สธ.ชี้ไข้เลือดออกระบาดไม่หยุด สั่งการทั่วประเทศ ร่วมมือกับท้องถิ่น-กทม.พ่นสารเคมีโจมตีขณะยุงออกหากิน กำจัดยุงตัวแก่ให้ถูกเทคนิค ตรงเป้าและรณรงค์ทุกบ้านทำลายลูกน้ำทุก 7 วัน เผยปีนี้มีรายงานผู้ป่วยกว่า 40,000 รายแล้ว เสียชีวิตแล้ว 48 ราย พบมากที่สุด 5 จังหวัด กทม. สูงสุดกว่า 3,000 ราย ตาย 5 ราย
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกในขณะนี้ยังน่าเป็นห่วง โรคยังระบาดไม่หยุด รายงานจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551- 26 กรกฎาคม 2551 พบผู้ป่วย 41,307 ราย เสียชีวิต 48 ราย พบมากที่สุดภาคกลาง 20,052 ราย รองลงมาภาคเหนือ 9,698 ราย ภาคใต้ 5,845 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,712 ราย โดย 5 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3,763 ราย เสียชีวิต 5 ราย รองลงมาคือ ราชบุรี 1,710 ราย นครสวรรค์ 1,582 ราย เพชรบูรณ์ 1,304 ราย ระยอง 1,291 ราย
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ได้สั่งการกำชับทุกจังหวัดให้ความสำคัญเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุมป้องกันโรค โดยให้ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และกรุงเทพมหานคร ทำการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่ซึ่งเป็นตัวการก่อปัญหากัดและดูดเลือดคนในตอนกลางวัน และนำเชื้อไปแพร่ต่อ ซึ่งคนทุกวัยมีสิทธิ์ติดเชื้อได้เหมือนกัน จึงต้องเร่งกำจัดเพื่อลดปริมาณยุงตัวแก่ไม่ให้ไปวางไข่ต่อ และขณะเดียวกันรณรงค์ให้ประชาชนทุกบ้านทุกชุมชน ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่อยู่ในภาชนะต่างๆในบ้านที่มีน้ำขัง และภาชนะที่อยู่รอบๆบ้านทุก 7 วัน ก็จะทำให้ปริมาณยุงตัวใหม่น้อยลง โดยเฉพาะใน 5 จังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด จะต้องทำอย่างเข้มข้น หนักหน่วง
“จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนด้วยตนเองหรือผ่านทางวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ในเรื่องอันตรายของไข้เลือดออก ทั้งเรื่องยุงลาย และอาการป่วยของไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนร่วมกันทำลายยุงลาย ป้องกันไม่ให้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคนี้ นอกจากนี้ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ หรือแนะนำอาจไม่เพียงพอ คงต้องลงไปพื้นที่ หารือกับท้องถิ่นในการรับมือกับโรคด้วย”นายวิชาญกล่าว
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในขณะนี้ มี 2 ชนิด คือชนิดละอองฝอย กับชนิดหมอกควัน แบบสะพายหลังเดินพ่นและติดกับรถยนต์ ซึ่งในการพ่นจะต้องพ่นเวลาประมาณ 10.00 น. ถึงก่อนเที่ยง ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายออกหากินตามธรรมชาติ สารเคมีจะทำให้ยุงตายทันที หากพ่นเวลาอื่นจะได้ผลน้อย โดยกรมควบคุมโรคจะให้ศูนย์โรคติดต่อนำโดยแมลง สนับสนุนการจัดอบรมฟื้นฟูวิธีการพ่นหมอกควันให้เจ้าหน้าที่ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ถูกวิธี ตรงเป้า ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก โดยสามารถติดต่อประสานงานได้ที่กรมควบคุมโรค จ.นนทบุรี และที่สำนักงานควบคุมโรคประจำเขตซึ่งอยู่ใน 12 จังหวัดได้แก่ กทม. สระบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และสงขลา
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกในขณะนี้ยังน่าเป็นห่วง โรคยังระบาดไม่หยุด รายงานจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551- 26 กรกฎาคม 2551 พบผู้ป่วย 41,307 ราย เสียชีวิต 48 ราย พบมากที่สุดภาคกลาง 20,052 ราย รองลงมาภาคเหนือ 9,698 ราย ภาคใต้ 5,845 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,712 ราย โดย 5 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3,763 ราย เสียชีวิต 5 ราย รองลงมาคือ ราชบุรี 1,710 ราย นครสวรรค์ 1,582 ราย เพชรบูรณ์ 1,304 ราย ระยอง 1,291 ราย
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ได้สั่งการกำชับทุกจังหวัดให้ความสำคัญเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุมป้องกันโรค โดยให้ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และกรุงเทพมหานคร ทำการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่ซึ่งเป็นตัวการก่อปัญหากัดและดูดเลือดคนในตอนกลางวัน และนำเชื้อไปแพร่ต่อ ซึ่งคนทุกวัยมีสิทธิ์ติดเชื้อได้เหมือนกัน จึงต้องเร่งกำจัดเพื่อลดปริมาณยุงตัวแก่ไม่ให้ไปวางไข่ต่อ และขณะเดียวกันรณรงค์ให้ประชาชนทุกบ้านทุกชุมชน ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่อยู่ในภาชนะต่างๆในบ้านที่มีน้ำขัง และภาชนะที่อยู่รอบๆบ้านทุก 7 วัน ก็จะทำให้ปริมาณยุงตัวใหม่น้อยลง โดยเฉพาะใน 5 จังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด จะต้องทำอย่างเข้มข้น หนักหน่วง
“จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนด้วยตนเองหรือผ่านทางวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ในเรื่องอันตรายของไข้เลือดออก ทั้งเรื่องยุงลาย และอาการป่วยของไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนร่วมกันทำลายยุงลาย ป้องกันไม่ให้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคนี้ นอกจากนี้ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ หรือแนะนำอาจไม่เพียงพอ คงต้องลงไปพื้นที่ หารือกับท้องถิ่นในการรับมือกับโรคด้วย”นายวิชาญกล่าว
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในขณะนี้ มี 2 ชนิด คือชนิดละอองฝอย กับชนิดหมอกควัน แบบสะพายหลังเดินพ่นและติดกับรถยนต์ ซึ่งในการพ่นจะต้องพ่นเวลาประมาณ 10.00 น. ถึงก่อนเที่ยง ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายออกหากินตามธรรมชาติ สารเคมีจะทำให้ยุงตายทันที หากพ่นเวลาอื่นจะได้ผลน้อย โดยกรมควบคุมโรคจะให้ศูนย์โรคติดต่อนำโดยแมลง สนับสนุนการจัดอบรมฟื้นฟูวิธีการพ่นหมอกควันให้เจ้าหน้าที่ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ถูกวิธี ตรงเป้า ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก โดยสามารถติดต่อประสานงานได้ที่กรมควบคุมโรค จ.นนทบุรี และที่สำนักงานควบคุมโรคประจำเขตซึ่งอยู่ใน 12 จังหวัดได้แก่ กทม. สระบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และสงขลา