เวทีเอดส์โลก ชื่นชม “หมอมงคล” ทำซีแอลยาสำเร็จครั้งแรกของไทย เผยหลายประเทศอยากเอาอย่าง แต่กฎหมายไม่เอื้อ-นักการเมืองไม่กล้าตัดสินใจ ขณะที่เวทีการประชุมอุตสาหกรรมการผลิตยา ยังโจมตีไทยรุนแรง แถมให้ข้อมูลผิดๆ “หมอศิริวัฒน์” จี้กระจายยารักษาโรคหัวใจไปยังโรงพยาบาลและผู้ป่วยได้แล้ว แย้มศาลปกครองไต่สวนกรณี “ไชยา” ย้ายมิชอบ รู้ผลเร็วๆ นี้
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และอดีตประธานคณะกรรมการเจรจาต่อราคายาที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3-8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วย นพ. มงคล ณ สงขลา อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์กรเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ได้เดินทางไปร่วมประชุมเอดส์โลกที่ ประเทศเม็กซิโก โดย นพ.มงคล ได้นำเสนอประสบการณ์ของประเทศไทยในการทำซีแอล ยาเอดส์ และยาอื่นๆ ที่จำเป็นแต่มีราคาแพง ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วโลก มีหลายประเทศอยากใช้มาตรการซีแอลเหมือนกับประเทศไทยบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมีอุปสรรคจากข้อกฎหมายและการไม่กล้าตัดสินใจของนักการเมือง เนื่องจากการทำซีแอลนั้น ต้องร่วมกันเป็นทีมโดยมีนโยบายและทิศทาง การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
“ขณะที่ในเวทีการประชุมอุตสาหกรรมการผลิตยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่ซานดิเอโก สหรัฐฯ มีตัวแทนบริษัทยาเข้าร่วมประชุมจำนวนมากได้พูดถึงประเทศไทยในทางที่ไม่ถูกต้อง ว่า การทำซีแอลเป็นการขโมยสิทธิบัตร ซึ่งผมอยู่ในที่ประชุมด้วยก็ได้ใช้สิทธิชี้แจงข้อเท็จจริงว่าไทยทำถูกต้องตามกติกาสากล และกฎหมายสิทธิบัตรในประเทศ อย่างไรก็ตาม เวทีการประชุมดังกล่าวใน 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้กล่าวโจมตีประเทศไทยค่อนข้างรุนแรง เพราะบริษัทยาหวั่นไหวกลัวว่าประเทศอื่นจะทำซีแอลตามประเทศไทย” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม รู้สึกชื่นชม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ที่ประกาศนโยบายเดินหน้ามาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยาทั้ง 7 รายการที่ นพ.มลคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ริเริ่มไว้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและคนไทยตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2551 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่มุ่งหมายให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และเห็นด้วยกับมาตรการห้ามบริษัทผู้ผลิตยาเข้ามาล็อบบี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นข้อเสนอที่อาจจะขัดต่อนโยบายซีแอล เพราะสธ. ต้องจ่ายค่าตอบแทน(royalty fee) แก่ผู้ทรงสิทธิ์อยู่แล้วในราคาที่จะตกลงกันต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 1-5
“ขณะนี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกระจายยาที่ทำซีแอลแล้ว ไปยังโรงพยาบาลและผู้ป่วยโดยเร็ว เพราะจากการออกตรวจราชการ 9 จังหวัดที่รับผิดชอบ มีแพทย์หลายคนได้สอบถามถึงยาบางตัวโดยเฉพาะ ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน (โคลพิโดเกรล) ว่า ออกสู่ตลาดหรือยัง เพราะรอใช้ยาตัวนี้มานานหลายเดือนแล้ว เพราะต้องกินยาตัวนี้ต้องกินทุกวัน หากออกมาเร็วจะช่วยประหยัดเงินผู้ป่วยและเงินงบประมาณได้มากมหาศาล จาก เม็ดละ 70 ถึง 120 บาท เหลือเพียง 1.60 บาทเท่านั้น”นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความคืบหน้ากรณี นพ.ศิริวัฒน์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อศาลปกครองกลาง กรณีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายมิชอบ โดยมีคำสั่งโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ จากตำแหน่งเลขาธิการ อย.ไปเป็นผู้ตรวจราชการ สธ.นั้น ขณะนี้ศาลปกครองได้ไต่สวนเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการรอศาลวินิจฉัยเท่านั้น
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และอดีตประธานคณะกรรมการเจรจาต่อราคายาที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3-8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วย นพ. มงคล ณ สงขลา อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์กรเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ได้เดินทางไปร่วมประชุมเอดส์โลกที่ ประเทศเม็กซิโก โดย นพ.มงคล ได้นำเสนอประสบการณ์ของประเทศไทยในการทำซีแอล ยาเอดส์ และยาอื่นๆ ที่จำเป็นแต่มีราคาแพง ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วโลก มีหลายประเทศอยากใช้มาตรการซีแอลเหมือนกับประเทศไทยบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมีอุปสรรคจากข้อกฎหมายและการไม่กล้าตัดสินใจของนักการเมือง เนื่องจากการทำซีแอลนั้น ต้องร่วมกันเป็นทีมโดยมีนโยบายและทิศทาง การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
“ขณะที่ในเวทีการประชุมอุตสาหกรรมการผลิตยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่ซานดิเอโก สหรัฐฯ มีตัวแทนบริษัทยาเข้าร่วมประชุมจำนวนมากได้พูดถึงประเทศไทยในทางที่ไม่ถูกต้อง ว่า การทำซีแอลเป็นการขโมยสิทธิบัตร ซึ่งผมอยู่ในที่ประชุมด้วยก็ได้ใช้สิทธิชี้แจงข้อเท็จจริงว่าไทยทำถูกต้องตามกติกาสากล และกฎหมายสิทธิบัตรในประเทศ อย่างไรก็ตาม เวทีการประชุมดังกล่าวใน 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้กล่าวโจมตีประเทศไทยค่อนข้างรุนแรง เพราะบริษัทยาหวั่นไหวกลัวว่าประเทศอื่นจะทำซีแอลตามประเทศไทย” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม รู้สึกชื่นชม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ที่ประกาศนโยบายเดินหน้ามาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยาทั้ง 7 รายการที่ นพ.มลคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ริเริ่มไว้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและคนไทยตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2551 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่มุ่งหมายให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และเห็นด้วยกับมาตรการห้ามบริษัทผู้ผลิตยาเข้ามาล็อบบี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นข้อเสนอที่อาจจะขัดต่อนโยบายซีแอล เพราะสธ. ต้องจ่ายค่าตอบแทน(royalty fee) แก่ผู้ทรงสิทธิ์อยู่แล้วในราคาที่จะตกลงกันต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 1-5
“ขณะนี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกระจายยาที่ทำซีแอลแล้ว ไปยังโรงพยาบาลและผู้ป่วยโดยเร็ว เพราะจากการออกตรวจราชการ 9 จังหวัดที่รับผิดชอบ มีแพทย์หลายคนได้สอบถามถึงยาบางตัวโดยเฉพาะ ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน (โคลพิโดเกรล) ว่า ออกสู่ตลาดหรือยัง เพราะรอใช้ยาตัวนี้มานานหลายเดือนแล้ว เพราะต้องกินยาตัวนี้ต้องกินทุกวัน หากออกมาเร็วจะช่วยประหยัดเงินผู้ป่วยและเงินงบประมาณได้มากมหาศาล จาก เม็ดละ 70 ถึง 120 บาท เหลือเพียง 1.60 บาทเท่านั้น”นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความคืบหน้ากรณี นพ.ศิริวัฒน์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อศาลปกครองกลาง กรณีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายมิชอบ โดยมีคำสั่งโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ จากตำแหน่งเลขาธิการ อย.ไปเป็นผู้ตรวจราชการ สธ.นั้น ขณะนี้ศาลปกครองได้ไต่สวนเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการรอศาลวินิจฉัยเท่านั้น