ศธ.วางแนวทางการทำงาน เสนอรัฐบาลใหม่ เล็งเพิ่มอัตราการเรียนต่อระดับประถม-มัธยมศึกษาให้ได้ 100% ขยายปีการศึกษาเฉลี่ยประชากรวัย 15-39 ปี ต้องเกิน 10 ปี พร้อมปรับตัวชี้วัดบางตัวเพื่อรองรับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล ฝันอีก 5 ปี การศึกษาไทยขึ้นอันดับที่ 15 ของโลก
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมเจรจาตัวชี้วัดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมี ศ.ดร.สมหวัง พิธิยาวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่จาก ก.พ.ร.และตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม โดยเป็นการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางตามกรอบงบประมาณปี 2552 รวมถึงกำหนดความชัดเจนว่าเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการคืออะไร จะได้นำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป แต่ครั้งนี้ได้มีการปรับตัวชี้วัดบางตัวเป็นปลายเปิดไว้เสนอต่อรัฐบาล และ รมว.ศธ.เผื่อรัฐบาลมอบนโยบายด้านการศึกษาจะปรับเข้ากับนโยบายได้
ส่วนแผนปฏิบัติราชการปี 2552 มีเป้าหมายทั้งหมด 4 ภารกิจ 11 ตัวชี้วัด เริ่มจากเป้าหมายแรก สร้างโอกาสทางการศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.อัตราเข้าเรียนระดับก่อนประถมศึกษาต้องเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเข้าเรียนต่อระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมต้น ต้องเป็น 100% อัตราเรียนต่อระดับ ม.ปลาย อุดมศึกษา จะต้องเพิ่มขึ้น รวมทั้งจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานอายุ 15-39 ปี ต้องขยับมาเกิน 10 ปี ขณะที่จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงานอายุ 40-59 ปี ต้องเพิ่มเป็นเกิน 7 ปี
“ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ แต่แนะนำเรื่องของโอกาสทางการศึกษาน่าจะเป็นจุดเน้นของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะเข้ามาบริหาร โดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี เพราะทางพรรคให้ความสำคัญเรื่องนี้ จึงทำปลายเปิดไว้ เผื่อรับนโยบายจากรัฐบาลแล้วต้องปรับในรายละเอียดบ้าง”
เป้าหมายที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มีตัวชี้วัดเดียว การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยโดยสถาบัน IMD (International Institute for Management Development) ในส่วนที่เป็นการประเมินการศึกษาจะต้องสูงขึ้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทย อยู่อันดับที่ 35, 38 และ 24 ดังนั้น ปี 2552 ตั้งเป้าหมายให้อยู่อันดับที่ 15 ของโลก อย่างไรก็ตาม คงต้องดูความเป็นไปได้ว่าถึงจะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
เป้าหมายที่ 3 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน มีตัวชี้วัดเดียว คือ สัดส่วนผู้เรียนต่อสายอาชีวศึกษาต่อสามัญ ต้องขยับเป็น 47 ต่อ 53 จากปัจจุบันอยู่ที่ 41 ต่อ 59 แต่ที่ประชุมบอกว่าตัวชี้วัดเดียวแคบเกินไป ควรมีการปรับขยายตัวชี้วัดโดยครอบคลุม 4 เรื่อง เราจะพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน จะต้องผลิตแรงงานที่มีทักษะความรู้ที่คลอบคลุมทั้งกำลังคนระดับกลาง คือ สายอาชีวะ และต้องตอบสนองต่อสาขาของการพัฒนาประเทศ 13 สาขาด้วย ส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับอุดมศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป้าหมายที่ 4 พัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ โดยกำหนดตัวชี้วัดอยู่ที่การเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้สอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต้องขยับสัดส่วนผู้เรียนใน ร.ร.เอกชนและรัฐ เป็น 25 ต่อ 75 จากปัจจุบันอยู่ที่ 19 ต่อ 81
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมเจรจาตัวชี้วัดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมี ศ.ดร.สมหวัง พิธิยาวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่จาก ก.พ.ร.และตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม โดยเป็นการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางตามกรอบงบประมาณปี 2552 รวมถึงกำหนดความชัดเจนว่าเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการคืออะไร จะได้นำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป แต่ครั้งนี้ได้มีการปรับตัวชี้วัดบางตัวเป็นปลายเปิดไว้เสนอต่อรัฐบาล และ รมว.ศธ.เผื่อรัฐบาลมอบนโยบายด้านการศึกษาจะปรับเข้ากับนโยบายได้
ส่วนแผนปฏิบัติราชการปี 2552 มีเป้าหมายทั้งหมด 4 ภารกิจ 11 ตัวชี้วัด เริ่มจากเป้าหมายแรก สร้างโอกาสทางการศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.อัตราเข้าเรียนระดับก่อนประถมศึกษาต้องเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเข้าเรียนต่อระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมต้น ต้องเป็น 100% อัตราเรียนต่อระดับ ม.ปลาย อุดมศึกษา จะต้องเพิ่มขึ้น รวมทั้งจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานอายุ 15-39 ปี ต้องขยับมาเกิน 10 ปี ขณะที่จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงานอายุ 40-59 ปี ต้องเพิ่มเป็นเกิน 7 ปี
“ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ แต่แนะนำเรื่องของโอกาสทางการศึกษาน่าจะเป็นจุดเน้นของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะเข้ามาบริหาร โดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี เพราะทางพรรคให้ความสำคัญเรื่องนี้ จึงทำปลายเปิดไว้ เผื่อรับนโยบายจากรัฐบาลแล้วต้องปรับในรายละเอียดบ้าง”
เป้าหมายที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มีตัวชี้วัดเดียว การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยโดยสถาบัน IMD (International Institute for Management Development) ในส่วนที่เป็นการประเมินการศึกษาจะต้องสูงขึ้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทย อยู่อันดับที่ 35, 38 และ 24 ดังนั้น ปี 2552 ตั้งเป้าหมายให้อยู่อันดับที่ 15 ของโลก อย่างไรก็ตาม คงต้องดูความเป็นไปได้ว่าถึงจะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
เป้าหมายที่ 3 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน มีตัวชี้วัดเดียว คือ สัดส่วนผู้เรียนต่อสายอาชีวศึกษาต่อสามัญ ต้องขยับเป็น 47 ต่อ 53 จากปัจจุบันอยู่ที่ 41 ต่อ 59 แต่ที่ประชุมบอกว่าตัวชี้วัดเดียวแคบเกินไป ควรมีการปรับขยายตัวชี้วัดโดยครอบคลุม 4 เรื่อง เราจะพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน จะต้องผลิตแรงงานที่มีทักษะความรู้ที่คลอบคลุมทั้งกำลังคนระดับกลาง คือ สายอาชีวะ และต้องตอบสนองต่อสาขาของการพัฒนาประเทศ 13 สาขาด้วย ส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับอุดมศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป้าหมายที่ 4 พัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ โดยกำหนดตัวชี้วัดอยู่ที่การเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้สอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต้องขยับสัดส่วนผู้เรียนใน ร.ร.เอกชนและรัฐ เป็น 25 ต่อ 75 จากปัจจุบันอยู่ที่ 19 ต่อ 81