“วิทยา” ฟื้นเมดิคอลฮับ หวังโกยเงินเข้าประเทศช่วงเศรษฐกิจทรุด ไอเดียบรรเจิดเปิดช่องแพทย์ต่างชาติทำงานในไทยอุดสมองไหล พร้อมยกระดับสถานีอนามัย เป็น รพ.ตำบล ปรับโฉม รพ.พื้นที่พิเศษเป็นองค์การมหาชน
วันที่ 12 มกราคม นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายศูนย์กลางการแพทย์ หรือ เมดิคัลฮับ เป็นนโยบายรัฐบาลที่เป็นช่องทางหนึ่งในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งมาตรการนี้อาจช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวก็เป็นได้ โดยเบื้องต้นได้หารือกับแพทยสภา เพื่อศึกษาระเบียบข้อบังคับให้แพทย์ชาวต่างประเทศ สามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายเทแพทย์และพยาบาลของรัฐไปสู่เอกชน อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวต้องไม่กระทบสิทธิคนไทยด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีนโยบายที่จะยกระดับสถานีอนามัยทั่วประเทศ 9,762 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง โดย อสม.ทั้งหมดจะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน ขณะเดียวกันจะประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพอแห่งชาติ (สปสช.) ในการดึงคลินิกเอกชนเข้าเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของรัฐมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาโรคพื้นฐานได้ง่าย
“สธ.จะสนับสนุนให้โรงพยาบาลในเขตพื้นที่พิเศษ เช่น จังหวัดที่มีประชากรแฝงจากแรงงานต่างชาติจำนวนมากบริหารงานแบบองค์กรมหาชนอย่าง รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อรองรับความแตกต่างของเมือง พร้อมทั้งประสานงานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้กับเด็กในตำบล อำเภอและจังหวัด จะช่วยแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลน”นายวิทยา กล่าว
วันที่ 12 มกราคม นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายศูนย์กลางการแพทย์ หรือ เมดิคัลฮับ เป็นนโยบายรัฐบาลที่เป็นช่องทางหนึ่งในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งมาตรการนี้อาจช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวก็เป็นได้ โดยเบื้องต้นได้หารือกับแพทยสภา เพื่อศึกษาระเบียบข้อบังคับให้แพทย์ชาวต่างประเทศ สามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายเทแพทย์และพยาบาลของรัฐไปสู่เอกชน อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวต้องไม่กระทบสิทธิคนไทยด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีนโยบายที่จะยกระดับสถานีอนามัยทั่วประเทศ 9,762 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง โดย อสม.ทั้งหมดจะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน ขณะเดียวกันจะประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพอแห่งชาติ (สปสช.) ในการดึงคลินิกเอกชนเข้าเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของรัฐมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาโรคพื้นฐานได้ง่าย
“สธ.จะสนับสนุนให้โรงพยาบาลในเขตพื้นที่พิเศษ เช่น จังหวัดที่มีประชากรแฝงจากแรงงานต่างชาติจำนวนมากบริหารงานแบบองค์กรมหาชนอย่าง รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อรองรับความแตกต่างของเมือง พร้อมทั้งประสานงานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้กับเด็กในตำบล อำเภอและจังหวัด จะช่วยแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลน”นายวิทยา กล่าว