เตรียมประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งแรก อย่างช้าก.ย.นี้ มั่นใจไม่เลื่อนอีกแน่ ถกหามาตรการเข้าถึงยา หารือพาณิชย์ปรับยาเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมพิเศษ ชี้ อย่าเพิ่งคิดไกลทำซีแอลตัวใหม่ เร่งบริการจัดการยา 4 ตัว ที่ทำซีแอลไปแล้วให้ถึงมือผู้ป่วยดีกว่า ขณะที่ “ชวรัตน์” ชี้ ซีแอลเป็นเครื่องมือต่อรองราคา ถือเป็นกลุยุทธ์ของประเทศเหมือนตำราพิชัยสงคราม จึงต้องอุบไม่บอกอนาคตทำหรือไม่
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน กล่าวว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งแรกที่กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการร่วมฯ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัด สธ.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ผู้แทนเครือข่ายผู้ป่วย และมีรองปลัด สธ. เป็นเลขานุการ อีกทั้งจะมีการเพิ่มในส่วนของตัวแทนผู้ผลิตยาในประเทศด้วย โดยคาดว่าจะมีการประชุมอย่างช้าในต้นเดือนกันยายนนี้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นที่จะหยิบยกมาหารือในที่ประชุม คือ ขณะนี้มีโรคใดบ้างที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงยาได้ และมีมาตรการใดบ้างในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีหลายกลไกที่จะทำให้มีการเข้าถึงยา ได้แก่ 1.มาตรการจัดตั้งราคาอ้างอิง 2.มาตรการจัดซื้อยารวม 3.การแข่งขันทั่วไปในตลาดยา 4.มาตรการราคาที่แตกต่างกัน 5.มาตรการควบคุมทางภาษี 6.มาตรการควบคุมราคายาโดยตรง หรือการกำหนดราคายา 7.มาตรการการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรหรือซีแอล และ 8.มาตรการนำเข้าซ้อน
“แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมฯ แล้ว แต่มีเหตุการณ์หลายๆ เรื่อง ทำให้การประชุมล่าช้า อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้คงจะไม่เลื่อนอีก และโดยหลักการเท่าที่สัมผัสรัฐมนตรีทุกท่านอยากให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอยู่แล้ว แต่การทำซีแอล ซึ่งมีการซื้อยาสามัญมาใช้ จะต้องเสียค่าตรวจวิเคราะห์ยาที่มีราคาแพงสูงถึงล้านบาท และต้องมีการติดตามผลหลังจากผู้ป่วยรับประทานยาสามัญไปแล้ว”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ราคายาที่มีความเหมาะสม น่าพอใจขึ้นอยู่กับเมื่อเปรียบเทียบกับราคายาเลียนแบบแล้วต่างกันมากน้อยอย่างไร และประเทศไทยมีความสามารถในการจ่ายเงินได้หรือไม่ เช่น หากยาต้นแบบราคา 70 บาท แล้วลดลงมาเหลือ 5 บาท รัฐบาลอาจมีกำลังที่พอสามารถจ่ายได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ในการปรับประเภทสินค้าให้ยาอยู่ในบัญชีสินค้าพิเศษ ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมพิเศษหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ในที่ประชุมจะต้องหารือกันในเรื่องนี้ด้วยอย่างแน่นอน เพราะมาตรการกำหนดราคายา จะต้องแก้ไขระเบียบ กฎกระทรวง หรือกฎหมาย ให้ยาเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษ เป็นมาตรฐานเหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการควบคุมพิเศษ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ถือว่ามองอนาคตกันไกลเกินไป ว่า จะทำยาซีแอลตัวต่อไป ทั้งๆ ที่ยาทั้ง 7 รายการที่มีการทำซีแอลก่อนหน้านี้ มียา 4 ตัวที่ยังดำเนินการนำเข้าไม่เรียบร้อย จึงควรดำเนินการนำเข้ายาทั้ง 4 ตัวให้ถึงมือผู้ป่วยก่อน คือ ยาสะลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคพิโดเกรล ยารักษาโรคมะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล, ยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เลทโทรโซล อยู่ระหว่างการการจัดซื้อ และตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ขณะที่ยารักษาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ ยังไม่มีบริษัทยาสามัญมาขึ้นทะเบียนยา ดังนั้น จึงไม่มีการจัดซื้อ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อพัฒนาการเข้าถึงระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา มีผลการศึกษาจากสถาบันประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อการเข้าถึงยา 4 ประการ คือ 1.