สปส.ชี้แจงการลงทุนในหุ้นไทยธนาคารชี้เป็นเรื่องในอดีตตั้งแต่ปี 2549 ยืนยันไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมเตรียมหารือกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อขายหุ้นไปให้กับ ธนาคาร CIMB ของมาเลเซียพร้อมๆกัน ระบุขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด พร้อมเผยการลงทุนหุ้นช่วงที่ผ่านมา เลือกเข้าไปลงทุนเพียง 70 บริษัท โดย 5 อันดับแรกที่สูงสุด ยังคงเป็น ปตท. ,ธนาคารไทยพาณชย์ , ปูนซิ บมจ.เมนต์ไทย ,ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ ธนาคารกรุงเทพ
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำหรับข่าวที่ลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ลงทุนซื้อหุ้นธนาคารไทยธนาคาร เพื่อจัดตั้งธนาคารแรงงาน จำนวน 63 ล้านหุ้น หรือราคาเฉลี่ยหุ้นละ 7.59 บาท ตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมไม่ได้นิ่งนอนและหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งได้ความชัดเจนว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะขายหุ้นไทยธนาคารให้กับธนาคาร CIMB ของประเทศมาเลเซีย สำนักงานประกันสังคมจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา และคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และเห็นสมควรหารือกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขายหุ้นไทยธนาคารให้ CIMB ไปพร้อมๆ กัน
สำหรับหลักเกณฑ์การลงทุนในหุ้นช่วงที่ผ่านมาของสำนักงานประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ 8.78% คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ที่ให้ลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 20% ของเงินกองทุน นับตั้งแต่เริ่มลงทุนในหุ้น กองทุนได้รับผลกำไรจากการลงทุนมาโดยตลอด โดยในครึ่งปีแรกของปี 2551 กองทุนได้รับผลตอบแทนจากหุ้น 1,747 ล้านบาท จากผลตอบแทนรวม 12,285 ล้านบาท
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในฐานะนักลงทุนสถาบัน สำนักงานประกันสังคมตระหนักดีว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด คัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากธนาคารและพันธบัตรมาก ซึ่งกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต
ทั้งนี้ในแต่ละปี คณะกรรมการประกันสังคมจะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้ (Stock Universe) โดยพิจารณาคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเกือบ 500 บริษัท จะถูกคัดเลือกให้เหลือหุ้นที่ลงทุนได้เพียงประมาณ 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสำนักงานจะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัท โดยการเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดจะเป็นไปตามราคาและภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงตามที่ได้วางกลยุทธ์การลงทุนไว้ ทั้งนี้ หากมีหุ้นที่น่าสนใจลงทุนแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อหุ้นที่ลงทุนได้ สำนักงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมเป็นรายกรณี
โดยจากหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดข้างต้น ทำให้สำนักงานมีการลงทุนเฉพาะในหุ้นที่มีความมั่นคงและมีปัจจัยพื้นฐานดีเท่านั้น โดยหุ้นสามัญที่กองทุนประกันสังคมลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท. ปตท. จำกัด (มหาชน) , ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำหรับข่าวที่ลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ลงทุนซื้อหุ้นธนาคารไทยธนาคาร เพื่อจัดตั้งธนาคารแรงงาน จำนวน 63 ล้านหุ้น หรือราคาเฉลี่ยหุ้นละ 7.59 บาท ตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมไม่ได้นิ่งนอนและหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งได้ความชัดเจนว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะขายหุ้นไทยธนาคารให้กับธนาคาร CIMB ของประเทศมาเลเซีย สำนักงานประกันสังคมจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา และคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และเห็นสมควรหารือกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขายหุ้นไทยธนาคารให้ CIMB ไปพร้อมๆ กัน
สำหรับหลักเกณฑ์การลงทุนในหุ้นช่วงที่ผ่านมาของสำนักงานประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ 8.78% คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ที่ให้ลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 20% ของเงินกองทุน นับตั้งแต่เริ่มลงทุนในหุ้น กองทุนได้รับผลกำไรจากการลงทุนมาโดยตลอด โดยในครึ่งปีแรกของปี 2551 กองทุนได้รับผลตอบแทนจากหุ้น 1,747 ล้านบาท จากผลตอบแทนรวม 12,285 ล้านบาท
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในฐานะนักลงทุนสถาบัน สำนักงานประกันสังคมตระหนักดีว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด คัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากธนาคารและพันธบัตรมาก ซึ่งกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต
ทั้งนี้ในแต่ละปี คณะกรรมการประกันสังคมจะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้ (Stock Universe) โดยพิจารณาคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเกือบ 500 บริษัท จะถูกคัดเลือกให้เหลือหุ้นที่ลงทุนได้เพียงประมาณ 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสำนักงานจะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัท โดยการเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดจะเป็นไปตามราคาและภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงตามที่ได้วางกลยุทธ์การลงทุนไว้ ทั้งนี้ หากมีหุ้นที่น่าสนใจลงทุนแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อหุ้นที่ลงทุนได้ สำนักงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมเป็นรายกรณี
โดยจากหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดข้างต้น ทำให้สำนักงานมีการลงทุนเฉพาะในหุ้นที่มีความมั่นคงและมีปัจจัยพื้นฐานดีเท่านั้น โดยหุ้นสามัญที่กองทุนประกันสังคมลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท. ปตท. จำกัด (มหาชน) , ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