“ชวรัตน์” เตรียมตั้งคณะกรรมการเฉพาะแก้แพทย์สมองไหล พร้อมทั้งพิจารณาขึ้นเงินเดือน-เพิ่มค่าปรับ รับข้อเสนอแพทยชนบทร่วมพิจารณา วางกรอบมาตรการแก้ปัญหาระยะยาวขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ
วันที่ (8 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการสัมมนาเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรวิชาชีพต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขสาขาต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวนกว่า 250 คนว่า ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข เป็นเรื่องที่สำคัญมากและเป็นปัญหาเรื้อรังในวงการมานานกว่า 20 ปี ทั้งเรื่องขาดแคลน กระจายไม่เหมาะสม และยังเผชิญปัญหาการฟ้องร้องที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความไม่เข้าใจ หรือการรักษาไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสธ.ได้ตั้งกองทุนช่วยเหลือแพทย์ในการต่อสู้คดี ซึ่งขณะนี้ให้การช่วยเหลือไปแล้วหลายคดี
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันแพทย์ไทยดูแลประชาชน 1 ต่อ 2,400 คน ในขณะที่มาตรฐานที่ควรจะเป็นกำหนดไว้ 1 ต่อ 1,500 คน โดยเฉพาะปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งต้องทำงานชดใช้ทุน 3 ปี แต่พบว่าส่วนใหญ่อยู่เพียงปีเดียวก็ย้ายหรือลาออกปีละประมาณ 800 คน เพราะงานหนัก อันเป็นผลจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุม ทำให้โรงพยาบาลมีงานบริการเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระงานที่หนักแต่ขาดกำลังคน โอกาสความผิดพลาดในการบริการมีเพิ่มขึ้น
“ผมพร้อมที่จะสานต่อและให้การสนับสนุนมติที่ได้จากการสัมมนาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากทุกฝ่าย อย่างเต็มที่ ทั้งการพิจารณาขึ้นเงินเดือนแพทย์และเพิ่มค่าปรับ ซึ่งเป้าหมายของเราคือการทำอย่างไรไม่แพทย์ไหลออกนอกระบบราชการ โดยจะตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุดเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ไม่ได้ต้องการให้แพทย์เสียเงินเป็นล้านๆ แต่ต้องการให้เขาอยู่มากกว่า ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว โดยจะต้องให้ขวัญกำลัวใจ ให้เกียรติ รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับแพทย์ที่อยู่ระดับซี 8 จากเดิมที่ได้ซี 9 ขึ้นไปเท่านั้น” นายชวรัตน์กล่าว
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้ที่ประชุมเป็นกรอบทิศทางประกอบการพิจารณาคือให้วางกรอบความต้องการกำลังคนในระยะยาว 10 ปี 20 ปี ให้ปรับแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ในการผลิตกำลังคน ขอให้พิจารณาเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการทุกภาคส่วนของประเทศ และกระจายให้ทั่วถึงคนในสังคมในชนบท ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประการสุดท้าย ให้พิจารณาแรงจูงใจการทำงาน ค่าตอบแทนต่างๆให้เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละวิชาชีพ ไม่หนักเกินไปทั้งในและนอกเวลาราชการจนขาดการพักผ่อน เพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย โดยมาตรการต่างๆที่จะใช้แก้ปัญหากำลังคน จะต้องเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นมติร่วมและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
“ส่วนการที่แพทบชนบทได้เข้าพบเพื่อหารือร่วมกันแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนวันนี้ ก็เท่ากับผมได้มีที่ปรึกษาอีกชุด โดยจะรับมาไว้พิจารณาด้วยเพราะถือว่าเป็นประโยชน์ ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่แล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว
ขณะที่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนพยาบาลว่า ขณะนี้พยาบาลที่เรียนจบจากวิทยาลัยพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ครึ่งหนึ่งไม่ทำงานในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากถูกจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งค่าจ้างต่ำกว่าและภาระงานหนักกว่าเอกชนมาก เป็นปัญหาใหญ่มาก ในการแก้ไขปัญหากระทรวงสาธารณสุขได้ผลิตพยาบาล 1 พยาบาล 1 ตำบล โดยรับนักเรียนจากพื้นที่และกลับไปทำงานในพื้นที่ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการกระจายได้ แต่ยังมีปัญหาไม่มีตำแหน่งบรรจุ ไม่สามารถกระจายกำลังพยาบาลได้หลายพันอัตรา ขณะนี้ได้ใช้เงินบำรุงเป็นทุนการศึกษากับนักเรียนพยาบาล และทำสัญญาผูกพันให้กลับไปปฏิบัติงาน เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องแพทย์ลาออกและการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์จะต้องดำเนินการทั้งระบบไม่ควรแยกส่วน ในการแก้ปัญหาระยะสั้น เห็นด้วยกับมาตรการเชิงบวก โดยปรับค่าตอบแทนให้บุคคลากรแพทย์ได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับภาคเอกชน ควรชดเชยโอกาสให้กับพื้นที่ชนบทให้ได้ค่าตอบแทนมากกว่าในเขตเมืองและเพิ่มความก้าวหน้าของแพทย์ในชนบทในระบบราชการ และทำคู่กับมาตรการเชิงลบ คือ การปรับเพิ่มค่าปรับประมาณ 2 เท่าของงบประมาณในการผลิตบุคคลากรที่แท้จริง
