บอร์ด สปสช.เสนองบเหมาจ่ายรายหัวปี 53 เพิ่มเป็น 2,694.43 บาท รองรับเศรษฐกิจถดถอย “วิทยา” ปิ๊ง! บัตรคนไทยใบเดียว รักษาทุกโรงพยาบาลในจังหวัด นำร่อง 4 ภูมิภาครวม 4 จังหวัด เน้นสะดวก-รวดเร็ว พร้อมศึกษาทำระบบฐานข้อมูลประชาชนใหม่
วันที่ 12 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.มอบนโยบายในการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2552 แก่ผู้บริหารระดับสูง สธ.ประกอบด้วย ปลัด สธ.รองปลัด สธ.ผู้ตรวจราชการ สาธารณสุขนิเทศก์ อธิบดีและรองอธิบดี เลขาธิการและรองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก/ศูนย์/สถาบันในสำนักงานปลัด สธ.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ จำนวนกว่า 350 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม นโยบายจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ การจัดบริการให้ประชาชนเข้าถึงสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในโครงการบัตรคนไทยใบเดียว ช่วยให้ประชาชนนำบัตรประชาชนเพียงใบเดียวไปรับบริการและรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดและอนาคตจะขยายให้รักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งได้หารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ดำเนินการนำร่องใน 4 ภูมิภาค รวม 4 จังหวัด ให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อเป็นการศึกษาข้อดี ข้อเสียของการดำเนินโครงการ
“หลายฝ่ายอาจเกรงว่าผู้ป่วยจะเดินผ่านหน้าโรงพยาบาลเล็ก ไปยังโรงพยาบาลใหญ่ แต่ในความเป็นจริง หากเกิดความเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่มีใครอยากจะไปรักษาโรงพยาบาลไกลบ้านแน่นอน เพราะเสียงทั้งค่ารถและต้องรอคิวนาน และทำให้โรงพยาบาลเกิดการแข่งขันการให้บริการของประชาชนด้วย” นายวิทยา กล่าว
วันเดียวกัน ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวิทยา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2553 ว่า ที่ประชุมมีมติจะเสนองบประมาณเหมาจ่ายรายหัวผู้ป่วยบัตรทองปีงบประมาณ 2553 เป็นเงิน 2,694 บาท เพิ่มจากเดิม 500 บาทต่อคนต่อหัว ซึ่งจะนำเข้าที่ประชุม ครม.ในเดือนมีนาคมนี้ โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับเรื่องค่าตอบแทนแพทย์ และสิทธิประโยชน์ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการเพิ่มงบบริหารจัดการ จากเดิมใช้จำนวน 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 งบประมาณปี 2553 จะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งงบบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น จะนำไปใช้เพื่อการศึกษาโครงการการเปลี่ยนระบบเป็นการใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองด้วย ส่วนการของบประมาณกลางปี เพื่อมาดูแลผู้ว่างงานที่ย้ายสิทธิจากประกันสังคม ซึ่งเสนอไว้ 700 ล้านบาทนั้น จะมีการหารืออีกครั้ง โดยจะนำเข้าที่ประชุม ครม.ในเดือนกุมภาพันธ์
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ฐานข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการบัตรคนไทยใบเดียวทำได้จริง คือ ต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลทั้งระบบ มีระบบตรวจสอบสิทธิได้ ว่า ประชาชนมีประวัติการใช้บริการอย่างไร ซ้ำซ้อนหรือไม่ เพื่อป้องกันการใช้สิทธิในการรักษาอย่างพร่ำเพรื่อ ซึ่งทำให้งบประมาณรั่วไหล รวมถึงระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายของโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา มีการตรวจสอบการเบิกจ่ายไม่ถึง 1% จากการเบิกจ่าย 5 ล้านครั้ง เนื่องจากไม่มีงบประมาณและกำลังคน การเพิ่มงบบริหารจัดการ จึงจะนำมาใช้ปรับปรุงในส่วนนี้ด้วย
“สำหรับการทำโครงการนำร่องบัตรคนไทยใบเดียวใน4 จังหวัด การจัดสรรงบประมาณจะทำได้ 2 วิธี คือ การเหมาจ่ายแบบรายจังหวัด หรือ เหมาจ่ายไปยังโรงพยาบาลอำเภอ เพื่อกระจายงบประมาณ ไปสู่โรงพยาบาลชุมชน เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาการกระจุกตัวของการใช้บริการ หรือการใช้บริการข้ามพื้นที่ เพราะโรงพยาบาลชุมชนจะใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า ถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2553 อาทิ การดูแลโรคเบาหวาน ความดัน แบบครบวงจร เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือเรื่องไตวาย ตาบอด และแผลเรื้อรัง จนสูญเสียอวัยวะ และการรักษาโรคราคาแพง เช่น ไต มะเร็ง จะมีการนำเข้าระบบให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น” นพ.วินัย กล่าว
