“ผมคือคนไทย ผมต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ฝรั่งหัวทองจะมารู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยดีเท่ากับเราคงไม่ได้ จงภูมิใจ และเรียนรู้ให้สนุก เพราะประวัติศาสตร์ คืออดีต เป็นบทเรียนที่สอน และย้ำเตือนคนปัจจุบันไม่ให้ทำผิดซ้ำสอง”
นี่คือเสียงของ พชร ชินอ่อน อายุ 16 ปี ชั้น ม.5 ร.ร.แก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ระดับช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.5) ในการแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดขึ้น ณ ร.ร.สตรีวิทยา เมื่อวันที่ 29-30 พ.ย.2551 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นอกจาก พชร ที่ได้รับรางวัลแล้ว การแข่งขันครั้งนี้ ยังมีนักเรียนคนเก่งที่ได้รับรางวัลอีก 3 ช่วงชั้น คือ ด.ช.สรัล สิริธนาคล จาก ร.ร.อุดมวิทยา จ.ราชบุรี ชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ด.ญ.ธันยพร บุญพันธ์ จาก ร.ร.อนุบาลสุธีธร จ.นครปฐม ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) และ ด.ช.ภัทรวีย์ สูญทุกข์ จาก ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3)
เราลองไปฟังเสียงพวกเขาดูว่า แต่ละคนมีความเห็นและมีความสนใจต่อวิชาประวัติศาสตร์กันอย่างไรบ้าง...
เริ่มต้นจากเพชรเม็ดน้อยแต่เต็มไปด้วยกะรัตเพชร อย่าง สรัล สิริธนาคล หรือ “รัน” อายุ 9 ขวบ นร.ชั้น ป.3 ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ที่ทั้งฉลาด ขยัน และมีความตั้งใจ แถมเป็นหนอนหนังสือตัวยงของโรงเรียน และครอบครัว
น้องรัน เล่าว่า ได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันเวทีวิชาการระดับประเทศหลายเวที และได้รับรางวัลมากมาย โดยเฉพาะการแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ ได้แก่ รางวัลชมเชยภาษาไทยเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 รางวัลชมเชย (ประเภทเพชร) วิทยาศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 รางวัลชมเชยพระพุทธศาสนาเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 และล่าสุด ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
“คุณแม่ชอบซื้อหนังสือให้ผมอ่าน และผมก็ชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะรวมกษัตริย์มหาราช และสมโภชกรุง เป็นเรื่องที่สนุก และได้ความรู้ ซึ่งไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด อยากให้เพื่อนๆ ลองรัก และชอบประวัติศาสตร์สักนิด เชื่อได้เลยว่า ต้องติดใจ และเคลิ้มตามเหมือนกับผมแน่นอน” น้องรัน เล่าถึงความชอบ
นอกจากนี้ คุณแม่น้องรัน เล่าเสริมว่า เวลากลับจากโรงเรียนรันจะไม่เล่นเกม เหมือนกับเด็กทั่วไป แต่จะวิ่งไปหยิบหนังสือมานั่งอ่านกับแม่ ซึ่งนอกจากหนังสือประวัติศาสตร์ไทยแล้ว รันยังรัก และชื่นชอบประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย โดยเฉพาะสามก๊กในแบบฉบับการ์ตูน ของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค มีทั้งหมด 15 เล่ม ที่ รัน บอกว่า อ่านแล้วสนุก เห็นภาพ และเข้าใจง่าย รวมทั้งได้เรียนรู้คำศัพท์ และชื่อจีนตั้งหลายอย่าง เรียกได้ว่า อ่านเพลิน แถมได้ความรู้ประดับสมองไปในตัว หลังการประกวดเสร็จ แม่สัญญากับน้องว่า จะซื้อสามก๊กที่เหลือให้อีก 8 เล่ม เป็นรางวัลสำหรับชัยชนะในครั้งนี้
“ถามว่า ทำไมเรียนประวัติศาสตร์ถึงน่าเบื่อ เพราะมันไม่มีตัวเชื่อม หรือสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็ก เช่น ภาพประกอบ หรือการ์ตูนประวัติศาสตร์เพราะทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่หนังสือหรือตำราเรียนจะมีแต่ตัวอักษร เล่าเรื่องราวซับซ้อน เข้าใจยาก ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกเก่ง ต้องเริ่มให้ลูกอ่านในสิ่งที่ชอบ เข้าใจง่าย และเห็นภาพตาม เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านในตอนโตต่อไป” แม่ชุของน้องรัน เล่า
ด้าน พชร ผู้ชนะในช่วงชั้นที่ 4 บอกว่า ดีใจ และภูมิใจ ที่สามารถทำวันนี้ได้สำเร็จ เพราะมีการเตรียมพร้อม และเตรียมตัวมาอย่างดี เริ่มจากทบทวนตำราประวัติศาสตร์ โดยศึกษาตั้งแต่การเข้ามาของคนไทย จนกระทั่งถึงการปฏิวัติครั้งล่าสุด เพราะสนุก และน่าติดตาม แถมยังให้แง่คิด หรือกุศโลบายที่แฝงอยู่ในตำราประวัติศาสตร์ เช่น ยุทธวิธีการลวงข้าศึก รวมทั้งรู้ประวัติศาสตร์ เหมือนกับรู้อดีตที่ผ่านมาของคน ทำให้เกิดความเข้าใจ และรับรู้ความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยนั่นเอง
“อย่าไปเครียด อ่านเพื่อรู้ และวิเคราะห์ออกมาเป็นความเข้าใจ ที่สำคัญ คนจะเก่งประวัติศาสตร์ต้องอ่านและนึกภาพตาม เพราะมันทำให้เห็นเหตุการณ์ชัดเจน รวมทั้งเรียนไม่ใช่เพื่อเป็นนักประวัติศาสตร์ แต่วิชานี้ช่วยเสริมรากในศาสตร์สาขาอื่นๆ ได้ เช่น ผมจะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ผมก็จะนำวิธีทางประวัติศาสตร์มาเป็นวิธีคิด คือ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ สรุป และนำเสนอข้อมูล ถ้าเรามองประวัติศาสตร์ในแง่ดี หรือมองในมุมบวก ไม่น่าเบื่อ หรือเครียดอย่างที่หลายคนคิด ประวัติศาสตร์จะทำให้ปัจจุบันเราดีขึ้น” พชร เล่า
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในครั้งนี้ ใช่ว่าจะมีผู้ชนะเพียงอย่างเดียว แต่ผู้มีใจรัก และคลั่งไคล้ในวิชาประวัติศาสตร์ จนเพื่อนร่วมห้องต้องยกนิ้วให้อย่าง จิรวัฒน์ คูณขาว หรือ “แชมป์” อายุ 17 ปี ชั้น ม.6 ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า รองชนะเลิศอันดับ 1 เพราะแชมป์สนใจวิชาประวัติศาสตร์ตั้งแต่อยู่ ป.5 เริ่มจากการอ่านการ์ตูนประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบรรพบุรุษไทย เรื่อยมาจนถึงหนังสือพงศาวดาร หรือตำราวิชาการที่ยาก ลึกซึ้ง และซับซ้อนขึ้น
“ผมไม่เสียใจ กลับภูมิใจ และพร้อมให้คำมั่นกับตัวเองว่า จะนำประสบการณ์ที่ได้ ไปเสริมจุดด้อยของตัวเองให้แข็งแกร่งต่อไป สิ่งที่ทำให้ผมชอบ และรักประวัติศาสตร์ เห็นทีจะหนีไม่พ้นความสนุก น่าติดตาม น่าค้นหา และที่สำคัญทำให้ผมเห็นอดีต ช่วยเติมเต็มความบกพร่องทางความคิด สร้างความเข้าใจ และรู้ชัดถึงความผิดพลาด เสริมใหเกิดการพัฒนา โดยใช้ปัจจุบันเชื่อมร้อยอดีตให้เกิดแรงผลักที่ดีในอนาคต เพราะปัจจุบันคืออดีตของอนาคต” น้องแชมป์เล่า
นอกจากนี้ แชมป์ ยังสะท้อนด้วยว่า สังคมไทยสอนเด็กให้เรียนเพื่อสร้างเงิน แต่ไม่สร้างให้คนเกิดความรอบรู้ โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า เด็กไม่ค่อยสนใจ หรือเลือกเรียนกันน้อยมาก เหตุเพราะไม่สร้างเงิน และรายได้ในอนาคต ส่วนใหญ่จะเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ทำเงินมากกว่า ส่วนตัวอยากเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะยังเกี่ยวโยงกับพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โดยจะเน้นประวัติศาสตร์โลก แต่ถ้าพลาดจะเลือกเรียนคณะอักษรศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ เพราะสนใจ และมีพื้นฐานมาตั้งแต่แรก
นี่คือเสียงของ พชร ชินอ่อน อายุ 16 ปี ชั้น ม.5 ร.ร.แก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ระดับช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.5) ในการแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดขึ้น ณ ร.ร.สตรีวิทยา เมื่อวันที่ 29-30 พ.ย.2551 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นอกจาก พชร ที่ได้รับรางวัลแล้ว การแข่งขันครั้งนี้ ยังมีนักเรียนคนเก่งที่ได้รับรางวัลอีก 3 ช่วงชั้น คือ ด.ช.สรัล สิริธนาคล จาก ร.ร.อุดมวิทยา จ.ราชบุรี ชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ด.ญ.ธันยพร บุญพันธ์ จาก ร.ร.อนุบาลสุธีธร จ.นครปฐม ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) และ ด.ช.ภัทรวีย์ สูญทุกข์ จาก ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ชนะเลิศในช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3)
เราลองไปฟังเสียงพวกเขาดูว่า แต่ละคนมีความเห็นและมีความสนใจต่อวิชาประวัติศาสตร์กันอย่างไรบ้าง...
