ซาโนฟี่ฯ ดิ้นงัดกลยุทธ์สู้ ร่อน จม.ถึง ผอ.รพ.ทั่วประเทศ ใจดีบริจาคยาโรคหัวใจฟรี ให้ผู้ป่วยบัตรทอง ส่วนผู้ป่วยที่จ่ายได้ขายเม็ดละ 70 บาท สธ.เต้นสั่ง อภ.ทำระบบคลังยา VMI ควบคุมการใช้ยาซีแอล ตรวจสอบการสั่งซื้อยาของ รพ. ป้อง อภ.สั่งซื้อยาสามัญมา แต่ขายไม่ออก
รายงานข่าวแจ้งว่า นายเกรแฮม อัลมอนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อยื่นข้อเสนอโครงการเข้าถึงยา Plavix Access Program (PAP) โดยหนังสือ ระบุว่า บริษัทมีความประสงค์สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลที่ให้บริการสุขภาพคนไทยเป็นอย่างดี โดยตั้งใจจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง
“บริษัท จะสนับสนุนยาเป็นจำนวน 17,000 เม็ด คิดเป็นมูลค่า 1,088,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลของท่าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ทันที โดยที่โรงพยาบาลไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม โดยบริษัทจะประสานติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อดำเนินการจัดส่งยาดังกล่าวโดยเร็ว นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาตราบเท่าที่ยังมีความต้องการด้านสาธารณสุขอีกด้วย”หนังสือระบุ
แหล่งข่าวจาก สธ.กล่าวว่า ขณะนี้การทำซีแอลในยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง เริ่มมีปัญหาในการดำเนินการ เนื่องจากหนังสือของบริษัท ซาโนฟี่ฯ ที่ได้ส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งรวมกลุ่มกันเพื่อจัดซื้อยาดังกล่าวแล้ว โดยไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่า มีโรงพยาบาลใดได้ติดต่อขอเข้าโครงการดังกล่าวบ้างแล้ว ทราบเพียงว่า มีโรงพยาบาลใน จ.ฉะเชิงเทรา ได้รวมกลุ่มเพื่อจะจัดซื้อยาจากบริษัทดังกล่าว ในราคาประมาณเม็ดละ 70 กว่าบาท เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้ป่วยที่มีกำลังซื้อ ซึ่งมูลค่ารวมอยู่ในหลักแสน ดังนั้น หากมีโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง ติดต่อขอเข้าโครงการนี้เป็นจำนวนมาก จะส่งผลกระทบต่อ อภ.ได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่สั่งซื้อยาที่ทำซีแอลมาจำหน่ายในราคาต้นทุน หากไม่มีโรงพยาบาลมาสั่งซื้อก็จะทำให้ยาขายไม่ได้ เงินก็ไม่หมุนเวียนเข้าระบบ ดังนั้น สธ.จึงต้องมีนโยบายตรวจสอบการใช้ยาดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 3 ธันวาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะดูแลงานด้านการสนับสนุนการบริการสุขภาพ เป็นประธานในการประชุมติดตามการดำเนินการตามนโยบายบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตัวแทนจาก อย.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค เป็นต้น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติ ให้ อภ.จัดทำระบบ Vender Managed Inventory หรือ VMI กับยาที่ประกาศซีแอลทุกชนิด เพื่อให้การบริหารจัดการยาสามัญที่สั่งนำเข้ามาแจกจ่ายให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ยกเว้นเฉพาะยารักษาโรคมะเร็งที่ครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ระบบ VMI เป็นระบบที่ อภ.ใช้ตรวจสอบการสั่งซื้อ การสำรองยา ของโรงพยาบาลต่างๆ ว่า มีการสั่งซื้อเท่าใด ปริมาณการใช้ และเหลือยาคงคลังเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ เช่น หากเกิดความผิดปกติในการสั่งซื้อยา มีการซื้อมากหรือน้อยเกินความจำเป็น เพราะจะมีฐานข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละโรงพยาบาล ว่าอยู่ในหลักประกันสุขภาพแบบใด”นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินการยาที่ได้ประกาศซีแอลไป 7 รายการ แต่ที่ทำสำเร็จสามารถสั่งซื้อยาสามัญมาทดแทนให้ผู้ป่วยได้มี 5 รายการ ดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรพื้นฐาน เอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) นำเข้าแล้ว 466,000 ขวด 2.ยาต้านไวรัสเอดส์โลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir) ชนิดเม็ด ชื่อการค้าอลูเวีย นำเข้า 20,000 ขวด 3.ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) นำเข้า 6.1 ล้านเม็ด 4.ยารักษามะเร็งเต้านม เล็ทโทรโซล (Letrozole) นำเข้า 400,000 เม็ด 5.รักษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม โดซีแท็กเซล (Docetaxel) นำเข้า 18,000 ขวด ส่วนอีก 2 รายการคือ ยารักษาโรคมะเร็งปอดชื่อเออร์โลทินิบ (Erlotinib) ไม่สามารถหายาสามัญที่มีคุณภาพมาทดแทนได้ และยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งทางเดินอาหาร ชื่อ อิมมาทินิบ (Imatinib)ได้รับบริจาคยาฟรีจาก บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) เจ้าของสิทธิบัตรยา
รายงานข่าวแจ้งว่า นายเกรแฮม อัลมอนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อยื่นข้อเสนอโครงการเข้าถึงยา Plavix Access Program (PAP) โดยหนังสือ ระบุว่า บริษัทมีความประสงค์สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลที่ให้บริการสุขภาพคนไทยเป็นอย่างดี โดยตั้งใจจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง
“บริษัท จะสนับสนุนยาเป็นจำนวน 17,000 เม็ด คิดเป็นมูลค่า 1,088,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลของท่าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ทันที โดยที่โรงพยาบาลไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม โดยบริษัทจะประสานติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อดำเนินการจัดส่งยาดังกล่าวโดยเร็ว นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาตราบเท่าที่ยังมีความต้องการด้านสาธารณสุขอีกด้วย”หนังสือระบุ
แหล่งข่าวจาก สธ.กล่าวว่า ขณะนี้การทำซีแอลในยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง เริ่มมีปัญหาในการดำเนินการ เนื่องจากหนังสือของบริษัท ซาโนฟี่ฯ ที่ได้ส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งรวมกลุ่มกันเพื่อจัดซื้อยาดังกล่าวแล้ว โดยไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่า มีโรงพยาบาลใดได้ติดต่อขอเข้าโครงการดังกล่าวบ้างแล้ว ทราบเพียงว่า มีโรงพยาบาลใน จ.ฉะเชิงเทรา ได้รวมกลุ่มเพื่อจะจัดซื้อยาจากบริษัทดังกล่าว ในราคาประมาณเม็ดละ 70 กว่าบาท เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้ป่วยที่มีกำลังซื้อ ซึ่งมูลค่ารวมอยู่ในหลักแสน ดังนั้น หากมีโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง ติดต่อขอเข้าโครงการนี้เป็นจำนวนมาก จะส่งผลกระทบต่อ อภ.ได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่สั่งซื้อยาที่ทำซีแอลมาจำหน่ายในราคาต้นทุน หากไม่มีโรงพยาบาลมาสั่งซื้อก็จะทำให้ยาขายไม่ได้ เงินก็ไม่หมุนเวียนเข้าระบบ ดังนั้น สธ.จึงต้องมีนโยบายตรวจสอบการใช้ยาดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 3 ธันวาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะดูแลงานด้านการสนับสนุนการบริการสุขภาพ เป็นประธานในการประชุมติดตามการดำเนินการตามนโยบายบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตัวแทนจาก อย.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค เป็นต้น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติ ให้ อภ.จัดทำระบบ Vender Managed Inventory หรือ VMI กับยาที่ประกาศซีแอลทุกชนิด เพื่อให้การบริหารจัดการยาสามัญที่สั่งนำเข้ามาแจกจ่ายให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ยกเว้นเฉพาะยารักษาโรคมะเร็งที่ครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ระบบ VMI เป็นระบบที่ อภ.ใช้ตรวจสอบการสั่งซื้อ การสำรองยา ของโรงพยาบาลต่างๆ ว่า มีการสั่งซื้อเท่าใด ปริมาณการใช้ และเหลือยาคงคลังเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ เช่น หากเกิดความผิดปกติในการสั่งซื้อยา มีการซื้อมากหรือน้อยเกินความจำเป็น เพราะจะมีฐานข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละโรงพยาบาล ว่าอยู่ในหลักประกันสุขภาพแบบใด”นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินการยาที่ได้ประกาศซีแอลไป 7 รายการ แต่ที่ทำสำเร็จสามารถสั่งซื้อยาสามัญมาทดแทนให้ผู้ป่วยได้มี 5 รายการ ดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรพื้นฐาน เอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) นำเข้าแล้ว 466,000 ขวด 2.ยาต้านไวรัสเอดส์โลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir) ชนิดเม็ด ชื่อการค้าอลูเวีย นำเข้า 20,000 ขวด 3.ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) นำเข้า 6.1 ล้านเม็ด 4.ยารักษามะเร็งเต้านม เล็ทโทรโซล (Letrozole) นำเข้า 400,000 เม็ด 5.รักษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม โดซีแท็กเซล (Docetaxel) นำเข้า 18,000 ขวด ส่วนอีก 2 รายการคือ ยารักษาโรคมะเร็งปอดชื่อเออร์โลทินิบ (Erlotinib) ไม่สามารถหายาสามัญที่มีคุณภาพมาทดแทนได้ และยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งทางเดินอาหาร ชื่อ อิมมาทินิบ (Imatinib)ได้รับบริจาคยาฟรีจาก บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) เจ้าของสิทธิบัตรยา