พม.ชี้เหตุโจ๋ก่อเหตุทะเลาะวิวาทเพราะซึมชับความโหดร้ายจากสังคม-การเมือง วอนสื่อทีวีอย่าเสนอภาพโหดซ้ำไปซ้ำมา แนะให้เซ็นเซอร์หรือมีตัววิ่งเตือนขณะเสนอข่าวความรุนแรง ด้าน กก.คุ้มครองเด็กฯ ชี้โจ๋ไทยหมกมุ่นกับตัวเองมากเกินไป ขาดทักษะทางสังคม
วันนี้ (27 ม.ค.) นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีวัยรุ่น15 คนยกพวกรุมทำร้าย วัยรุ่นเพียงคนเดียวหน้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ตลาดหัวรอ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่าช่วงนี้มีข่าววัยรุ่นทะเลาะวิวาทถึงขั้นยิงกันจนล่าสุดวัยรุ่น 15 คนไปรุมตีวัยรุ่นคนเดียว ซึ่งเป็นเหมือนเทศกาลการก่อเหตุของเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาเดิมๆ ที่เกิดจากหลายเหตุผล ทั้งการถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องในเรื่องของศักดิ์ศรี และพบว่าการทำร้ายกันมีทั้งที่เป็นคู่อริกันมาก่อนและไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็เกิดเรื่องได้ ความรุนแรงที่เด็กกระทำต่อกัน
โดยเฉพาะจากเหตุการณ์รุมตีกันล่าสุด เกิดจากความรุนแรงโหดร้ายที่ซึมอยู่ในตัววัยรุ่นที่มากขึ้นทุกวัน จากสภาพแวดล้อมความรุนแรงในสังคมไทย ยิ่งปีที่ผ่านมายิ่งมีภาพความขัดแย้งใช้ความรุนแรงเข้าหากันของคนในสังคมอย่างเด่นชัดในแวดวงการเมือง ทั้งการแบ่งแยกฝักฝ่าย แบ่งสี การใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ใช้ความรุนแรงทำร้ายกัน ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ทำเรื่องดังกล่าวทำเป็นปกติทำให้เด็กซึมซับตาม ส่วนการเลียนแบบความรุนแรงจากเกมมีบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด
“เด็กไทยวันนี้ขาดภูมิคุ้มกันขั้นรุนแรง แยกแยะไม่ได้ระหว่างความเป็นคนมีชีวิตจิตใจมองเห็นสิ่งถูกต้องกับกระแสเลียนแบบพวกมากลากไป เด็กห่างไกลและเชื่อพ่อแม่และครูบาอาจารย์น้อยกว่าเชื่อเพื่อนทั้งในโรงเรียนและในชุมชน สังคมต้องสร้างระบบรองรับครอบครัวและสถาบันการศึกษาที่อ่อนแอ ต้องปลูกฝังเด็กเยาวชนให้เรียนรู้เรื่องสันติ ให้เข้าถึงการแก้ปัญหาอย่างสันติให้ได้” ผู้ตรวจราชการ พม.กล่าว
นายสมชาย กล่าวต่อว่า อยากขอร้องสื่อโดยเฉพาะทีวีที่มักนำเสนอภาพความรุนแรงอย่างชัดเจนไม่มีการเซ็นเซอร์ภาพ พร้อมทั้งนำมาฉายซ้ำออกทุกช่วงที่มีการเสนอข่าว ล่าสุดก็นำภาพวัยรุ่น 15 คนรุมตีเด็กวัยรุ่นคนเดียวมาออกซ้ำอีก ซึ่งสื่อต้องช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำเพราะมีผลให้เด็กไปเลียนแบบได้ เสนอภาพให้ปรากฏเป็นข่าวได้แต่ควรเซ็นเซอร์ส่วนที่เป็นความรุนแรง และมีตัววิ่งขณะเสนอข่าวด้วยว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เหมาะสมไม่ควรกระทำเพราะผิดกฎหมาย
ด้าน นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า กรณีวัยรุ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันมีมากและทวีรูปแบบความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปัจจัยเดียว คือ วัยรุ่นไทยขาดทักษะทางสังคม จนคิดมองคนอื่นในแง่ร้าย หวาดระแวงคนอื่นคิดร้ายกับตน ซึ่งการที่เด็กขาดทักษะทางสังคม เป็นผลมาจากพ่อแม่ในปัจจุบันขาดทักษะการเป็นพ่อแม่ ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูกในส่วนนี้ ขณะที่ครูใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบธุรกิจส่วนตัว จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงสังสรรค์กับเด็ก เด็กจึงขาดการเรียนรู้กับผู้อื่นในสังคม
นายสรรพสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ พ่อแม่ควรจะแนะนำทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมให้กับลูก โดยเฉพาะขอบเขตทางร่างกายในการกระทำต่อผู้อื่น เช่น หากจะออกเดทหรือคบหากับคนรุ่นเดียว ควรจะแนะนำระยะห่างทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมให้กับลูก รวมทั้ง ควรสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือหรือบริการให้กับผู้อื่น ซึ่งการที่เขาได้รับการยกย่องนับถือจากบุคคลที่เขาให้ความช่วยเหลือจะช่วยสร้างความภาคภูมิใจ ปลูกฝังให้เขารู้จักที่จะนึกถึงคนอื่นมากกว่าการนึกถึงแต่ตนเอง จะช่วนยให้ปัญหาการใช้ความรุนแรงและก้าวร้าวต่อผู้อื่นลดลงได้มาก นอกจากนี้ ต้องให้พวกเขามีกิจกรรมอื่นๆทำเพื่อพักผ่อนมากกว่าการจมอยู่กับความคิดของตนเอง เช่น กีฬา ดนตรี หรือบันเทิงอื่นๆ
“เด็กวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่รุนแรงก้าวร้าวโดยธรรมชาติ เพราะฮอร์โมนเพศที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมเหมือนสัตว์ที่จ้องทำร้ายผู้อื่นเพื่อหาคู่หรือผสมพันธุ์ หากพ่อแม่ไม่ใช้เวลาอยู่กับลูกในการชี้แนะสิ่งที่ถูกต้อง เขาก็จะใช้เวลากับตัวเองมากจนเกินไป ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เมื่อเห็นใครมีกิริยา ท่าทางไม่ตรงกับที่ตนคาด ก็คิดไปว่าคนนั้นคิดร้ายกับตน ทั้งที่บางครั้งคนคนนั้นอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่เป็นการมองผ่านเราไปเฉยๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น วัยรุ่นหากสงสัยในพฤติกรรมของคนอื่นควรสอบถามกันดีๆ ไม่ควรตัดสินเองแล้วลงมือทำร้ายคนอื่น หรือถ้าคนคนนั้นไม่ใช่เพื่อนเราก็อย่าไปสนใจพฤติกรรมเขา หากคิดแบบนี้จะทำให้วัยรุ่นชะลออารมณ์รุนแรงลงได้มาก” คกก.คุ้มครองเด็กฯ กล่าว
วันนี้ (27 ม.ค.) นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีวัยรุ่น15 คนยกพวกรุมทำร้าย วัยรุ่นเพียงคนเดียวหน้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ตลาดหัวรอ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่าช่วงนี้มีข่าววัยรุ่นทะเลาะวิวาทถึงขั้นยิงกันจนล่าสุดวัยรุ่น 15 คนไปรุมตีวัยรุ่นคนเดียว ซึ่งเป็นเหมือนเทศกาลการก่อเหตุของเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาเดิมๆ ที่เกิดจากหลายเหตุผล ทั้งการถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องในเรื่องของศักดิ์ศรี และพบว่าการทำร้ายกันมีทั้งที่เป็นคู่อริกันมาก่อนและไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็เกิดเรื่องได้ ความรุนแรงที่เด็กกระทำต่อกัน
โดยเฉพาะจากเหตุการณ์รุมตีกันล่าสุด เกิดจากความรุนแรงโหดร้ายที่ซึมอยู่ในตัววัยรุ่นที่มากขึ้นทุกวัน จากสภาพแวดล้อมความรุนแรงในสังคมไทย ยิ่งปีที่ผ่านมายิ่งมีภาพความขัดแย้งใช้ความรุนแรงเข้าหากันของคนในสังคมอย่างเด่นชัดในแวดวงการเมือง ทั้งการแบ่งแยกฝักฝ่าย แบ่งสี การใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ใช้ความรุนแรงทำร้ายกัน ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ทำเรื่องดังกล่าวทำเป็นปกติทำให้เด็กซึมซับตาม ส่วนการเลียนแบบความรุนแรงจากเกมมีบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด
“เด็กไทยวันนี้ขาดภูมิคุ้มกันขั้นรุนแรง แยกแยะไม่ได้ระหว่างความเป็นคนมีชีวิตจิตใจมองเห็นสิ่งถูกต้องกับกระแสเลียนแบบพวกมากลากไป เด็กห่างไกลและเชื่อพ่อแม่และครูบาอาจารย์น้อยกว่าเชื่อเพื่อนทั้งในโรงเรียนและในชุมชน สังคมต้องสร้างระบบรองรับครอบครัวและสถาบันการศึกษาที่อ่อนแอ ต้องปลูกฝังเด็กเยาวชนให้เรียนรู้เรื่องสันติ ให้เข้าถึงการแก้ปัญหาอย่างสันติให้ได้” ผู้ตรวจราชการ พม.กล่าว
นายสมชาย กล่าวต่อว่า อยากขอร้องสื่อโดยเฉพาะทีวีที่มักนำเสนอภาพความรุนแรงอย่างชัดเจนไม่มีการเซ็นเซอร์ภาพ พร้อมทั้งนำมาฉายซ้ำออกทุกช่วงที่มีการเสนอข่าว ล่าสุดก็นำภาพวัยรุ่น 15 คนรุมตีเด็กวัยรุ่นคนเดียวมาออกซ้ำอีก ซึ่งสื่อต้องช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำเพราะมีผลให้เด็กไปเลียนแบบได้ เสนอภาพให้ปรากฏเป็นข่าวได้แต่ควรเซ็นเซอร์ส่วนที่เป็นความรุนแรง และมีตัววิ่งขณะเสนอข่าวด้วยว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เหมาะสมไม่ควรกระทำเพราะผิดกฎหมาย
ด้าน นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า กรณีวัยรุ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันมีมากและทวีรูปแบบความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปัจจัยเดียว คือ วัยรุ่นไทยขาดทักษะทางสังคม จนคิดมองคนอื่นในแง่ร้าย หวาดระแวงคนอื่นคิดร้ายกับตน ซึ่งการที่เด็กขาดทักษะทางสังคม เป็นผลมาจากพ่อแม่ในปัจจุบันขาดทักษะการเป็นพ่อแม่ ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูกในส่วนนี้ ขณะที่ครูใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบธุรกิจส่วนตัว จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงสังสรรค์กับเด็ก เด็กจึงขาดการเรียนรู้กับผู้อื่นในสังคม
นายสรรพสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ พ่อแม่ควรจะแนะนำทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมให้กับลูก โดยเฉพาะขอบเขตทางร่างกายในการกระทำต่อผู้อื่น เช่น หากจะออกเดทหรือคบหากับคนรุ่นเดียว ควรจะแนะนำระยะห่างทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมให้กับลูก รวมทั้ง ควรสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือหรือบริการให้กับผู้อื่น ซึ่งการที่เขาได้รับการยกย่องนับถือจากบุคคลที่เขาให้ความช่วยเหลือจะช่วยสร้างความภาคภูมิใจ ปลูกฝังให้เขารู้จักที่จะนึกถึงคนอื่นมากกว่าการนึกถึงแต่ตนเอง จะช่วนยให้ปัญหาการใช้ความรุนแรงและก้าวร้าวต่อผู้อื่นลดลงได้มาก นอกจากนี้ ต้องให้พวกเขามีกิจกรรมอื่นๆทำเพื่อพักผ่อนมากกว่าการจมอยู่กับความคิดของตนเอง เช่น กีฬา ดนตรี หรือบันเทิงอื่นๆ
“เด็กวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่รุนแรงก้าวร้าวโดยธรรมชาติ เพราะฮอร์โมนเพศที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมเหมือนสัตว์ที่จ้องทำร้ายผู้อื่นเพื่อหาคู่หรือผสมพันธุ์ หากพ่อแม่ไม่ใช้เวลาอยู่กับลูกในการชี้แนะสิ่งที่ถูกต้อง เขาก็จะใช้เวลากับตัวเองมากจนเกินไป ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เมื่อเห็นใครมีกิริยา ท่าทางไม่ตรงกับที่ตนคาด ก็คิดไปว่าคนนั้นคิดร้ายกับตน ทั้งที่บางครั้งคนคนนั้นอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่เป็นการมองผ่านเราไปเฉยๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น วัยรุ่นหากสงสัยในพฤติกรรมของคนอื่นควรสอบถามกันดีๆ ไม่ควรตัดสินเองแล้วลงมือทำร้ายคนอื่น หรือถ้าคนคนนั้นไม่ใช่เพื่อนเราก็อย่าไปสนใจพฤติกรรมเขา หากคิดแบบนี้จะทำให้วัยรุ่นชะลออารมณ์รุนแรงลงได้มาก” คกก.คุ้มครองเด็กฯ กล่าว