เริ่มต้นจากเพชรเม็ดน้อยแต่เต็มไปด้วยกะรัตเพชร อย่าง สรัล สิริธนาคล หรือ “รัน” อายุ 9 ขวบ นร.ชั้น ป.3 ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ที่ทั้งฉลาด ขยัน และมีความตั้งใจ แถมเป็นหนอนหนังสือตัวยงของโรงเรียน และครอบครัว
น้องรัน เล่าว่า ได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันเวทีวิชาการระดับประเทศหลายเวที และได้รับรางวัลมากมาย โดยเฉพาะการแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ ได้แก่ รางวัลชมเชยภาษาไทยเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 รางวัลชมเชย (ประเภทเพชร) วิทยาศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 รางวัลชมเชยพระพุทธศาสนาเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5 และล่าสุด ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
“คุณแม่ชอบซื้อหนังสือให้ผมอ่าน และผมก็ชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะรวมกษัตริย์มหาราช และสมโภชกรุง เป็นเรื่องที่สนุก และได้ความรู้ ซึ่งไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด อยากให้เพื่อนๆ ลองรัก และชอบประวัติศาสตร์สักนิด เชื่อได้เลยว่า ต้องติดใจ และเคลิ้มตามเหมือนกับผมแน่นอน” น้องรัน เล่าถึงความชอบ
นอกจากนี้ คุณแม่น้องรัน เล่าเสริมว่า เวลากลับจากโรงเรียนรันจะไม่เล่นเกม เหมือนกับเด็กทั่วไป แต่จะวิ่งไปหยิบหนังสือมานั่งอ่านกับแม่ ซึ่งนอกจากหนังสือประวัติศาสตร์ไทยแล้ว รันยังรัก และชื่นชอบประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย โดยเฉพาะสามก๊กในแบบฉบับการ์ตูน ของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค มีทั้งหมด 15 เล่ม ที่ รัน บอกว่า อ่านแล้วสนุก เห็นภาพ และเข้าใจง่าย รวมทั้งได้เรียนรู้คำศัพท์ และชื่อจีนตั้งหลายอย่าง เรียกได้ว่า อ่านเพลิน แถมได้ความรู้ประดับสมองไปในตัว หลังการประกวดเสร็จ แม่สัญญากับน้องว่า จะซื้อสามก๊กที่เหลือให้อีก 8 เล่ม เป็นรางวัลสำหรับชัยชนะในครั้งนี้
“ถามว่า ทำไมเรียนประวัติศาสตร์ถึงน่าเบื่อ เพราะมันไม่มีตัวเชื่อม หรือสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็ก เช่น ภาพประกอบ หรือการ์ตูนประวัติศาสตร์เพราะทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่หนังสือหรือตำราเรียนจะมีแต่ตัวอักษร เล่าเรื่องราวซับซ้อน เข้าใจยาก ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกเก่ง ต้องเริ่มให้ลูกอ่านในสิ่งที่ชอบ เข้าใจง่าย และเห็นภาพตาม เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านในตอนโตต่อไป” แม่ชุของน้องรัน เล่า
