สพฐ.นัด ผอ.โรงเรียนยอดนิยม ผอ.สพท.3-4 ธ.ค.นี้ แจงนโยบายการรับนักเรียนโรงเรียนยอดนิยม เน้นรับเด็ก ม.ต้นลดลง เพิ่ม ม.ปลาย
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคมนี้ สพฐ.จะเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนยอดนิยม 370 โรงทั่วประเทศ มาประชุมร่วมกันใน 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.จะหารือเกี่ยวกับนโยบายรับนักเรียนปีการศึกษา 2552 นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ย้ำเรื่องแก้ปัญหาการรับแปะเจี๊ยะ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนนำประสบการณ์ในการจัดสอบคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อแบบ 100% ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
2.การนำผล NT ไปใช้ เพราะจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบ NT พบว่านักเรียนยังอ่อนภาษาอังกฤษ และจะหารือผู้อำนวยการโรงเรียนว่าจะแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไร 3.เปิดประเด็นเรื่องการรับนักเรียน โดยให้โรงเรียนยอดนิยมเน้นรับนักเรียนมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลายเพิ่มมากขึ้น แล้วลดจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นน้อยลง เพื่อให้นักเรียนไปเรียนกับโรงเรียนคู่พัฒนามากขึ้น
“สพฐ.จะเน้นประเด็นการรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น แต่ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนทันทีทันใด แต่จะให้ทยอยทำ จะทำแผนรับนักเรียนระยะยาวประมาณ 3-4 ปี โดยจะให้รับเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีสัดส่วนเท่าๆ กัน หรือ 50:50 แล้วในปีถัดไปจะให้รับเด็กมัธยมศึกษาตอนน้อยลง หรือต่ำกว่า ร้อยละ 50 จากที่เคยรับ
ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จะเชิญผู้อำนวยการำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มาร่วมรับฟังและหารือด้วย เพื่อ ผอ.สพท.จะได้ไปหารือร่วมกับโรงเรียนเพื่อวางแผนการรับนักเรียนในเขตพื้นที่ของตัวเอง อีกทั้งยังต้องหารือเรื่องโรงเรียนคู่พัฒนาที่จะต้องผู้รองรับเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย เพราะปัจจุบันเราพบว่ามีโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนคู่พัฒนา สามารถรองรับเด็ก ม.ต้น จึงต้องการหันมาพัฒนาเด็ก ม.ปลาย ”
สำหรับเรื่องสุดท้าย ค่าใช้จ่ายอุดหนุนรายหัวที่จ่ายให้กับโรงเรียนต่าง ๆ นั้นมาจากผลวิจัยที่ สพฐ.ทำเสนอรัฐบาล แต่โรงเรียนยอดนิยมจำเป็นต้องใช้เงินอุดหนุนรายหัวมากกว่าโรงเรียนทั่วไป คือเราพบว่าเงินอุดหนุนรายหัวที่จัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้โรงเรียนยอดนิยมจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เรื่องนี้ สพฐ.จะหารือร่วมกันว่าจะหาวิธีช่วยเหลือโรงเรียนได้อย่างไรบ้าง เพราะปัจจุบันโรงเรียนต้องเจียดเงินอุดหนุนรายหัวไปจ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างครู ส่งผลให้มีเงินไปพัฒนาการเรียนการสอนลดลง อย่างไรก็ตาม คงต้องไปดูว่าอะไรที่สามารถขอเก็บจากผู้ปกครองได้บ้าง แล้ว สพฐ.จะสามารถช่วยเหลือโรงเรียนเพิ่มเติมเรื่องอะไรได้บ้าง
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคมนี้ สพฐ.จะเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนยอดนิยม 370 โรงทั่วประเทศ มาประชุมร่วมกันใน 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.จะหารือเกี่ยวกับนโยบายรับนักเรียนปีการศึกษา 2552 นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ย้ำเรื่องแก้ปัญหาการรับแปะเจี๊ยะ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนนำประสบการณ์ในการจัดสอบคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อแบบ 100% ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
2.การนำผล NT ไปใช้ เพราะจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบ NT พบว่านักเรียนยังอ่อนภาษาอังกฤษ และจะหารือผู้อำนวยการโรงเรียนว่าจะแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไร 3.เปิดประเด็นเรื่องการรับนักเรียน โดยให้โรงเรียนยอดนิยมเน้นรับนักเรียนมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลายเพิ่มมากขึ้น แล้วลดจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นน้อยลง เพื่อให้นักเรียนไปเรียนกับโรงเรียนคู่พัฒนามากขึ้น
“สพฐ.จะเน้นประเด็นการรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น แต่ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนทันทีทันใด แต่จะให้ทยอยทำ จะทำแผนรับนักเรียนระยะยาวประมาณ 3-4 ปี โดยจะให้รับเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีสัดส่วนเท่าๆ กัน หรือ 50:50 แล้วในปีถัดไปจะให้รับเด็กมัธยมศึกษาตอนน้อยลง หรือต่ำกว่า ร้อยละ 50 จากที่เคยรับ
ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จะเชิญผู้อำนวยการำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มาร่วมรับฟังและหารือด้วย เพื่อ ผอ.สพท.จะได้ไปหารือร่วมกับโรงเรียนเพื่อวางแผนการรับนักเรียนในเขตพื้นที่ของตัวเอง อีกทั้งยังต้องหารือเรื่องโรงเรียนคู่พัฒนาที่จะต้องผู้รองรับเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย เพราะปัจจุบันเราพบว่ามีโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนคู่พัฒนา สามารถรองรับเด็ก ม.ต้น จึงต้องการหันมาพัฒนาเด็ก ม.ปลาย ”
สำหรับเรื่องสุดท้าย ค่าใช้จ่ายอุดหนุนรายหัวที่จ่ายให้กับโรงเรียนต่าง ๆ นั้นมาจากผลวิจัยที่ สพฐ.ทำเสนอรัฐบาล แต่โรงเรียนยอดนิยมจำเป็นต้องใช้เงินอุดหนุนรายหัวมากกว่าโรงเรียนทั่วไป คือเราพบว่าเงินอุดหนุนรายหัวที่จัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้โรงเรียนยอดนิยมจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เรื่องนี้ สพฐ.จะหารือร่วมกันว่าจะหาวิธีช่วยเหลือโรงเรียนได้อย่างไรบ้าง เพราะปัจจุบันโรงเรียนต้องเจียดเงินอุดหนุนรายหัวไปจ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างครู ส่งผลให้มีเงินไปพัฒนาการเรียนการสอนลดลง อย่างไรก็ตาม คงต้องไปดูว่าอะไรที่สามารถขอเก็บจากผู้ปกครองได้บ้าง แล้ว สพฐ.จะสามารถช่วยเหลือโรงเรียนเพิ่มเติมเรื่องอะไรได้บ้าง