พิจิตร - สถานการณ์ไข้เลือดออกทั้ง 11 อำเภอของจังหวัดพิจิตรแพร่ระบาดอย่างหนัก ฝนตกชุกและน้ำขังในพาชนะเป็นสาเหตุหลัก สาธารณสุขวอนประชาชนใส่ใจช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและตระหนักถึงอันตราย ล่าสุดเด็กหญิงวัย 14 ปี ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง สังเวยชีวิตเหยื่อไข้เลือดออกรายแรกของปีนี้แล้ว
นายแพทย์ ประจักษ์ วัฒนะกูล สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร พร้อมทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลเนินสว่าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกระบาดอย่างหนัก จนทำให้พบผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในหมู่บ้านป่วยเป็นไข้เลือดออก
ล่าสุดเด็กหญิงพิลาวรรณ ทองใบ อายุ 14 ปี เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเนินพลวง ตำบลเนินสว่างป่วยเป็นไข้เลือดออกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอโพธิ์ประทับช้าง แต่อาการไม่ดีขึ้นแพทย์จึงส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลพิจิตร และอาการยังไม่ดีขึ้นจนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนแพทย์โรงพยาบาลพิจิตรจึงตัดสินใจย้ายเด็กหญิงพิลาวรรณไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่จะเสียชีวิตแล้ว
สำหรับอาการป่วยนั้น เนื่องจากมีเลือดออกตามร่างกายหลายแห่งและมีอาการไข้สูง ชักจากเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกรายแรกของปีนี้ ถึงแม้เจ้าหน้าที่สารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะพยายามควบคุมป้องกันจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร กล่าวอีกว่า ช่วงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักและตกชุกในพื้นที่ตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัด ทำให้มีน้ำแช่ขังในพาชนะชนิดต่างๆ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกมีการระบาดอย่างหนักในพื้นที่ทั้ง 11 อำเภอ พบผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้เลือดออกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐเกือบ 300 ราย ซึ่งสูงกว่ายอดผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา อำเภอที่มีผู้ป่วยสะสมมากสุด คืออำเภอโพธิ์ประทับช้างรองลงมาคือ อำเภอวังทรายพูน เฉพาะในเดือนมิถุนายนนี้พบผู้ป่วยมากสุดที่อำเภอเมืองพิจิตรและอำเภอโพธิ์ประทับช้าง
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการ 4 ป สำหรับการควบคุมไข้เลือดออก คือ “ปิด” ฝาภาชนะโอ่งน้ำต่างๆ ป้องกันยุงลายวางไข่ “เปลี่ยน” น้ำคว่ำน้ำในภาชนะเป็นประจำเพื่อตัดวงจรของยุงลาย “ปล่อย” ปลาชนิดต่างๆ ในอ่างน้ำ แหล่งน้ำให้ไปกินลูกน้ำ และ “ปรับปรุง” น้ำในภาชนะแหล่งน้ำไม่ให้ยุงสามารถวางไข่ได้โดยการใส่ทรายอะเบทลงในภาชนะกักเก็บน้ำ
นายแพทย์ ประจักษ์ วัฒนะกูล สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร พร้อมทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลเนินสว่าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกระบาดอย่างหนัก จนทำให้พบผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในหมู่บ้านป่วยเป็นไข้เลือดออก
ล่าสุดเด็กหญิงพิลาวรรณ ทองใบ อายุ 14 ปี เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเนินพลวง ตำบลเนินสว่างป่วยเป็นไข้เลือดออกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอโพธิ์ประทับช้าง แต่อาการไม่ดีขึ้นแพทย์จึงส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลพิจิตร และอาการยังไม่ดีขึ้นจนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนแพทย์โรงพยาบาลพิจิตรจึงตัดสินใจย้ายเด็กหญิงพิลาวรรณไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่จะเสียชีวิตแล้ว
สำหรับอาการป่วยนั้น เนื่องจากมีเลือดออกตามร่างกายหลายแห่งและมีอาการไข้สูง ชักจากเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกรายแรกของปีนี้ ถึงแม้เจ้าหน้าที่สารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะพยายามควบคุมป้องกันจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร กล่าวอีกว่า ช่วงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักและตกชุกในพื้นที่ตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัด ทำให้มีน้ำแช่ขังในพาชนะชนิดต่างๆ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกมีการระบาดอย่างหนักในพื้นที่ทั้ง 11 อำเภอ พบผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้เลือดออกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐเกือบ 300 ราย ซึ่งสูงกว่ายอดผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา อำเภอที่มีผู้ป่วยสะสมมากสุด คืออำเภอโพธิ์ประทับช้างรองลงมาคือ อำเภอวังทรายพูน เฉพาะในเดือนมิถุนายนนี้พบผู้ป่วยมากสุดที่อำเภอเมืองพิจิตรและอำเภอโพธิ์ประทับช้าง
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการ 4 ป สำหรับการควบคุมไข้เลือดออก คือ “ปิด” ฝาภาชนะโอ่งน้ำต่างๆ ป้องกันยุงลายวางไข่ “เปลี่ยน” น้ำคว่ำน้ำในภาชนะเป็นประจำเพื่อตัดวงจรของยุงลาย “ปล่อย” ปลาชนิดต่างๆ ในอ่างน้ำ แหล่งน้ำให้ไปกินลูกน้ำ และ “ปรับปรุง” น้ำในภาชนะแหล่งน้ำไม่ให้ยุงสามารถวางไข่ได้โดยการใส่ทรายอะเบทลงในภาชนะกักเก็บน้ำ