สธ.คัดเลือกหาแชมป์ต้นแบบแอโรบิกสุดยอดของประเทศไทย เพื่อค้นหาท่าเต้นที่เป็นต้นแบบของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ ชิงถ้วยรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมเงินรางวัล
วันที่ 24 ส.ค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการเป็นประธานแข่งขันแอโรบิกแดนซ์เยาวชนระดับประเทศ ณ ห้อง Meeting Room 4-5 อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการออกกำลังกายน้อยมาก ซึ่งเป็นผลจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การมีกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายลดน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก และมะเร็งสูงถึงร้อยละ 60 ของการตายทั้งหมดของประชากรโลก และคาดว่า จะเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ในอีก 12 ปีข้างหน้า สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อกว่า 40,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 120 คน โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะอ้วนและขาดการออกกำลังกาย
นายวิชาญ กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่า คนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายด้วยปริมาณ และความหนักเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน มีประมาณร้อยละ 30 ซึ่งกว่า 13 ล้านคน เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ในแต่ละปี ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคหลอดเลือดและสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวานกว่า 65,000 ราย โดยยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า การแข่งขันแอโรบิกแดนซ์ระดับประเทศ เพื่อค้นหาท่าเต้นที่เป็นต้นแบบของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้จัดการแข่งขันและหาทีมชนะเลิศในครั้งนี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เยาวชนไทยหันมาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อกันมากขึ้น โดยมีทีมที่เข้าร่วมชิงชัยทั้งสิ้น 15 ทีม และทุกทีมจะผ่านการตัดสินจากคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบัน Fitness innovation (Thailand) Limited และผู้เชี่ยวชาญการเต้น เป็นต้น ซึ่งทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันจะได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เงินรางวัล 30,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข เงินรางวัล 20,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากอธิบดีกรมอนามัย เงินรางวัล 10,000 บาท
“ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนให้ความสนใจ เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมออกกำลังกายด้วยกันได้โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งยังทำให้เกิดความสนุกสนานเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายการสร้างสุขภาพเพื่อปลูกฝังและสร้างนิสัยรักการออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพดีในระยะยาว” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
วันที่ 24 ส.ค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการเป็นประธานแข่งขันแอโรบิกแดนซ์เยาวชนระดับประเทศ ณ ห้อง Meeting Room 4-5 อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการออกกำลังกายน้อยมาก ซึ่งเป็นผลจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การมีกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายลดน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก และมะเร็งสูงถึงร้อยละ 60 ของการตายทั้งหมดของประชากรโลก และคาดว่า จะเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ในอีก 12 ปีข้างหน้า สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อกว่า 40,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 120 คน โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะอ้วนและขาดการออกกำลังกาย
นายวิชาญ กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่า คนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายด้วยปริมาณ และความหนักเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน มีประมาณร้อยละ 30 ซึ่งกว่า 13 ล้านคน เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ในแต่ละปี ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคหลอดเลือดและสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวานกว่า 65,000 ราย โดยยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า การแข่งขันแอโรบิกแดนซ์ระดับประเทศ เพื่อค้นหาท่าเต้นที่เป็นต้นแบบของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้จัดการแข่งขันและหาทีมชนะเลิศในครั้งนี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เยาวชนไทยหันมาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อกันมากขึ้น โดยมีทีมที่เข้าร่วมชิงชัยทั้งสิ้น 15 ทีม และทุกทีมจะผ่านการตัดสินจากคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบัน Fitness innovation (Thailand) Limited และผู้เชี่ยวชาญการเต้น เป็นต้น ซึ่งทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันจะได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เงินรางวัล 30,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข เงินรางวัล 20,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากอธิบดีกรมอนามัย เงินรางวัล 10,000 บาท
“ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนให้ความสนใจ เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมออกกำลังกายด้วยกันได้โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งยังทำให้เกิดความสนุกสนานเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายการสร้างสุขภาพเพื่อปลูกฝังและสร้างนิสัยรักการออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพดีในระยะยาว” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว