“แซม” ชูพัฒนาหนองจอกเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดึงเงินตราเข้าชุมชน ขณะที่ “ลีน่า จัง” ใส่ม่อฮ่อมเกี่ยวข้าว เรียนรู้ชีวิตชาวนา พร้อมเสนอเป็นตัวช่วยแก้ไขราคาข้าวตกต่ำ
วันนี้ (19 ธ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน (คู้) เขตหนองจอก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย (พท.) ลงพื้นที่หาเสียงกับชาวบ้านในชุมชนดังกล่าว พร้อมแถลงนโยบายด้านความเป็นอยู่ของชุมชน ว่า ในพื้นที่หนองจอกนี้มีความเป็นเสน่ห์ในเรื่องของธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่เป็นชุมชนรามัญ และมุสลิม อีกทั้งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ยังมีการประกอบอาชีพทำนาข้าว เลี้ยงโค-กระบือ และเลี้ยงแพะ และยังมีตลาดเก่าแก่ ซึ่งกองถ่ายละครเคยใช้พื้นที่มาถ่ายละครอยู่บ่อยๆ
ดังนั้น หากตนเป็นผู้ว่าฯ กทม. จะพัฒนาให้พื้นที่หนองจอกเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเชิงวัฒนธรรม โดยจะประสานกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้มีการจัดท่องเที่ยวในชุมชน ทั้งการนั่งรถสามล้อ และการท่องเที่ยวทางน้ำ ซึ่งในเบื้องต้นจะใช้พัฒนาการท่องเที่ยวในเขตหนองจอกให้เป็นต้นแบบ ก่อนจะขยายไปยังเขตอื่นต่อไป
ขณะที่เวลา 12.00 น. นางลีนา จังจรรจา (ลีน่า จัง) ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 3 ลงพื้นที่หนองจอก พบกับเกษตรกรในพื้นที่สุเหร่าศาลาแดง โดยสวมชุดม่อฮ่อม สีน้ำเงินเข้ม และสวมงอบ ที่ยืมจากเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งนั่งรถเกี่ยวข้าวและสาธิตการเกี่ยวข้าว
โดย นางลีน่า กล่าว ว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ที่หนองจอกและลงทุนใส่ชุดพร้อมเกี่ยวข้าว เพราะอยากรู้ว่าวิถีชีวิตของชาวนาในหนองจอกลำบากมากแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ว่าฯ กทม.ตนจะส่งเสริมให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้น โดยกทม.จะให้งบประมาณในแต่ละชุมชนเพื่อนรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะทำให้ข้าวปลอดสารและลดค่าใช้จ่ายในการที่เกษตรการต้องซื้อสารเคมี นอกจากนี้จะนำผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายในตราสินค้าที่ชื่อว่า กรีน มาร์ท (Green Mart) อีกด้วย
นางลีน่า กล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำจะให้เกษตรรวมกลุ่มกันเพื่อ กทม.จะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการประกันราคาข้าวให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ อีกทั้งมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรในกทม.ให้คงไว้ ซึ่งทุกๆ ปี พื้นที่การเกษตรจะลดลงร้อยละ 2-4 รวมทั้งจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตของชุมชน โดยหากนักท่องเที่ยวต้องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะมีค่าใช้จ่าย 100 บาทต่อคน ให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้เลี่ยงตัวเองเป็นรายได้เสริมด้วย
วันนี้ (19 ธ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน (คู้) เขตหนองจอก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย (พท.) ลงพื้นที่หาเสียงกับชาวบ้านในชุมชนดังกล่าว พร้อมแถลงนโยบายด้านความเป็นอยู่ของชุมชน ว่า ในพื้นที่หนองจอกนี้มีความเป็นเสน่ห์ในเรื่องของธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่เป็นชุมชนรามัญ และมุสลิม อีกทั้งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ยังมีการประกอบอาชีพทำนาข้าว เลี้ยงโค-กระบือ และเลี้ยงแพะ และยังมีตลาดเก่าแก่ ซึ่งกองถ่ายละครเคยใช้พื้นที่มาถ่ายละครอยู่บ่อยๆ
ดังนั้น หากตนเป็นผู้ว่าฯ กทม. จะพัฒนาให้พื้นที่หนองจอกเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเชิงวัฒนธรรม โดยจะประสานกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้มีการจัดท่องเที่ยวในชุมชน ทั้งการนั่งรถสามล้อ และการท่องเที่ยวทางน้ำ ซึ่งในเบื้องต้นจะใช้พัฒนาการท่องเที่ยวในเขตหนองจอกให้เป็นต้นแบบ ก่อนจะขยายไปยังเขตอื่นต่อไป
ขณะที่เวลา 12.00 น. นางลีนา จังจรรจา (ลีน่า จัง) ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 3 ลงพื้นที่หนองจอก พบกับเกษตรกรในพื้นที่สุเหร่าศาลาแดง โดยสวมชุดม่อฮ่อม สีน้ำเงินเข้ม และสวมงอบ ที่ยืมจากเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งนั่งรถเกี่ยวข้าวและสาธิตการเกี่ยวข้าว
โดย นางลีน่า กล่าว ว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ที่หนองจอกและลงทุนใส่ชุดพร้อมเกี่ยวข้าว เพราะอยากรู้ว่าวิถีชีวิตของชาวนาในหนองจอกลำบากมากแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ว่าฯ กทม.ตนจะส่งเสริมให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้น โดยกทม.จะให้งบประมาณในแต่ละชุมชนเพื่อนรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะทำให้ข้าวปลอดสารและลดค่าใช้จ่ายในการที่เกษตรการต้องซื้อสารเคมี นอกจากนี้จะนำผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายในตราสินค้าที่ชื่อว่า กรีน มาร์ท (Green Mart) อีกด้วย
นางลีน่า กล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำจะให้เกษตรรวมกลุ่มกันเพื่อ กทม.จะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการประกันราคาข้าวให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ อีกทั้งมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรในกทม.ให้คงไว้ ซึ่งทุกๆ ปี พื้นที่การเกษตรจะลดลงร้อยละ 2-4 รวมทั้งจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตของชุมชน โดยหากนักท่องเที่ยวต้องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะมีค่าใช้จ่าย 100 บาทต่อคน ให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้เลี่ยงตัวเองเป็นรายได้เสริมด้วย