วันที่ 12 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.มอบนโยบายในการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2552 แก่ผู้บริหารระดับสูง สธ.ประกอบด้วย ปลัด สธ.รองปลัด สธ.ผู้ตรวจราชการ สาธารณสุขนิเทศก์ อธิบดีและรองอธิบดี เลขาธิการและรองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก/ศูนย์/สถาบันในสำนักงานปลัด สธ.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ จำนวนกว่า 350 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม นโยบายจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ การจัดบริการให้ประชาชนเข้าถึงสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในโครงการบัตรคนไทยใบเดียว ช่วยให้ประชาชนนำบัตรประชาชนเพียงใบเดียวไปรับบริการและรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดและอนาคตจะขยายให้รักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งได้หารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ดำเนินการนำร่องใน 4 ภูมิภาค รวม 4 จังหวัด ให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อเป็นการศึกษาข้อดี ข้อเสียของการดำเนินโครงการ
“หลายฝ่ายอาจเกรงว่าผู้ป่วยจะเดินผ่านหน้าโรงพยาบาลเล็ก ไปยังโรงพยาบาลใหญ่ แต่ในความเป็นจริง หากเกิดความเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่มีใครอยากจะไปรักษาโรงพยาบาลไกลบ้านแน่นอน เพราะเสียงทั้งค่ารถและต้องรอคิวนาน และทำให้โรงพยาบาลเกิดการแข่งขันการให้บริการของประชาชนด้วย” นายวิทยา กล่าว
วันเดียวกัน ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวิทยา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2553 ว่า ที่ประชุมมีมติจะเสนองบประมาณเหมาจ่ายรายหัวผู้ป่วยบัตรทองปีงบประมาณ 2553 เป็นเงิน 2,694 บาท เพิ่มจากเดิม 500 บาทต่อคนต่อหัว ซึ่งจะนำเข้าที่ประชุม ครม.ในเดือนมีนาคมนี้ โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับเรื่องค่าตอบแทนแพทย์ และสิทธิประโยชน์ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการเพิ่มงบบริหารจัดการ จากเดิมใช้จำนวน 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 งบประมาณปี 2553 จะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งงบบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น จะนำไปใช้เพื่อการศึกษาโครงการการเปลี่ยนระบบเป็นการใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองด้วย ส่วนการของบประมาณกลางปี เพื่อมาดูแลผู้ว่างงานที่ย้ายสิทธิจากประกันสังคม ซึ่งเสนอไว้ 700 ล้านบาทนั้น จะมีการหารืออีกครั้ง โดยจะนำเข้าที่ประชุม ครม.ในเดือนกุมภาพันธ์
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ฐานข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการบัตรคนไทยใบเดียวทำได้จริง คือ ต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลทั้งระบบ มีระบบตรวจสอบสิทธิได้ ว่า ประชาชนมีประวัติการใช้บริการอย่างไร ซ้ำซ้อนหรือไม่ เพื่อป้องกันการใช้สิทธิในการรักษาอย่างพร่ำเพรื่อ ซึ่งทำให้งบประมาณรั่วไหล รวมถึงระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายของโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา มีการตรวจสอบการเบิกจ่ายไม่ถึง 1% จากการเบิกจ่าย 5 ล้านครั้ง เนื่องจากไม่มีงบประมาณและกำลังคน การเพิ่มงบบริหารจัดการ จึงจะนำมาใช้ปรับปรุงในส่วนนี้ด้วย
“สำหรับการทำโครงการนำร่องบัตรคนไทยใบเดียวใน4 จังหวัด การจัดสรรงบประมาณจะทำได้ 2 วิธี คือ การเหมาจ่ายแบบรายจังหวัด หรือ เหมาจ่ายไปยังโรงพยาบาลอำเภอ เพื่อกระจายงบประมาณ ไปสู่โรงพยาบาลชุมชน เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาการกระจุกตัวของการใช้บริการ หรือการใช้บริการข้ามพื้นที่ เพราะโรงพยาบาลชุมชนจะใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า ถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2553 อาทิ การดูแลโรคเบาหวาน ความดัน แบบครบวงจร เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือเรื่องไตวาย ตาบอด และแผลเรื้อรัง จนสูญเสียอวัยวะ และการรักษาโรคราคาแพง เช่น ไต มะเร็ง จะมีการนำเข้าระบบให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น” นพ.วินัย กล่าว