หมอยันแก๊สน้ำตา คือมาตรการรุนแรงรองจากใช้กระสุนจริง โดนเต็มๆ อาจถึงตาย ไม่ควรใช้กับผู้ชุมนุมคนไทยด้วยกัน วอนอย่าคิดใช้ในทำเนียบที่แออัด ต้องมีคนเสียชีวิตแน่ แนะ 4 วิธี ป้องกันตัว อย่าทาโลชั่นเพราะจะดูดแก๊ส-ห้ามทากันแดดมีน้ำมัน-ใส่เสื้อปิดผิวหนังให้มากที่สุด-ไม่มีหน้ากากใส่แว่นว่ายน้ำได้
นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน กล่าวว่า แก๊สน้ำตาคือมาตรการรุนแรงที่นำมาใช้ต่อเมื่อต้องระงับเหตุจลาจล การปราบโจรผู้ร้าย ซึ่งรุนแรงรองจากการใช้กระสุนจริงเท่านั้นเอง การใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนมีผู้บาดเจ็บถึง 60 กว่าคน จึงไม่มีเหตุสมควร และไม่ควรมาใช้กับคนไทยด้วยกัน เพราะแก๊สน้ำตาคือสารพิษที่ก่ออันตราย สร้างความระคายเคือง ต่อเยื่อบุ และผิวหนัง เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น แม้เรียกว่า แก๊สน้ำตา แต่หลายครั้งสารที่ใช้เป็นฝุ่นผงที่จะออกฤทธิ์มากขึ้น ในอากาศ ร้อน ชื้น และติดตามเสื้อผ้าที่จะมีฤทธิ์ยาวนานขึ้น และอาจเป็นอันตรายมากต่อเด็ก คนชรา สตรี รวมถึงผู้มีโรคประจำตัว
นพ.ชัยยศ กล่าวอีกว่า ผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาจะได้รับอันตราย ดังนี้ 1.ผลโดยตรงจากแก๊สน้ำตา แสบร้อน ปวดที่ตา ปาก จมูก และทางเดินหายใจ น้ำตาไหลพราก ตามองไม่เห็น น้ำมูก น้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และจะหายเร็วขึ้นถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ยกเว้นกรณีสัมผัสมากๆ เช่น หากหายใจเข้าไป อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงอาจผลระยะยาวต่อตับ 2.อันตรายจากชิ้นส่วนเมื่อระเบิด เพราะแก๊สน้ำตามักจะอยู่ในกระป๋องที่แตกออก เมื่อยิงใส่ แรงอัดไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดบาดเจ็บได้เมื่อระเบิดใกล้ตัว 3.อันตรายจากคนรอบข้างที่ตกใจ ชน เหยียบกัน
“ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ หืด โรคผิวหนัง รวมถึง เด็ก คนชรา หญิงตั้งครรภ์ ผู้สวมใส่คอนแทกต์เลนส์ จะได้รับอันตรายจากแก๊สน้ำตามากกว่าคนปกติ แต่ถ้านำแก๊สน้ำตามาใช้ในที่แออัด มีคนอยู่จำนวนมากอย่างทำเนียบรัฐบาลตอนนี้ก็อาจทำให้มีคนเสียชีวิตได้ ซึ่งผมยืนยันว่าแก๊สน้ำตา คือวิธีที่รุนแรง ไม่สมควรนำมาใช้”นพ.ชัยยศ กล่าว
นพ.ชัยยศ กล่าวอีกว่า หากอยู่ในเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อแก๊สน้ำตา ควรมีอุปกรณ์และป้องกันตัว คือ 1.อย่าใช้โลชั่น น้ำมัน หรือสารพวกสบู่ สารเหล่านี้จะดูดซึมแก๊ส 2.หากจะใช้ครีมกันแดดให้ใช้ชนิดที่ละลายน้ำ อย่าใช้ชนิดที่เจือน้ำมัน 3.ใส่เสื้อผ้าแขนยาวที่ปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด สวมหมวกด้วย 4.หากหาหน้ากากไม่ได้อาจสวมแว่นที่ใช้ว่ายน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก
