สกศ.พิมพ์หนังสือและซีดี Education in Thailand 2007 รวมข้อมูลการศึกษาของไทยเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ต่างชาติ เพื่อให้นานาชาติเข้าใจระบบการศึกษาของไทยมากขึ้น เผยข้อมูลต่างชาติสนใจเข้ามาเรียนในไทยเพิ่มมากขึ้น โดย ม.อัสสัมชัญได้รับความนิยมสูงสุด ส่วนนักศึกษาส่วนใหญ่มากจาก จีน พม่า เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และลาว
นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือและซีดี Education in Thailand 2007 ว่า สกศ. ได้จัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวติดต่อกันเป็นปีที่ 9 แต่ปีนี้ได้ทำซีดีเพิ่มเติมด้วย โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้สถานทูต และหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศในไทย อาทิ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) สถาบันสถาบันเทคโนโลยีแหงเอเชีย (เอไอที) และสถาบันสอนภาษา British Council เป็นต้น ได้เข้าใจระบบการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ตลอดจนนำไปใช้เผยแพร่ในงานการประชุมนานาชาติ การประชุมศึกษาดูงานต่างประเทศ การต้อนรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาดูงานการศึกษาไทย การจัดนิทรรศการแนะนำสถาบันอุดมศึกษาของไทย และใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
อีกทั้งในการประชุมยูเนสโก ซึ่งนายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่จะไปประชุม ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายนนี้ สกศ. ก็จะมอบหนังสือนี้เพื่อไปเผยแพร่ในงานดังกล่าวด้วย ผู้สนใจยังสามารถดาวโหลดข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ www.onec.go.th
นายธงทอง กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว จะเป็นการรวบรวมข้อมูลปี 2550 เกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบทุกระดับการศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งนำเสนอออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของไทย ความก้าวหน้าของการปฏิรูปการศึกษา และโครงการเด่นและความคาดหวังในอนาคต ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวจะทำให้ต่างชาติเข้าใจระบบการศึกษาไทยมากขึ้น รวมถึงข้อมูลทางการศึกษาของไทยจะถูกอ้างอิงถึงในงานวิชาการระดับนานาชาติบ่อยครั้งขึ้นด้วย ที่สำคัญความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาของไทยในนานาชาติ จะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และคุณภาพของคนในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของชาติดีขึ้นด้วย
เลขาธิการสภาการศึกษา ได้ยกตัวอย่างข้อมูลจากหนังสือดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษา เช่น จากเดิมที่คิดกันว่านักศึกษาไทย จะไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่จากข้อมูลสถิติจากหนังสือเห็นได้ว่ามีนักเรียน นักศึกษาต่างชาติ สนใจมาเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสะท้อนถึงค่านิยมและคุณภาพการศึกษาของไทย
โดยมหาวิทยาลัยยอดนิยม 10 อันดับแรก ที่ชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชาวต่างชาติมาเรียนมากที่สุด ในปี 2549 มีนักศึกษามาเรียนจำนวน 2,406 คน เพิ่มจากปี 2548 ที่มีจำนวน 2,248 คน รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจำนวน 734 คน จาก 476 คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 419 คน จากเดิม 243 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 397 คน จาก 217 คน วิทยาลัยมิชชัน (Mission College) จำนวน 365 คน จาก 179 คน มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 250 คน จาก 170 คน มหาวิทยาลัยรังสิต 219 คน จาก 170 คน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 186 คน จากเดิม 148 คน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 177 คน จากเดิม 146 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จำนวน 173 คน จาก 123 คน
โดยชาวต่างชาติที่นิยมมาเรียนต่อในไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ จีน พม่า เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และลาว ส่วนสาขาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริหารธุรกิจ ภาษาไทย การตลาด บริหารธุรกิจนานาชาติ และไทยศึกษา
นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือและซีดี Education in Thailand 2007 ว่า สกศ. ได้จัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวติดต่อกันเป็นปีที่ 9 แต่ปีนี้ได้ทำซีดีเพิ่มเติมด้วย โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้สถานทูต และหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศในไทย อาทิ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) สถาบันสถาบันเทคโนโลยีแหงเอเชีย (เอไอที) และสถาบันสอนภาษา British Council เป็นต้น ได้เข้าใจระบบการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ตลอดจนนำไปใช้เผยแพร่ในงานการประชุมนานาชาติ การประชุมศึกษาดูงานต่างประเทศ การต้อนรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาดูงานการศึกษาไทย การจัดนิทรรศการแนะนำสถาบันอุดมศึกษาของไทย และใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
อีกทั้งในการประชุมยูเนสโก ซึ่งนายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่จะไปประชุม ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายนนี้ สกศ. ก็จะมอบหนังสือนี้เพื่อไปเผยแพร่ในงานดังกล่าวด้วย ผู้สนใจยังสามารถดาวโหลดข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ www.onec.go.th
นายธงทอง กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว จะเป็นการรวบรวมข้อมูลปี 2550 เกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบทุกระดับการศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งนำเสนอออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของไทย ความก้าวหน้าของการปฏิรูปการศึกษา และโครงการเด่นและความคาดหวังในอนาคต ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวจะทำให้ต่างชาติเข้าใจระบบการศึกษาไทยมากขึ้น รวมถึงข้อมูลทางการศึกษาของไทยจะถูกอ้างอิงถึงในงานวิชาการระดับนานาชาติบ่อยครั้งขึ้นด้วย ที่สำคัญความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาของไทยในนานาชาติ จะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และคุณภาพของคนในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของชาติดีขึ้นด้วย
เลขาธิการสภาการศึกษา ได้ยกตัวอย่างข้อมูลจากหนังสือดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษา เช่น จากเดิมที่คิดกันว่านักศึกษาไทย จะไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่จากข้อมูลสถิติจากหนังสือเห็นได้ว่ามีนักเรียน นักศึกษาต่างชาติ สนใจมาเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสะท้อนถึงค่านิยมและคุณภาพการศึกษาของไทย
โดยมหาวิทยาลัยยอดนิยม 10 อันดับแรก ที่ชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชาวต่างชาติมาเรียนมากที่สุด ในปี 2549 มีนักศึกษามาเรียนจำนวน 2,406 คน เพิ่มจากปี 2548 ที่มีจำนวน 2,248 คน รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจำนวน 734 คน จาก 476 คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 419 คน จากเดิม 243 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 397 คน จาก 217 คน วิทยาลัยมิชชัน (Mission College) จำนวน 365 คน จาก 179 คน มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 250 คน จาก 170 คน มหาวิทยาลัยรังสิต 219 คน จาก 170 คน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 186 คน จากเดิม 148 คน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 177 คน จากเดิม 146 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จำนวน 173 คน จาก 123 คน
โดยชาวต่างชาติที่นิยมมาเรียนต่อในไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ จีน พม่า เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และลาว ส่วนสาขาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริหารธุรกิจ ภาษาไทย การตลาด บริหารธุรกิจนานาชาติ และไทยศึกษา