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ระยะยาว ควรแยกกระทรวงสาธารณสุขออกจาก สำนักงาน ก.พ. และเสนอให้มีคณะกรรมการกำลังคนจากภาครัฐ ที่แยกการจัดการเรื่องทุนการผลิตบุคลากรภาครัฐออกมากต่างหาก เช่นเดียวกับกรณีการแยกงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอให้บุคคลากรที่รัฐจะผลิตให้มาจากท้องถิ่น ซึ่งจะต้องแบ่งโควต้าแพทย์ตามพื้นที่เพื่อกระจายบุคคลากรแพทย์ไปทุกจังหวัด เพราะปัญหาขณะนี้ คนที่เข้าเรียนแพทย์ร้อยละ 70 จะมาจาก กทม. ทำให้ไม่อยากทำงานในชนบท
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า วิธีการต้องให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีส่วนร่วม ทั้งการกำหนดกำลังคน และการให้งบประมาณร่วมกับ สธ. โดยแบ่งกันจ่ายค่าหน่วยกิต ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน บ้านพัก โดยนักเรียนแพทย์จะเซ็นต์สัญญากับท้องถิ่น ทำให้กำลังคนกระจายอย่างทั่วถึง ส่วนเด็กที่ต้องการอยู่ รพ.เอกชน ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายเองหรือ รพ.เอกชน ต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องกำลังคนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงควรเสนอปัญหากำลังคนให้เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรเร่งฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ไม่ให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้น
“หากรัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ควรเร่งทำให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผ่านมา แผนการผลิตแพทย์เพิ่มถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่แพทย์กลับไม่เข้าสู่ระบบ ต้องตั้งคำถามว่าแพทย์ที่รัฐผลิตขึ้นนั้นหายไปได้อย่างไร จึงจำป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ซึ่งจะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะความกล้าหรือไม่”นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
วันที่ (8 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการสัมมนาเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรวิชาชีพต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขสาขาต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวนกว่า 250 คนว่า ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข เป็นเรื่องที่สำคัญมากและเป็นปัญหาเรื้อรังในวงการมานานกว่า 20 ปี ทั้งเรื่องขาดแคลน กระจายไม่เหมาะสม และยังเผชิญปัญหาการฟ้องร้องที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความไม่เข้าใจ หรือการรักษาไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสธ.ได้ตั้งกองทุนช่วยเหลือแพทย์ในการต่อสู้คดี ซึ่งขณะนี้ให้การช่วยเหลือไปแล้วหลายคดี
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันแพทย์ไทยดูแลประชาชน 1 ต่อ 2,400 คน ในขณะที่มาตรฐานที่ควรจะเป็นกำหนดไว้ 1 ต่อ 1,500 คน โดยเฉพาะปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งต้องทำงานชดใช้ทุน 3 ปี แต่พบว่าส่วนใหญ่อยู่เพียงปีเดียวก็ย้ายหรือลาออกปีละประมาณ 800 คน เพราะงานหนัก อันเป็นผลจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุม ทำให้โรงพยาบาลมีงานบริการเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระงานที่หนักแต่ขาดกำลังคน โอกาสความผิดพลาดในการบริการมีเพิ่มขึ้น
“ผมพร้อมที่จะสานต่อและให้การสนับสนุนมติที่ได้จากการสัมมนาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากทุกฝ่าย อย่างเต็มที่ ทั้งการพิจารณาขึ้นเงินเดือนแพทย์และเพิ่มค่าปรับ ซึ่งเป้าหมายของเราคือการทำอย่างไรไม่แพทย์ไหลออกนอกระบบราชการ โดยจะตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุดเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ไม่ได้ต้องการให้แพทย์เสียเงินเป็นล้านๆ แต่ต้องการให้เขาอยู่มากกว่า ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว โดยจะต้องให้ขวัญกำลัวใจ ให้เกียรติ รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับแพทย์ที่อยู่ระดับซี 8 จากเดิมที่ได้ซี 9 ขึ้นไปเท่านั้น” นายชวรัตน์กล่าว