เหตุผลในการคัดเลือกยา 2.การแสวงหาราคายาที่เหมาะสม 3.การจัดหาเงินสนับสนุน 4.ระบบสุขภาพและการจัดซื้อและจัดหายาที่มีคุณภาพ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า จากการพิจารณาสถานการณ์โรคและการเข้าถึงยาในปัจจุบัน ควรจะมีข้อมูลเชิงวิชาการรองรับอย่างเป็นระบบ ทั้งการป่วย การใช้ยารักษาของแพทย์ จึงได้ให้สถาบันประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวบรวมศึกษาข้อมูลเรื่องนี้อย่างรอบด้าน โดยประสานกับ สปสช.องค์การเภสัชกรรม และ อย.ด้วย ในฐานะเป็นผู้จัดหางบประมาณ ผู้ผลิตและอนุญาตขึ้นทะเบียนยา
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน กล่าวว่า การจะใช้มาตรการซีแอลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจาณาของคณะกรรมการร่วมฯ เป็นผู้พิจารณา เพื่อพิจารณาสถานการณ์การเจ็บป่วยของคนไทยและการเข้าถึงยารักษาที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันก็จะพิจารณาช่องทางการวิจัยยาจากสมุนไพรไทยให้สามารถรักษาโรคเหล่านั้นได้ด้วยซึ่งจะมีการประชุมในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม การทำซีแอลยาทั้ง 7 รายการที่ผ่านมาก็ถือว่าดีอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มหรือลดถือเป็นนโยบายเป็นกลยุทธ์ของรัฐบาลไม่สามารถบอกให้รู้ได้
“สธ.ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่จะทำซีแอลหรือไม่ จะต้องอุบเอาไว้ เพราะซีแอลเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองราคายา เป็นเหมือนตำราพิชัยสงครามไม่สามารถบอกใครได้ว่า ในอนาคตอีก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จะใช้หรือไม่ หากต่อรองราคาไม่ได้ แต่หากสามารถต่อรองได้ราคายาน่าพอใจ และมีคุณภาพดี ก็ไม่จำเป็นต้องทำซีแอล แต่ในปัจจุบันที่ได้ประกาศซีแอลไป 7 รายการ ก็ถือว่าดีอยู่แล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน กล่าวว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งแรกที่กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการร่วมฯ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัด สธ.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ผู้แทนเครือข่ายผู้ป่วย และมีรองปลัด สธ. เป็นเลขานุการ อีกทั้งจะมีการเพิ่มในส่วนของตัวแทนผู้ผลิตยาในประเทศด้วย โดยคาดว่าจะมีการประชุมอย่างช้าในต้นเดือนกันยายนนี้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นที่จะหยิบยกมาหารือในที่ประชุม คือ ขณะนี้มีโรคใดบ้างที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงยาได้ และมีมาตรการใดบ้างในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีหลายกลไกที่จะทำให้มีการเข้าถึงยา ได้แก่ 1.มาตรการจัดตั้งราคาอ้างอิง 2.มาตรการจัดซื้อยารวม 3.การแข่งขันทั่วไปในตลาดยา 4.มาตรการราคาที่แตกต่างกัน 5.มาตรการควบคุมทางภาษี 6.มาตรการควบคุมราคายาโดยตรง หรือการกำหนดราคายา 7.มาตรการการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรหรือซีแอล และ 8.มาตรการนำเข้าซ้อน
“แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมฯ แล้ว แต่มีเหตุการณ์หลายๆ เรื่อง ทำให้การประชุมล่าช้า อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้คงจะไม่เลื่อนอีก และโดยหลักการเท่าที่สัมผัสรัฐมนตรีทุกท่านอยากให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอยู่แล้ว แต่การทำซีแอล ซึ่งมีการซื้อยาสามัญมาใช้ จะต้องเสียค่าตรวจวิเคราะห์ยาที่มีราคาแพงสูงถึงล้านบาท และต้องมีการติดตามผลหลังจากผู้ป่วยรับประทานยาสามัญไปแล้ว”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ราคายาที่มีความเหมาะสม น่าพอใจขึ้นอยู่กับเมื่อเปรียบเทียบกับราคายาเลียนแบบแล้วต่างกันมากน้อยอย่างไร และประเทศไทยมีความสามารถในการจ่ายเงินได้หรือไม่ เช่น หากยาต้นแบบราคา 70 บาท แล้วลดลงมาเหลือ 5 บาท รัฐบาลอาจมีกำลังที่พอสามารถจ่ายได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ในการปรับประเภทสินค้าให้ยาอยู่ในบัญชีสินค้าพิเศษ ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมพิเศษหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ในที่ประชุมจะต้องหารือกันในเรื่องนี้ด้วยอย่างแน่นอน เพราะมาตรการกำหนดราคายา จะต้องแก้ไขระเบียบ กฎกระทรวง หรือกฎหมาย ให้ยาเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษ เป็นมาตรฐานเหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการควบคุมพิเศษ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ถือว่ามองอนาคตกันไกลเกินไป ว่า จะทำยาซีแอลตัวต่อไป ทั้งๆ ที่ยาทั้ง 7 รายการที่มีการทำซีแอลก่อนหน้านี้ มียา 4 ตัวที่ยังดำเนินการนำเข้าไม่เรียบร้อย จึงควรดำเนินการนำเข้ายาทั้ง 4 ตัวให้ถึงมือผู้ป่วยก่อน คือ ยาสะลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคพิโดเกรล ยารักษาโรคมะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล, ยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เลทโทรโซล อยู่ระหว่างการการจัดซื้อ และตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ขณะที่ยารักษาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ ยังไม่มีบริษัทยาสามัญมาขึ้นทะเบียนยา ดังนั้น จึงไม่มีการจัดซื้อ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อพัฒนาการเข้าถึงระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา มีผลการศึกษาจากสถาบันประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อการเข้าถึงยา 4 ประการ คือ 1.เหตุผลในการคัดเลือกยา 2.การแสวงหาราคายาที่เหมาะสม 3.การจัดหาเงินสนับสนุน 4.ระบบสุขภาพและการจัดซื้อและจัดหายาที่มีคุณภาพ
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า จากการพิจารณาสถานการณ์โรคและการเข้าถึงยาในปัจจุบัน ควรจะมีข้อมูลเชิงวิชาการรองรับอย่างเป็นระบบ ทั้งการป่วย การใช้ยารักษาของแพทย์ จึงได้ให้สถาบันประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวบรวมศึกษาข้อมูลเรื่องนี้อย่างรอบด้าน โดยประสานกับ สปสช.องค์การเภสัชกรรม และ อย.ด้วย ในฐานะเป็นผู้จัดหางบประมาณ ผู้ผลิตและอนุญาตขึ้นทะเบียนยา
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน กล่าวว่า การจะใช้มาตรการซีแอลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจาณาของคณะกรรมการร่วมฯ เป็นผู้พิจารณา เพื่อพิจารณาสถานการณ์การเจ็บป่วยของคนไทยและการเข้าถึงยารักษาที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันก็จะพิจารณาช่องทางการวิจัยยาจากสมุนไพรไทยให้สามารถรักษาโรคเหล่านั้นได้ด้วยซึ่งจะมีการประชุมในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม การทำซีแอลยาทั้ง 7 รายการที่ผ่านมาก็ถือว่าดีอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มหรือลดถือเป็นนโยบายเป็นกลยุทธ์ของรัฐบาลไม่สามารถบอกให้รู้ได้
“สธ.ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่จะทำซีแอลหรือไม่ จะต้องอุบเอาไว้ เพราะซีแอลเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองราคายา เป็นเหมือนตำราพิชัยสงครามไม่สามารถบอกใครได้ว่า ในอนาคตอีก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จะใช้หรือไม่ หากต่อรองราคาไม่ได้ แต่หากสามารถต่อรองได้ราคายาน่าพอใจ และมีคุณภาพดี ก็ไม่จำเป็นต้องทำซีแอล แต่ในปัจจุบันที่ได้ประกาศซีแอลไป 7 รายการ ก็ถือว่าดีอยู่แล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว