สธ.ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุข ติวเข้มบุคลากรทางการแพทย์ 24 จังหวัดภาคกลาง-ตะวันออก เพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัย รักษา ป้องกัน รับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมแพทย์ พยาบาล นักวิชาการจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในพื้นที่ 24 จังหวัดภาคกลาง และตะวันออก จำนวน 240 คน เพื่อพัฒนางานควบคุมป้องกันโรค และการตรวจวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงการเตรียมรับมือการระบาดใหญ่ของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ในปี 2551 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 15,824 ราย เสียชีวิต 3 ราย ที่จังหวัดสุรินทร์ 1 ราย และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 ราย พบอัตราป่วยสูงในเด็ก สูงสุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ ตรัง จันทบุรี ราชบุรี ตราด และ พังงา ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาเชื้อกลายพันธุ์
“ในการวางแผนรับมือการระบาด และการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทยกำลังดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาไข้หวัดนกและการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551-2553 ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.จัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างปลอดโรค 2.การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ 3.การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ และ 4.ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในปีนี้กรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขยายการฉีดวัคซีนในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวด้วย ได้แก่ หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวาย หัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ส่วนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ทดลองผลิตจากไข่ได้แล้ว คาดว่า จะจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ระดับอุตสาหกรรม วงเงิน 1,400 ล้านบาท ในอีก 4 ปี ซึ่งจะสามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ใช้ภายในประเทศ รวมทั้งผลิตวัคซีนสายพันธุ์ที่ระบาดใหญ่ได้ โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป
ด้านศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่า ความสูญเสียจากโรคไข้หวัดใหญ่ ในด้านเศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี โดยครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปในการรักษาพยาบาล จึงจำเป็นต้องเตรียมมาตรการรับมือกับโรคนี้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจดูเป็นโรคทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่ทั่วโลกกำลังกังวลคือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนกที่อาจเกิดขึ้น และอาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ในอนาคต จึงต้องเข้มงวดเรื่องการรักษา การตรวจวินิจฉัยให้แม่นยำ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ สามารถป้องกันและดูแลตนเองได้
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมแพทย์ พยาบาล นักวิชาการจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในพื้นที่ 24 จังหวัดภาคกลาง และตะวันออก จำนวน 240 คน เพื่อพัฒนางานควบคุมป้องกันโรค และการตรวจวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงการเตรียมรับมือการระบาดใหญ่ของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ในปี 2551 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 15,824 ราย เสียชีวิต 3 ราย ที่จังหวัดสุรินทร์ 1 ราย และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 ราย พบอัตราป่วยสูงในเด็ก สูงสุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ ตรัง จันทบุรี ราชบุรี ตราด และ พังงา ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาเชื้อกลายพันธุ์
“ในการวางแผนรับมือการระบาด และการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทยกำลังดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาไข้หวัดนกและการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551-2553 ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.จัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างปลอดโรค 2.การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ 3.การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ และ 4.ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในปีนี้กรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขยายการฉีดวัคซีนในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวด้วย ได้แก่ หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวาย หัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ส่วนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ทดลองผลิตจากไข่ได้แล้ว คาดว่า จะจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ระดับอุตสาหกรรม วงเงิน 1,400 ล้านบาท ในอีก 4 ปี ซึ่งจะสามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ใช้ภายในประเทศ รวมทั้งผลิตวัคซีนสายพันธุ์ที่ระบาดใหญ่ได้ โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป
ด้านศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่า ความสูญเสียจากโรคไข้หวัดใหญ่ ในด้านเศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี โดยครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปในการรักษาพยาบาล จึงจำเป็นต้องเตรียมมาตรการรับมือกับโรคนี้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจดูเป็นโรคทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่ทั่วโลกกำลังกังวลคือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนกที่อาจเกิดขึ้น และอาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ในอนาคต จึงต้องเข้มงวดเรื่องการรักษา การตรวจวินิจฉัยให้แม่นยำ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ สามารถป้องกันและดูแลตนเองได้