กลุ่มเพศที่สามเตรียมบุก ศธ.2 ต.ค.นี้ เหตุคณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ไล่บัณฑิตกะเทยแต่งหญิงออกจากสแตนด์ถ่ายรูปหมู่ เปรียบเสมือนทำผิดกฎหมายขับรถฝ่าไฟแดงแล้วอยากถ่ายรูปกับตำรวจ
นายนที ธีระโรจนพงษ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายอัตลักษณ์ทางเพศ กล่าวว่า ในวันที่ 2 ต.ค.เวลา 11.00 น.จะเดินทางไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยื่นหนังสือให้กับ นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ในกรณีที่ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารว่า ไม่ให้บัณฑิตสาวประเภทสองที่แต่งตัวเป็นหญิงรายหนึ่งขึ้นสแตนด์ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับบัณฑิตคนอื่นๆ เนื่องจากเธอใส่ชุดแบบผู้หญิง ซึงเหมือนกับว่า ขับรถฝ่าไฟแดงแล้วจะมาขอถ่ายรูปกับตำรวจ ซึ่งการพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงทัศนคติและพฤติกรรมของนายวินัยถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นอีกในระบบการศึกษาไทย
“นอกจากนี้ ในวันเดียวกันจะเดินทางไปมอบหนังสือให้กับคณบดีคนดังกล่าวด้วย แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะจบไปแล้วด้วยความเจ็บปวด โดยเด็กนักศึกษาจะเหมือนถูกเขวี้ยงออกจากมหาวิทยาลัย แต่การกระทำดังกล่าวอาจเป็นบรรทัดฐานในการทำให้อาจารย์ในคณะอื่นๆสับสนและเลียนแบบได้ โดยที่การกระทำของนายวินัยจะเป็นการอ้างว่ารักษากฎระเบียบของสถาบันก็ไม่ถูกต้อง เพราะในปี 2543 มีนักศึกษาสาวประเภทสองที่สวมชุดเป็นหญิงก็สามารถขึ้นถ่ายรูปบนสแตนด์ได้เช่นกัน แต่ในส่วนพิธีพระราชทานปริญญาบัตรก็อาจพบกันครึ่งทางด้วยการสวมชุดตามเพศแต่กำเนิด ถ้าระบบทำให้คนได้รับผลกระทบก็ควรน่าจะมีการปรับปรุงระบบ” นายนที กล่าว
นายนที กล่าวว่า เหตุที่เพิ่งออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครทราบมาก่อนว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ซึ่งถือว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ไว้ อาจจะเกิดขึ้นอีก และไม่เป็นการสร้างความมนุษยธรรมที่เท่าเทียมกัน เพียงเพราะหากสาวประเภทสองแต่งชายก็สามารถขึ้นสแตนด์ถ่ายรูปกับเพื่อนได้อย่างนั้นหรือ อย่างนี้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างมาก
ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ระบุว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ และมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
นายนที ธีระโรจนพงษ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายอัตลักษณ์ทางเพศ กล่าวว่า ในวันที่ 2 ต.ค.เวลา 11.00 น.จะเดินทางไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยื่นหนังสือให้กับ นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ในกรณีที่ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารว่า ไม่ให้บัณฑิตสาวประเภทสองที่แต่งตัวเป็นหญิงรายหนึ่งขึ้นสแตนด์ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับบัณฑิตคนอื่นๆ เนื่องจากเธอใส่ชุดแบบผู้หญิง ซึงเหมือนกับว่า ขับรถฝ่าไฟแดงแล้วจะมาขอถ่ายรูปกับตำรวจ ซึ่งการพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงทัศนคติและพฤติกรรมของนายวินัยถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นอีกในระบบการศึกษาไทย
“นอกจากนี้ ในวันเดียวกันจะเดินทางไปมอบหนังสือให้กับคณบดีคนดังกล่าวด้วย แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะจบไปแล้วด้วยความเจ็บปวด โดยเด็กนักศึกษาจะเหมือนถูกเขวี้ยงออกจากมหาวิทยาลัย แต่การกระทำดังกล่าวอาจเป็นบรรทัดฐานในการทำให้อาจารย์ในคณะอื่นๆสับสนและเลียนแบบได้ โดยที่การกระทำของนายวินัยจะเป็นการอ้างว่ารักษากฎระเบียบของสถาบันก็ไม่ถูกต้อง เพราะในปี 2543 มีนักศึกษาสาวประเภทสองที่สวมชุดเป็นหญิงก็สามารถขึ้นถ่ายรูปบนสแตนด์ได้เช่นกัน แต่ในส่วนพิธีพระราชทานปริญญาบัตรก็อาจพบกันครึ่งทางด้วยการสวมชุดตามเพศแต่กำเนิด ถ้าระบบทำให้คนได้รับผลกระทบก็ควรน่าจะมีการปรับปรุงระบบ” นายนที กล่าว
นายนที กล่าวว่า เหตุที่เพิ่งออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครทราบมาก่อนว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ซึ่งถือว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ไว้ อาจจะเกิดขึ้นอีก และไม่เป็นการสร้างความมนุษยธรรมที่เท่าเทียมกัน เพียงเพราะหากสาวประเภทสองแต่งชายก็สามารถขึ้นสแตนด์ถ่ายรูปกับเพื่อนได้อย่างนั้นหรือ อย่างนี้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างมาก
ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ระบุว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ และมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม