รองปลัด วธ.โต้ เลขาธิการ กวช.ไม่ได้ยื้อกฏกระทรวง ประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ทำรัฐสูญเงินเกือบ 4 ล้านบาทต่อปี จวกที่ผ่านมา “ปรีชา” มอบหมายอะไรให้ก็ไม่ทำ จี้ให้รับผิดชอบ แฉอาจมาจากโผโยกย้ายซี 10 เป็นเหตุ
เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2552 ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายสมชาย เสียงหลาย รองปลัด วธ.ในฐานะประธานยกร่างกฎกระทรวง กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อ้างถึงสำนักปลัด วธ.ผู้รับผิดชอบการยกร่างกฎกระทรวง ประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ล่าช้า ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้เกือบ 4 ล้านบาทต่อปีนั้น ตนเห็นว่า การจัดทำร่างกฏกระทรวงไม่มีความล่าช้าแต่อย่างใด เพราะขณะนี้ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวิดีทัศน์ ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.เรียบร้อยแล้ว ส่วนกฎกระทรวงอีก 4 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับประกอบกิจการภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดประเภทภาพยนตร์ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจกรรมโรงภาพยนตร์ และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการร้านวิดีทัศน์ วธ.ได้เสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว คาดว่า จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 ก.พ.นี้
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา วธ.ได้ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เสนอ ครม.ตั้งแต่สมัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็น รมว.วธ.ขณะนั้น แต่ นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ได้ยับยั้งไม่เห็นด้วย เนื่องจากให้เหตุผลว่า ควรจะมีการเสนอให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ พิจารณาก่อน ส่งผลให้เกิดความล่าช้า เพราะเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านรัฐบาล จึงทำให้คณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการได้
นอกจากนี้ การออกกฏกระทรวง ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ นั้น บทเฉพาะกาลกำหนดว่าจะต้องให้เสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ จึงจะครบกำหนด ในขณะเดียวกัน เลขาธิการ กวช.ยังได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการนำกฎหมายเก่ามาใช้ในบางมาตรา ซึ่งทางกฤษฎีกาไม่อนุญาตให้ใช้ จึงทำให้เกิดปัญหาความล่าช้า โดย นายปรีชา ไม่เคยรายงานถึงการดำเนินงานของ สวช.มายังสำนักปลัด วธ.แม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้น นายปรีชา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
“การดำเนินงานไม่ได้ล่าช้าที่กระทรวง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเขาอาจจะร้อนที่และมีสิ่งบอกเหตุ เพราะจะมีการโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 ของกระทรวงที่จะเข้า ครม.ในวันที่ 3 ก.พ.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาการที่นายปรีชาทำอะไร ไม่เคยให้เกียรติ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ.แม้แต่มอบหมายงานให้ สวช.ไปทำก็ไม่เคยดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมผู้ประกอบการที่นำภาพยนตร์มาฉายทางโทรทัศน์เพื่อกำหนดเรตติ้ง และการกำหนดสัดส่วนภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ ก็ไม่ทำ และไม่มีการแจ้งเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น ส่งผลให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติดำเนินการอะไรไม่ได้”รองปลัด วธ.กล่าว
ด้านนายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การทำงานของสำนักปลัด วธ.ไม่ได้มีความล่าช้า เพราะขณะนี้ตนได้เร่งผลัดดันกฎกระทรวง ร่างกฎกระทรวง 4 ฉบับ ต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งตนจะผลักดันร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สามารถประกาศใช้ได้ภายในกลางปี 2552
เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2552 ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายสมชาย เสียงหลาย รองปลัด วธ.ในฐานะประธานยกร่างกฎกระทรวง กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อ้างถึงสำนักปลัด วธ.ผู้รับผิดชอบการยกร่างกฎกระทรวง ประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ล่าช้า ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้เกือบ 4 ล้านบาทต่อปีนั้น ตนเห็นว่า การจัดทำร่างกฏกระทรวงไม่มีความล่าช้าแต่อย่างใด เพราะขณะนี้ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวิดีทัศน์ ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.เรียบร้อยแล้ว ส่วนกฎกระทรวงอีก 4 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับประกอบกิจการภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดประเภทภาพยนตร์ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจกรรมโรงภาพยนตร์ และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการร้านวิดีทัศน์ วธ.ได้เสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว คาดว่า จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 ก.พ.นี้
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา วธ.ได้ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เสนอ ครม.ตั้งแต่สมัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็น รมว.วธ.ขณะนั้น แต่ นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ได้ยับยั้งไม่เห็นด้วย เนื่องจากให้เหตุผลว่า ควรจะมีการเสนอให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ พิจารณาก่อน ส่งผลให้เกิดความล่าช้า เพราะเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านรัฐบาล จึงทำให้คณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการได้
นอกจากนี้ การออกกฏกระทรวง ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ นั้น บทเฉพาะกาลกำหนดว่าจะต้องให้เสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ จึงจะครบกำหนด ในขณะเดียวกัน เลขาธิการ กวช.ยังได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการนำกฎหมายเก่ามาใช้ในบางมาตรา ซึ่งทางกฤษฎีกาไม่อนุญาตให้ใช้ จึงทำให้เกิดปัญหาความล่าช้า โดย นายปรีชา ไม่เคยรายงานถึงการดำเนินงานของ สวช.มายังสำนักปลัด วธ.แม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้น นายปรีชา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
“การดำเนินงานไม่ได้ล่าช้าที่กระทรวง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเขาอาจจะร้อนที่และมีสิ่งบอกเหตุ เพราะจะมีการโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 ของกระทรวงที่จะเข้า ครม.ในวันที่ 3 ก.พ.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาการที่นายปรีชาทำอะไร ไม่เคยให้เกียรติ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ.แม้แต่มอบหมายงานให้ สวช.ไปทำก็ไม่เคยดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมผู้ประกอบการที่นำภาพยนตร์มาฉายทางโทรทัศน์เพื่อกำหนดเรตติ้ง และการกำหนดสัดส่วนภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ ก็ไม่ทำ และไม่มีการแจ้งเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น ส่งผลให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติดำเนินการอะไรไม่ได้”รองปลัด วธ.กล่าว
ด้านนายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การทำงานของสำนักปลัด วธ.ไม่ได้มีความล่าช้า เพราะขณะนี้ตนได้เร่งผลัดดันกฎกระทรวง ร่างกฎกระทรวง 4 ฉบับ ต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งตนจะผลักดันร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สามารถประกาศใช้ได้ภายในกลางปี 2552