ด้าน พชร ผู้ชนะในช่วงชั้นที่ 4 บอกว่า ดีใจ และภูมิใจ ที่สามารถทำวันนี้ได้สำเร็จ เพราะมีการเตรียมพร้อม และเตรียมตัวมาอย่างดี เริ่มจากทบทวนตำราประวัติศาสตร์ โดยศึกษาตั้งแต่การเข้ามาของคนไทย จนกระทั่งถึงการปฏิวัติครั้งล่าสุด เพราะสนุก และน่าติดตาม แถมยังให้แง่คิด หรือกุศโลบายที่แฝงอยู่ในตำราประวัติศาสตร์ เช่น ยุทธวิธีการลวงข้าศึก รวมทั้งรู้ประวัติศาสตร์ เหมือนกับรู้อดีตที่ผ่านมาของคน ทำให้เกิดความเข้าใจ และรับรู้ความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยนั่นเอง
“อย่าไปเครียด อ่านเพื่อรู้ และวิเคราะห์ออกมาเป็นความเข้าใจ ที่สำคัญ คนจะเก่งประวัติศาสตร์ต้องอ่านและนึกภาพตาม เพราะมันทำให้เห็นเหตุการณ์ชัดเจน รวมทั้งเรียนไม่ใช่เพื่อเป็นนักประวัติศาสตร์ แต่วิชานี้ช่วยเสริมรากในศาสตร์สาขาอื่นๆ ได้ เช่น ผมจะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ผมก็จะนำวิธีทางประวัติศาสตร์มาเป็นวิธีคิด คือ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ สรุป และนำเสนอข้อมูล ถ้าเรามองประวัติศาสตร์ในแง่ดี หรือมองในมุมบวก ไม่น่าเบื่อ หรือเครียดอย่างที่หลายคนคิด ประวัติศาสตร์จะทำให้ปัจจุบันเราดีขึ้น” พชร เล่า
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในครั้งนี้ ใช่ว่าจะมีผู้ชนะเพียงอย่างเดียว แต่ผู้มีใจรัก และคลั่งไคล้ในวิชาประวัติศาสตร์ จนเพื่อนร่วมห้องต้องยกนิ้วให้อย่าง จิรวัฒน์ คูณขาว หรือ “แชมป์” อายุ 17 ปี ชั้น ม.6 ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า รองชนะเลิศอันดับ 1 เพราะแชมป์สนใจวิชาประวัติศาสตร์ตั้งแต่อยู่ ป.5 เริ่มจากการอ่านการ์ตูนประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบรรพบุรุษไทย เรื่อยมาจนถึงหนังสือพงศาวดาร หรือตำราวิชาการที่ยาก ลึกซึ้ง และซับซ้อนขึ้น
“ผมไม่เสียใจ กลับภูมิใจ และพร้อมให้คำมั่นกับตัวเองว่า จะนำประสบการณ์ที่ได้ ไปเสริมจุดด้อยของตัวเองให้แข็งแกร่งต่อไป สิ่งที่ทำให้ผมชอบ และรักประวัติศาสตร์ เห็นทีจะหนีไม่พ้นความสนุก น่าติดตาม น่าค้นหา และที่สำคัญทำให้ผมเห็นอดีต ช่วยเติมเต็มความบกพร่องทางความคิด สร้างความเข้าใจ และรู้ชัดถึงความผิดพลาด เสริมใหเกิดการพัฒนา โดยใช้ปัจจุบันเชื่อมร้อยอดีตให้เกิดแรงผลักที่ดีในอนาคต เพราะปัจจุบันคืออดีตของอนาคต” น้องแชมป์เล่า
นอกจากนี้ แชมป์ ยังสะท้อนด้วยว่า สังคมไทยสอนเด็กให้เรียนเพื่อสร้างเงิน แต่ไม่สร้างให้คนเกิดความรอบรู้ โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า เด็กไม่ค่อยสนใจ หรือเลือกเรียนกันน้อยมาก เหตุเพราะไม่สร้างเงิน และรายได้ในอนาคต ส่วนใหญ่จะเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ทำเงินมากกว่า ส่วนตัวอยากเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะยังเกี่ยวโยงกับพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โดยจะเน้นประวัติศาสตร์โลก แต่ถ้าพลาดจะเลือกเรียนคณะอักษรศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ เพราะสนใจ และมีพื้นฐานมาตั้งแต่แรก