กทม.สาธิตขั้นตอนใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ ตั้งเป้าบัตรเสียไม่เกิน 3% จากจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ พร้อมย้ำกากบาทบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ ให้ถูกต้องชัดเจน เตือนฉีกบัตรเลือกตั้งมีความผิดตามกฎหมาย
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายรัฐพล มีธนาถาวร รองปลัด กทม.แถลงข่าว “ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไร ไม่ให้บัตรเสีย” เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการใช้สิทธิ พร้อมสาธิตขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ว่า ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ 1.ตรวจสอบรายชื่อที่ป้ายหน้าหน่วยเลือกตั้ง 2.แสดงตน โดยแสดงบัตรประชาชนต่อกรรมการที่หน่วยเลือกตั้ง และลงชื่อขอใช้สิทธิ ทั้งนี้สามารถใช้ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแสดงตนขอใช้สิทธิแทนบัตรประชาชนได้ 3.ลงชื่อรับบัตรเลือกตั้ง 4.เข้าคูหา ใช้ปากกาทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องทำเครื่องหมาย ให้ตรงกับช่องหมายเลขผู้สมัครที่จะเลือก จากนั้นพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อย และ 5.นำบัตรเลือกตั้งที่กากบาทเรียบร้อยแล้ว ไปหย่อนลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
นายรัฐพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในการทำเครื่องหมายกากบาท ขอเน้นย้ำให้ประชาชนเพิ่มความรอบคอบในการกากบาทให้ถูกต้อง ชัดเจน ในช่องทำเครื่องหมายเพียง 1 ช่องเท่านั้น เนื่องจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนบัตรเสียมากถึง 59,765 บัตร คิดเป็น 2.4% จากจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 62.50% ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการทำเครื่องหมายไม่ชัดเจน หรือทำเครื่องหมายอื่นนอกเหนือจากเครื่องหมายกากบาท หรือทำเครื่องหมายนอกกรอบที่กำหนด ทำให้สูญเสียคะแนนบริสุทธิ์จำนวนมาก ที่สำคัญห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง เพราะจะมีความผิดตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งได้นำตัวอย่างแนวทางการการวินิจฉัยลักษณะบัตรดีและบัตรเสียไปปิดไว้ที่บริเวณที่นับคะแนนให้ประชาชนได้เห็นโดยชัดเจน ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ครั้งนี้ ตั้งเป้าให้มีบัตรเสียไม่เกิน 3% อย่างไรก็ตามอยากให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนเร่งไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งที่สำนักงานเขตพื้นที่ทันที
รองปลัด กทม.กล่าวอีกว่า ส่วนบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ได้จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 4.4 ล้านฉบับ ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีทั้งหมด 4.2 ล้านคน โดยจำนวน 2 แสนฉบับที่จัดพิมพ์เพิ่มเติมคิดเป็น 7% เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้บัตรไม่พอลงคะแนน โดยมอบหมายให้โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดพิมพ์
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายรัฐพล มีธนาถาวร รองปลัด กทม.แถลงข่าว “ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไร ไม่ให้บัตรเสีย” เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการใช้สิทธิ พร้อมสาธิตขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ว่า ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ 1.ตรวจสอบรายชื่อที่ป้ายหน้าหน่วยเลือกตั้ง 2.แสดงตน โดยแสดงบัตรประชาชนต่อกรรมการที่หน่วยเลือกตั้ง และลงชื่อขอใช้สิทธิ ทั้งนี้สามารถใช้ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแสดงตนขอใช้สิทธิแทนบัตรประชาชนได้ 3.ลงชื่อรับบัตรเลือกตั้ง 4.เข้าคูหา ใช้ปากกาทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องทำเครื่องหมาย ให้ตรงกับช่องหมายเลขผู้สมัครที่จะเลือก จากนั้นพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อย และ 5.นำบัตรเลือกตั้งที่กากบาทเรียบร้อยแล้ว ไปหย่อนลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
นายรัฐพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในการทำเครื่องหมายกากบาท ขอเน้นย้ำให้ประชาชนเพิ่มความรอบคอบในการกากบาทให้ถูกต้อง ชัดเจน ในช่องทำเครื่องหมายเพียง 1 ช่องเท่านั้น เนื่องจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนบัตรเสียมากถึง 59,765 บัตร คิดเป็น 2.4% จากจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 62.50% ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการทำเครื่องหมายไม่ชัดเจน หรือทำเครื่องหมายอื่นนอกเหนือจากเครื่องหมายกากบาท หรือทำเครื่องหมายนอกกรอบที่กำหนด ทำให้สูญเสียคะแนนบริสุทธิ์จำนวนมาก ที่สำคัญห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง เพราะจะมีความผิดตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งได้นำตัวอย่างแนวทางการการวินิจฉัยลักษณะบัตรดีและบัตรเสียไปปิดไว้ที่บริเวณที่นับคะแนนให้ประชาชนได้เห็นโดยชัดเจน ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ครั้งนี้ ตั้งเป้าให้มีบัตรเสียไม่เกิน 3% อย่างไรก็ตามอยากให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนเร่งไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งที่สำนักงานเขตพื้นที่ทันที
รองปลัด กทม.กล่าวอีกว่า ส่วนบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ได้จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 4.4 ล้านฉบับ ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีทั้งหมด 4.2 ล้านคน โดยจำนวน 2 แสนฉบับที่จัดพิมพ์เพิ่มเติมคิดเป็น 7% เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้บัตรไม่พอลงคะแนน โดยมอบหมายให้โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดพิมพ์