กทม.อาจระงับจ่ายรถดับเพลิงงวด 4 เป็นเงิน 700 ล้านบาท ให้สไตเออร์ฯไม่ได้ เหตุแอลซีเป็นแบบยืนยันจะเพิกถอนไม่ได้ ระบุ ถ้าจะระงับต้องยกเลิกสัญญาให้ได้ก่อนไม่เช่นนั้นอาจถูกฟ้องร้อง
วานนี้ (11 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นวันครบกำหนดที่ กทม.จะต้องชำระเงินการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง งวดที่ 4 เป็นเงิน 16.132 ล้านยูโร หรือประมาณ 700 ล้านบาท ให้กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาร์หซอย ประเทศออสเตรีย
แต่เมื่อปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือถึงธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเจ้าของบัญชี และแจ้งไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กระทรวงพาณิชย์ ในการขอชะลอชำระเงินงวดที่ 4 ออกไป เนื่องจากอ้างถึงสัญญาซื้อขาย ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ระบุว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือให้เป็นโมฆียะ ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่า สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือตอบกลับมาถึงนายอภิรักษ์แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา
นายอภิรักษ์ กล่าวยืนยันว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้ นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.ไปหารือกับธนาคารกรุงไทย แล้ว โดยยังยืนยันที่จะขอระงับการชำระเงินออกไปก่อน ซึ่งหลังจากนี้ตนจะได้หารือกับอัยการสูงสุด ถึงขั้นตอนที่จะต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ และมาตรการต่างๆ ที่จะเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ สำหรับตนไม่รู้สึกเป็นกังวลที่คู่ต่อสู้จะนำโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงมาเป็นประเด็นโจมตีในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเรื่องดังกล่าวตนได้ชี้แจงและให้ปากคำกับหลายหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบแล้ว
แหล่งข่าวกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการตัดบัญชีของ กทม.จากธนาคารกรุงไทยแต่อย่างใด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าธนาคารจะทำการสำรองจ่ายไปก่อน เหมือนงวดการชำระเงินงวดแรก ซึ่งหากธนาคารกรุงไทยสำรองจ่ายเงินให้ก่อน กทม.ก็จะต้องโดนคิดค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือธนาคารกรุงไทย ดำเนินการตัดบัญชีของ กทม.โดยโอนไปยังธนาคาร Raiffeisen Zentralbank Oesterreich AG, กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือชะลอชำระเงินได้ เพราะสัญญาที่ทำไว้ระบุว่าชำระโดยการเปิดแอลซีแบบยืนยันชนิดเพิกถอนไม่ได้ สุดท้ายอย่างไร กทม.ก็ต้องจ่าย
อีกทั้งขณะนี้สัญญาการจัดซื้อ กทม.ก็ยังไม่ได้บอกเลิก ดังนั้น จะยกเลิกการชำระเงินได้อย่างไร หากผู้บริหารตัดสินใจที่จะขอระงับการชำระเงินก็ควรบอกยกเลิกสัญญาก่อน ไม่เช่นนั้นหากถูกบริษัท สไตเออร์ฯ ฟ้องร้องก็จะต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้
วานนี้ (11 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นวันครบกำหนดที่ กทม.จะต้องชำระเงินการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง งวดที่ 4 เป็นเงิน 16.132 ล้านยูโร หรือประมาณ 700 ล้านบาท ให้กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาร์หซอย ประเทศออสเตรีย
แต่เมื่อปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือถึงธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเจ้าของบัญชี และแจ้งไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กระทรวงพาณิชย์ ในการขอชะลอชำระเงินงวดที่ 4 ออกไป เนื่องจากอ้างถึงสัญญาซื้อขาย ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ระบุว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือให้เป็นโมฆียะ ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่า สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือตอบกลับมาถึงนายอภิรักษ์แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา
นายอภิรักษ์ กล่าวยืนยันว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้ นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.ไปหารือกับธนาคารกรุงไทย แล้ว โดยยังยืนยันที่จะขอระงับการชำระเงินออกไปก่อน ซึ่งหลังจากนี้ตนจะได้หารือกับอัยการสูงสุด ถึงขั้นตอนที่จะต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ และมาตรการต่างๆ ที่จะเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ สำหรับตนไม่รู้สึกเป็นกังวลที่คู่ต่อสู้จะนำโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงมาเป็นประเด็นโจมตีในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเรื่องดังกล่าวตนได้ชี้แจงและให้ปากคำกับหลายหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบแล้ว
แหล่งข่าวกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการตัดบัญชีของ กทม.จากธนาคารกรุงไทยแต่อย่างใด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าธนาคารจะทำการสำรองจ่ายไปก่อน เหมือนงวดการชำระเงินงวดแรก ซึ่งหากธนาคารกรุงไทยสำรองจ่ายเงินให้ก่อน กทม.ก็จะต้องโดนคิดค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือธนาคารกรุงไทย ดำเนินการตัดบัญชีของ กทม.โดยโอนไปยังธนาคาร Raiffeisen Zentralbank Oesterreich AG, กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือชะลอชำระเงินได้ เพราะสัญญาที่ทำไว้ระบุว่าชำระโดยการเปิดแอลซีแบบยืนยันชนิดเพิกถอนไม่ได้ สุดท้ายอย่างไร กทม.ก็ต้องจ่าย
อีกทั้งขณะนี้สัญญาการจัดซื้อ กทม.ก็ยังไม่ได้บอกเลิก ดังนั้น จะยกเลิกการชำระเงินได้อย่างไร หากผู้บริหารตัดสินใจที่จะขอระงับการชำระเงินก็ควรบอกยกเลิกสัญญาก่อน ไม่เช่นนั้นหากถูกบริษัท สไตเออร์ฯ ฟ้องร้องก็จะต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้