ประธานบอร์ดอภ.เผยผลตรวจคุณภาพ "โคลพิโดเกรล" ที่สั่งซื้อจากอินเดีย ได้มาตรฐานเทียบเท่ายาต้นตำรับ "หมอวิชัย" ส่งหนังสือถึงกรมวิทย์ฯ เตรียมทยอยส่งยาหัวใจไปรพ. ที่มีความต้องการเร่งด่วนทันที
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(บอร์ด อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการจัดหายาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง หรือโคลพิโดเกรลจากบริษัท คาดิลา ฟาร์มาซูติคอล ประเทศอินเดีย จำนวน 2.1 ล้านเม็ด ในราคาเม็ดละ 1.06 บาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ยาต้นแบบมีราคาเม็ดละ 90-120 บาทนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพยาดังกล่าว ซึ่งได้ทำการตรวจสอบแล้วประมาณ 7-8 ชุดแล้ว จากทั้งหมด 10 ชุด ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่ายาได้มาตรฐานมีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นตำรับ ดังนั้น ตนจึงได้ทำหนังสือถึงกรมวิทย์ เพื่อให้ทยอยจัดส่งยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตันที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเสร็จเรียบร้อยแล้วไปยังตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีความต้องการใช้ยาดังกล่าว เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้โดยเร็ว
“ตามปกติกรมวิทย์จะต้องตรวจสอบคุณภาพยาให้แล้วเสร็จทั้งหมดก่อน จึงจะจัดทำรายงานสรุปผล และจัดส่งยาให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้ แต่เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ได้ล่าช้ามาหลายเดือนแล้ว และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้ จึงได้ให้ทยอยจัดส่งยาชุดที่ทำการตรวจเรียบร้อยทันที”นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า สาเหตุที่การตรวจสอบคุณภาพยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมองใช้เวลานานกว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้ประกาศบังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ(ซีแอล) ไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ไม่ได้กำหนดให้ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตัน ต้องผลิตจากโรงงานได้มาตรฐาน จีเอ็มพี ที่มีการตรวจสอบคุณภาพพื้นฐานมาในระดับหนึ่งแล้ว จึงทำให้กระบวนการการตรวจสอบคุณภาพยามีความซับซ้อนมากว่า และต้องใช้เวลานานเกือบ 3 เดือน ทั้งนี้ WHO ได้กำหนดเฉพาะยาต้านไวรัสเอดส์ ยารักษาวัณโรค และยารักษาโรคมาลาเรีย เท่านั้นที่ต้องผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน จีเอ็มพี
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(บอร์ด อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการจัดหายาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง หรือโคลพิโดเกรลจากบริษัท คาดิลา ฟาร์มาซูติคอล ประเทศอินเดีย จำนวน 2.1 ล้านเม็ด ในราคาเม็ดละ 1.06 บาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ยาต้นแบบมีราคาเม็ดละ 90-120 บาทนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพยาดังกล่าว ซึ่งได้ทำการตรวจสอบแล้วประมาณ 7-8 ชุดแล้ว จากทั้งหมด 10 ชุด ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่ายาได้มาตรฐานมีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นตำรับ ดังนั้น ตนจึงได้ทำหนังสือถึงกรมวิทย์ เพื่อให้ทยอยจัดส่งยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตันที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเสร็จเรียบร้อยแล้วไปยังตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีความต้องการใช้ยาดังกล่าว เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้โดยเร็ว
“ตามปกติกรมวิทย์จะต้องตรวจสอบคุณภาพยาให้แล้วเสร็จทั้งหมดก่อน จึงจะจัดทำรายงานสรุปผล และจัดส่งยาให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้ แต่เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ได้ล่าช้ามาหลายเดือนแล้ว และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้ จึงได้ให้ทยอยจัดส่งยาชุดที่ทำการตรวจเรียบร้อยทันที”นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า สาเหตุที่การตรวจสอบคุณภาพยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมองใช้เวลานานกว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้ประกาศบังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ(ซีแอล) ไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ไม่ได้กำหนดให้ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตัน ต้องผลิตจากโรงงานได้มาตรฐาน จีเอ็มพี ที่มีการตรวจสอบคุณภาพพื้นฐานมาในระดับหนึ่งแล้ว จึงทำให้กระบวนการการตรวจสอบคุณภาพยามีความซับซ้อนมากว่า และต้องใช้เวลานานเกือบ 3 เดือน ทั้งนี้ WHO ได้กำหนดเฉพาะยาต้านไวรัสเอดส์ ยารักษาวัณโรค และยารักษาโรคมาลาเรีย เท่านั้นที่ต้องผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน จีเอ็มพี