให้กับชาวเลนั้นทางวัฒนธรรมจังหวัดได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 สนับสนุนเชิงวัฒนธรรมต่างๆ ส่วนองค์กรระดับท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการขับเคลื่อนจังหวัดดูแลนโยบายเอง มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดและอำเภอคอยแก้ปัญหาเร่งด่วนคือ ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้ชาวเล ปัญหาเรื่องไร้สัญชาติ ไม่มีบัตรประชาชน ทำให้การดำเนินการด้านอื่นๆ ติดขัดไปด้วย เช่น ชาวเลขอน้ำประปาไม่ได้
ด้านนายสรุเดช ฉายะเกษตริน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ทางแก้ปัญหาควรมีสำนักชาติพันธุ์ เป็นสำนักที่ดูแลชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย กรรมการแก้ไขปัญการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) และควรมีนโยบายแก้ปัญหานี้เฉพาะ รัฐบาลควรมีนโยบายที่มั่นคงเป็นนโยบายของชาติจริงๆ จะทำอย่างไรที่นโยบายนี้ยังคงอยู่ หลังจากที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล และเห็นด้วยกับการตั้งกรรมการระดับจังหวัด มีการวางแผนร่วมกัน เห็นความสำคัญของฝ่ายปกครองที่ต้องเป็นหลักในพื้นที่ การแก้ปัญหาจะเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ต้องมีการร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่ายถึงจะแก้ปัญหาชาวเลได้อย่างจริงจัง
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาวิถีชีวิตชาวเล ประกอบด้วย ชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ที่เหลือในประเทศไทยเพียง 10,000 คน สูญหาย ว่า ตนได้นำเสนอปัญหานี้ต่อที่ประชุมเกี่ยวกับอนุสัญญาคุ้มครองความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้รับทราบปัญหาของชนกลุ่มน้อย ว่า ขณะนี้ประเพณี วิถีชีวิต และภาษาเริ่มหายไปพร้อมความทันสมัยที่มากับสังคมโลกาภิวัตน์ ความช่วยเหลือของ วธ.ที่ชัดเจนเกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิในแถบ 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน จึงได้จัดตั้ง 3 โครงการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือชาวเล ดังนี้ 1.จัดซื้อเรือ 2 ลำที่ถูกคลื่นสึนามิพัดมาเกยตื้นที่บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ และวิธีป้องกันตัวเองจากคลื่นยักษ์
2.จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ให้กับชาวมอแกน ที่เกาะพระทอง จ.พังงา เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์วิถีชีวิตของชาวมอแกน บริหารจัดการโดยชาวบ้านร่วมกับทางจังหวัด โดยมีนักวิชาการจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นพี่เลี้ยงและทำวิจัยเสนอแนวทางการอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวเล 3.จัดตั้งโครงอันดามันเซ็นเตอร์ ที่พังงา เป็นศูนย์ศึกษาและจัดแสดงวิถีชีวิตชาวเลฝั่งอันดามันทั้งหมด ถือเป็นศูนย์ศึกษาด้านนี้ที่ใหญ่ที่สุดด้วยงบประมาณ 160 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและก่อสร้าง
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตมีชุมชนชาวเลทั้งหมด 5 แห่ง ประมาณ 5,000 คน การแก้ปัญหาให้กับชาวเลนั้นทางวัฒนธรรมจังหวัดได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 สนับสนุนเชิงวัฒนธรรมต่างๆ ส่วนองค์กรระดับท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการขับเคลื่อนจังหวัดดูแลนโยบายเอง มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดและอำเภอคอยแก้ปัญหาเร่งด่วนคือ ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้ชาวเล ปัญหาเรื่องไร้สัญชาติ ไม่มีบัตรประชาชน ทำให้การดำเนินการด้านอื่นๆ ติดขัดไปด้วย เช่น ชาวเลขอน้ำประปาไม่ได้
ด้านนายสรุเดช ฉายะเกษตริน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ทางแก้ปัญหาควรมีสำนักชาติพันธุ์ เป็นสำนักที่ดูแลชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย กรรมการแก้ไขปัญการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) และควรมีนโยบายแก้ปัญหานี้เฉพาะ รัฐบาลควรมีนโยบายที่มั่นคงเป็นนโยบายของชาติจริงๆ จะทำอย่างไรที่นโยบายนี้ยังคงอยู่ หลังจากที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล และเห็นด้วยกับการตั้งกรรมการระดับจังหวัด มีการวางแผนร่วมกัน เห็นความสำคัญของฝ่ายปกครองที่ต้องเป็นหลักในพื้นที่ การแก้ปัญหาจะเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ต้องมีการร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่ายถึงจะแก้ปัญหาชาวเลได้อย่างจริงจัง