เมื่อสัมผัสถูกแก๊สน้ำตาให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1.ล้างหน้าด้วยน้ำ เป็นการล้างสารเคมีออกไป 2.สั่งน้ำมูก ไอ บ้วนน้ำลาย เพื่อไล่แก๊สที่อาจอยู่ในระบบทางเดินหายใจออกมา อย่าสูดกลืนเข้าไป 3.อย่าเกา อย่าถูไถตามผิวหนัง 4.เปลี่ยนเสื้อผ้า และถอดคอนแท็คเลนส์ออก
นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน กล่าวว่า แก๊สน้ำตาคือมาตรการรุนแรงที่นำมาใช้ต่อเมื่อต้องระงับเหตุจลาจล การปราบโจรผู้ร้าย ซึ่งรุนแรงรองจากการใช้กระสุนจริงเท่านั้นเอง การใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนมีผู้บาดเจ็บถึง 60 กว่าคน จึงไม่มีเหตุสมควร และไม่ควรมาใช้กับคนไทยด้วยกัน เพราะแก๊สน้ำตาคือสารพิษที่ก่ออันตราย สร้างความระคายเคือง ต่อเยื่อบุ และผิวหนัง เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น แม้เรียกว่า แก๊สน้ำตา แต่หลายครั้งสารที่ใช้เป็นฝุ่นผงที่จะออกฤทธิ์มากขึ้น ในอากาศ ร้อน ชื้น และติดตามเสื้อผ้าที่จะมีฤทธิ์ยาวนานขึ้น และอาจเป็นอันตรายมากต่อเด็ก คนชรา สตรี รวมถึงผู้มีโรคประจำตัว
นพ.ชัยยศ กล่าวอีกว่า ผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาจะได้รับอันตราย ดังนี้ 1.ผลโดยตรงจากแก๊สน้ำตา แสบร้อน ปวดที่ตา ปาก จมูก และทางเดินหายใจ น้ำตาไหลพราก ตามองไม่เห็น น้ำมูก น้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และจะหายเร็วขึ้นถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ยกเว้นกรณีสัมผัสมากๆ เช่น หากหายใจเข้าไป อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงอาจผลระยะยาวต่อตับ 2.อันตรายจากชิ้นส่วนเมื่อระเบิด เพราะแก๊สน้ำตามักจะอยู่ในกระป๋องที่แตกออก เมื่อยิงใส่ แรงอัดไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดบาดเจ็บได้เมื่อระเบิดใกล้ตัว 3.อันตรายจากคนรอบข้างที่ตกใจ ชน เหยียบกัน
“ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ หืด โรคผิวหนัง รวมถึง เด็ก คนชรา หญิงตั้งครรภ์ ผู้สวมใส่คอนแทกต์เลนส์ จะได้รับอันตรายจากแก๊สน้ำตามากกว่าคนปกติ แต่ถ้านำแก๊สน้ำตามาใช้ในที่แออัด มีคนอยู่จำนวนมากอย่างทำเนียบรัฐบาลตอนนี้ก็อาจทำให้มีคนเสียชีวิตได้ ซึ่งผมยืนยันว่าแก๊สน้ำตา คือวิธีที่รุนแรง ไม่สมควรนำมาใช้”นพ.ชัยยศ กล่าว
นพ.ชัยยศ กล่าวอีกว่า หากอยู่ในเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อแก๊สน้ำตา ควรมีอุปกรณ์และป้องกันตัว คือ 1.อย่าใช้โลชั่น น้ำมัน หรือสารพวกสบู่ สารเหล่านี้จะดูดซึมแก๊ส 2.หากจะใช้ครีมกันแดดให้ใช้ชนิดที่ละลายน้ำ อย่าใช้ชนิดที่เจือน้ำมัน 3.ใส่เสื้อผ้าแขนยาวที่ปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด สวมหมวกด้วย 4.หากหาหน้ากากไม่ได้อาจสวมแว่นที่ใช้ว่ายน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก
เมื่อสัมผัสถูกแก๊สน้ำตาให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1.ล้างหน้าด้วยน้ำ เป็นการล้างสารเคมีออกไป 2.สั่งน้ำมูก ไอ บ้วนน้ำลาย เพื่อไล่แก๊สที่อาจอยู่ในระบบทางเดินหายใจออกมา อย่าสูดกลืนเข้าไป 3.อย่าเกา อย่าถูไถตามผิวหนัง 4.เปลี่ยนเสื้อผ้า และถอดคอนแท็คเลนส์ออก