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้ที่ประชุมเป็นกรอบทิศทางประกอบการพิจารณาคือให้วางกรอบความต้องการกำลังคนในระยะยาว 10 ปี 20 ปี ให้ปรับแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ในการผลิตกำลังคน ขอให้พิจารณาเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการทุกภาคส่วนของประเทศ และกระจายให้ทั่วถึงคนในสังคมในชนบท ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประการสุดท้าย ให้พิจารณาแรงจูงใจการทำงาน ค่าตอบแทนต่างๆให้เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละวิชาชีพ ไม่หนักเกินไปทั้งในและนอกเวลาราชการจนขาดการพักผ่อน เพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย โดยมาตรการต่างๆที่จะใช้แก้ปัญหากำลังคน จะต้องเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นมติร่วมและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
“ส่วนการที่แพทบชนบทได้เข้าพบเพื่อหารือร่วมกันแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนวันนี้ ก็เท่ากับผมได้มีที่ปรึกษาอีกชุด โดยจะรับมาไว้พิจารณาด้วยเพราะถือว่าเป็นประโยชน์ ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่แล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว
ขณะที่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนพยาบาลว่า ขณะนี้พยาบาลที่เรียนจบจากวิทยาลัยพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ครึ่งหนึ่งไม่ทำงานในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากถูกจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งค่าจ้างต่ำกว่าและภาระงานหนักกว่าเอกชนมาก เป็นปัญหาใหญ่มาก ในการแก้ไขปัญหากระทรวงสาธารณสุขได้ผลิตพยาบาล 1 พยาบาล 1 ตำบล โดยรับนักเรียนจากพื้นที่และกลับไปทำงานในพื้นที่ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการกระจายได้ แต่ยังมีปัญหาไม่มีตำแหน่งบรรจุ ไม่สามารถกระจายกำลังพยาบาลได้หลายพันอัตรา ขณะนี้ได้ใช้เงินบำรุงเป็นทุนการศึกษากับนักเรียนพยาบาล และทำสัญญาผูกพันให้กลับไปปฏิบัติงาน เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องแพทย์ลาออกและการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์จะต้องดำเนินการทั้งระบบไม่ควรแยกส่วน ในการแก้ปัญหาระยะสั้น เห็นด้วยกับมาตรการเชิงบวก โดยปรับค่าตอบแทนให้บุคคลากรแพทย์ได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับภาคเอกชน ควรชดเชยโอกาสให้กับพื้นที่ชนบทให้ได้ค่าตอบแทนมากกว่าในเขตเมืองและเพิ่มความก้าวหน้าของแพทย์ในชนบทในระบบราชการ และทำคู่กับมาตรการเชิงลบ คือ การปรับเพิ่มค่าปรับประมาณ 2 เท่าของงบประมาณในการผลิตบุคคลากรที่แท้จริง
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ระยะยาว ควรแยกกระทรวงสาธารณสุขออกจาก สำนักงาน ก.พ. และเสนอให้มีคณะกรรมการกำลังคนจากภาครัฐ ที่แยกการจัดการเรื่องทุนการผลิตบุคลากรภาครัฐออกมากต่างหาก เช่นเดียวกับกรณีการแยกงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอให้บุคคลากรที่รัฐจะผลิตให้มาจากท้องถิ่น ซึ่งจะต้องแบ่งโควต้าแพทย์ตามพื้นที่เพื่อกระจายบุคคลากรแพทย์ไปทุกจังหวัด เพราะปัญหาขณะนี้ คนที่เข้าเรียนแพทย์ร้อยละ 70 จะมาจาก กทม. ทำให้ไม่อยากทำงานในชนบท
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า วิธีการต้องให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีส่วนร่วม ทั้งการกำหนดกำลังคน และการให้งบประมาณร่วมกับ สธ. โดยแบ่งกันจ่ายค่าหน่วยกิต ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน บ้านพัก โดยนักเรียนแพทย์จะเซ็นต์สัญญากับท้องถิ่น ทำให้กำลังคนกระจายอย่างทั่วถึง ส่วนเด็กที่ต้องการอยู่ รพ.เอกชน ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายเองหรือ รพ.เอกชน ต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องกำลังคนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงควรเสนอปัญหากำลังคนให้เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรเร่งฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ไม่ให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้น
“หากรัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ควรเร่งทำให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผ่านมา แผนการผลิตแพทย์เพิ่มถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่แพทย์กลับไม่เข้าสู่ระบบ ต้องตั้งคำถามว่าแพทย์ที่รัฐผลิตขึ้นนั้นหายไปได้อย่างไร จึงจำป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ซึ่งจะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะความกล้าหรือไม่”นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว