ศธ.เล็งใช้ระบบคูปองการศึกษา หรือบัตรเติมเงินอุดหนุนรายหัวให้เด็กนำไปใช้สมัครเข้าเรียนเอกชน พร้อมเสนอขอวิทยฐานะให้กับครูเอกชนเช่นเดียวกับครูรัฐบาล เตรียมเสนอ รมว.ศธ.คนใหม่กำหนดเป็นเอกสารนโยบาย และมาตรการกระตุ้นการศึกษาเอกชนให้ทันใช้ในปีการศึกษา 2552
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกำหนดนโยบายและทิศทางการจัดการศึกษาเอกชน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การประชุมดังกล่าวเพื่อกำหนดทิศทางและหามาตรการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งร่วมจัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นว่า สัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างรัฐและเอกชน ถือเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่บอกถึงประสิทธิภาพการจัดการศึกษา และเห็นว่าควรเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาโดยหน่วยงานอื่นและโดยเอกชนให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแม้ว่านโยบายของรัฐที่ผ่านมาจะพยายามเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาโดยเอกชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ปวช.ให้อยู่ที่ 30:70 แต่ในภาคปฏิบัติพบว่าสัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างเอกชนและรัฐอยู่ที่ 19:81 เท่านั้น
“ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งการให้ภาคเอกชนมาช่วยจัดการศึกษานั้น เป็นการช่วยรัฐแบ่งเบาการจัดการศึกษา อีกทั้งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาลสามารถจัดการศึกษาได้มีประสิทธิภาพโดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น แต่เมื่อคิดถึงต้นทุนในการจัดการศึกษาพบว่าโรงเรียนเอกชนใช้งบประมาณในการจัดการศึกษาน้อยกว่าโรงเรียนของรัฐบาล” ปลัด ศธ.กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับระบบการอุดหนุน โดยมีแนวทางที่หารือร่วม ดังนี้ 1.ใช้ระบบคูปองการศึกษาหรือบัตรแทนเงินในการอุดหนุนรายหัวให้แก่นักเรียนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน โดยจัดให้กับผู้เรียนโดยตรง เพื่อให้นำไปขอรับบริการยังโรงเรียนเอกชนที่นักเรียนต้องการเข้าเรียน โดยต้องการให้เรื่องดังกล่าวดำเนินการให้ทันภายในปีการศึกษา 2552 ซึ่งนอกจากจะทำให้นักเรียนมีที่เรียนแล้ว สถานศึกษาเอกชนก็ยังสามารถอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ เพราะได้รับการอุดหนุนตามความเป็นจริง
2.พิจารณาให้วิทยฐานะครูเอกชนเช่นเดียวกับครูโรงเรียนรัฐบาล เพื่อให้ครูมีขวัญและกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพ โดยหลังจากนี้ต้องจัดทำหลักเกณฑ์ให้เป็นรูปธรรมเพื่อนำมาใช้ดำเนินการต่อไป 3.การพัฒนาโรงเรียนเอกชน โดยจัดกองทุนหมุนเวียนให้โรงเรียนเอกชนกู้ยืมไปพัฒนาและปรับปรุงกิจการให้ดีขึ้น
และ 4.ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวทั้งหมดนี้ จะจัดทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ พิจารณาจัดทำเป็นเอกสารนโยบายเพื่อกำหนดกรอบและทิศทาง จากนั้นจะจัดทำเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเอกชนต่อไป ซึ่งต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2552
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกำหนดนโยบายและทิศทางการจัดการศึกษาเอกชน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การประชุมดังกล่าวเพื่อกำหนดทิศทางและหามาตรการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งร่วมจัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นว่า สัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างรัฐและเอกชน ถือเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่บอกถึงประสิทธิภาพการจัดการศึกษา และเห็นว่าควรเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาโดยหน่วยงานอื่นและโดยเอกชนให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแม้ว่านโยบายของรัฐที่ผ่านมาจะพยายามเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาโดยเอกชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ปวช.ให้อยู่ที่ 30:70 แต่ในภาคปฏิบัติพบว่าสัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างเอกชนและรัฐอยู่ที่ 19:81 เท่านั้น
“ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งการให้ภาคเอกชนมาช่วยจัดการศึกษานั้น เป็นการช่วยรัฐแบ่งเบาการจัดการศึกษา อีกทั้งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาลสามารถจัดการศึกษาได้มีประสิทธิภาพโดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น แต่เมื่อคิดถึงต้นทุนในการจัดการศึกษาพบว่าโรงเรียนเอกชนใช้งบประมาณในการจัดการศึกษาน้อยกว่าโรงเรียนของรัฐบาล” ปลัด ศธ.กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับระบบการอุดหนุน โดยมีแนวทางที่หารือร่วม ดังนี้ 1.ใช้ระบบคูปองการศึกษาหรือบัตรแทนเงินในการอุดหนุนรายหัวให้แก่นักเรียนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน โดยจัดให้กับผู้เรียนโดยตรง เพื่อให้นำไปขอรับบริการยังโรงเรียนเอกชนที่นักเรียนต้องการเข้าเรียน โดยต้องการให้เรื่องดังกล่าวดำเนินการให้ทันภายในปีการศึกษา 2552 ซึ่งนอกจากจะทำให้นักเรียนมีที่เรียนแล้ว สถานศึกษาเอกชนก็ยังสามารถอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ เพราะได้รับการอุดหนุนตามความเป็นจริง
2.พิจารณาให้วิทยฐานะครูเอกชนเช่นเดียวกับครูโรงเรียนรัฐบาล เพื่อให้ครูมีขวัญและกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพ โดยหลังจากนี้ต้องจัดทำหลักเกณฑ์ให้เป็นรูปธรรมเพื่อนำมาใช้ดำเนินการต่อไป 3.การพัฒนาโรงเรียนเอกชน โดยจัดกองทุนหมุนเวียนให้โรงเรียนเอกชนกู้ยืมไปพัฒนาและปรับปรุงกิจการให้ดีขึ้น
และ 4.ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวทั้งหมดนี้ จะจัดทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ พิจารณาจัดทำเป็นเอกสารนโยบายเพื่อกำหนดกรอบและทิศทาง จากนั้นจะจัดทำเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเอกชนต่อไป ซึ่งต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2552