รมว.แรงงาน ไม่รับลูก “อภิสิทธิ์” งดเก็บเงินสมทบลูกจ้าง เผย เตรียมลดเงินสมทบลูกจ้าง นายจ้าง ร้อยละ 1.5 แทน ยืนยันได้ประโยชน์รักษาเงินกองทุนได้ปีละ 20,000 ล้านบาท พร้อมเสนอ 18 โครงการ 5,200 ล้านบาท แก้ปัญหาว่างงาน พรุ่งนี้
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะออกมาตรการรับภาระจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง ว่า จากการรายงานการศึกษาของนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจเกิดปัญหา เช่น กระทบต่อการใช้สิทธิประโยชน์ เงินกองทุนประกันสังคมในอนาคต ที่จะต้องจ่ายกรณีชราภาพ กระทบต่อระบบเงินลงทุน และเงินสมทบ และปัญหาการเป็นสมาชิกภาพของผู้ประกันตน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ได้ให้นโยบายกับคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) พิจารณาปรับลดเงินสมทบให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง โดยจากการศึกษาและนำเสนอของ สปส.จะทำการปรับลดเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างลงร้อยละ 1.5 จากที่เคยจ่ายร้อยละ 5 เหลือเพียงร้อยละ 3.5 โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี
“คิดง่ายๆ สมมติว่า จะมีผู้ตกงานจำนวน 1 ล้านคน สปส.จะต้องสูญเงินที่ผู้ประกันตนส่งสมทบเข้ากองทุนปีละ 11,475 ล้านบาท รวมทั้งต้องจ่ายเงินกรณีประกันการว่างงานอีก 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกองทุนจะขาดรายได้ไปปีละ 41,475 ล้านบาท แต่หากดำเนินการลดเงินสมทบนายจ้างและลูกจ้าง ฝ่ายละร้อยละ 1.5 แม้จะทำให้เสียเงินกองทุนไปประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่จะช่วยรักษาคนงาน 1 ล้านคน ไม่ให้ตกงานด้วย ซึ่งยังถือว่ากำไรอีกเกือบ 20,000 ล้านบาท” นายไพฑูรย์ กล่าว
นายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวขึ้นกับบอร์ด สปส.ซึ่งคาดว่า จะมีการนำไปพิจารณาในที่ประชุมในวันที่ 20 ม.ค.นี้ หากบอร์ดเห็นชอบแล้วก็อาจจะแก้กฎหมายประกันสังคม และนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไป โดยอาจจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เดือน ม.ค.2552 อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (13 ม.ค.) กระทรวงแรงงานจะนำเสนอ 18 โครงการ งบประมาณ 5,200 ล้านบาท เข้าที่ประชุม ครม.ซึ่งอาจจะมีการพิจารณานำเงินจำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพลูกจ้างผู้ประกันตนรายละ 2,000 บาท
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะออกมาตรการรับภาระจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง ว่า จากการรายงานการศึกษาของนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจเกิดปัญหา เช่น กระทบต่อการใช้สิทธิประโยชน์ เงินกองทุนประกันสังคมในอนาคต ที่จะต้องจ่ายกรณีชราภาพ กระทบต่อระบบเงินลงทุน และเงินสมทบ และปัญหาการเป็นสมาชิกภาพของผู้ประกันตน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ได้ให้นโยบายกับคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) พิจารณาปรับลดเงินสมทบให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง โดยจากการศึกษาและนำเสนอของ สปส.จะทำการปรับลดเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างลงร้อยละ 1.5 จากที่เคยจ่ายร้อยละ 5 เหลือเพียงร้อยละ 3.5 โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี
“คิดง่ายๆ สมมติว่า จะมีผู้ตกงานจำนวน 1 ล้านคน สปส.จะต้องสูญเงินที่ผู้ประกันตนส่งสมทบเข้ากองทุนปีละ 11,475 ล้านบาท รวมทั้งต้องจ่ายเงินกรณีประกันการว่างงานอีก 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกองทุนจะขาดรายได้ไปปีละ 41,475 ล้านบาท แต่หากดำเนินการลดเงินสมทบนายจ้างและลูกจ้าง ฝ่ายละร้อยละ 1.5 แม้จะทำให้เสียเงินกองทุนไปประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่จะช่วยรักษาคนงาน 1 ล้านคน ไม่ให้ตกงานด้วย ซึ่งยังถือว่ากำไรอีกเกือบ 20,000 ล้านบาท” นายไพฑูรย์ กล่าว
นายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวขึ้นกับบอร์ด สปส.ซึ่งคาดว่า จะมีการนำไปพิจารณาในที่ประชุมในวันที่ 20 ม.ค.นี้ หากบอร์ดเห็นชอบแล้วก็อาจจะแก้กฎหมายประกันสังคม และนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไป โดยอาจจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เดือน ม.ค.2552 อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (13 ม.ค.) กระทรวงแรงงานจะนำเสนอ 18 โครงการ งบประมาณ 5,200 ล้านบาท เข้าที่ประชุม ครม.ซึ่งอาจจะมีการพิจารณานำเงินจำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพลูกจ้างผู้ประกันตนรายละ 2,000 บาท