เผยสถานการณ์ไข้เลือดออกปีนี้รุนแรง พบผู้ป่วยแล้วกว่า 20,000 ราย มากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว เสียชีวิตกว่า 30 ราย ตั้งทีมเฉพาะกิจติดตามจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด ระดมพลัง อสม.8 แสนคน เฝ้าระวังไข้เลือดออกในหมู่บ้าน และชวนชาวบ้านร่วมกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน-ชุมชนทุก 7 วัน
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มอบสารขอความร่วมมือ อสม.ในโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร อุทัยธานี และพิจิตร กว่า 600 คน โดยให้ช่วยสำรวจ ค้นหา และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุก 7 วัน หลังจากนั้น ได้ปล่อยคาราวานรถประชาสัมพันธ์ต้านภัยไข้เลือดออก 20 คันกระจายไป 4 จังหวัด โดย อสม.และเครือข่าย จะร่วมกันออกเยี่ยมบ้าน ถ่ายทอดความรู้ สำรวจลูกน้ำ ทำความสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงในชุมชนร่วมกับประชาชน
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้จัดว่าอยู่ในขั้นระบาดหนัก น่าเป็นห่วงมาก โดยมีผู้ป่วยสูงกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว จากรายงานสำนักระบาดวิทยารอบ 6 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคม – 14 มิถุนายน 2551 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมทั่วประเทศ 23,979 ราย มากกว่าปีที่แล้ว 10,368 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี มีผู้เสียชีวิต 32 ราย ใน 23 จังหวัด ได้แก่ กทม. 4 ราย พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสาคร จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร จังหวัดละ 2 ราย ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลาจังหวัดละ 1 ราย
นายไชยา กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีฝนตกชุกและอยู่ฤดูกาลที่โรคนี้ระบาดสูงที่สุด คือ มิถุนายน-กรกฎาคม ทำให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ละ 1,000 ราย เป็น 2,000 กว่าราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากแสดงว่าปริมาณยุงลายมีจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วย ในการแก้ไขปัญหาได้มอบนโยบายให้ อสม.กว่า 8 แสนคน ทั่วประเทศ ช่วยกันสำรวจ ค้นหาและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนที่รับผิดชอบทุก 7 วัน ลดจำนวนยุงให้เหลือน้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยมาตรการ 4 ป.คือ ปิดฝาโอ่งมิดชิด เปลี่ยนน้ำแจกันทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และให้ อสม.ช่วยประชาสัมพันธ์บอกเล่าอาการของโรคไข้เลือดออก เช่น ไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง มีจุดแดงที่ผิวหนัง ให้สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก นอนในมุ้ง อย่าให้ยุงกัดซ้ำ หากมีผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ให้แนะนำไปหาหมอที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต มิสเตอร์ไข้เลือดออก กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปีนี้ 32 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น มีอาการช็อคและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วและผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดทีมเฉพาะกิจไข้เลือดออก ประกอบด้วยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักตรวจราชการฯ ออกไปนิเทศ ติดตามในพื้นที่ที่มีไข้เลือดออกระบาด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการเสียชีวิตและมีผู้ป่วยมาก เพื่อกระตุ้นเตือนให้เจ้าหน้าที่เกิดการตื่นตัว ให้กำลังใจและร่วมแก้ไขปัญหา ป้องกัน และควบคุมการระบาดของไข้เลือดออกให้สงบโดยเร็ว
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มอบสารขอความร่วมมือ อสม.ในโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร อุทัยธานี และพิจิตร กว่า 600 คน โดยให้ช่วยสำรวจ ค้นหา และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุก 7 วัน หลังจากนั้น ได้ปล่อยคาราวานรถประชาสัมพันธ์ต้านภัยไข้เลือดออก 20 คันกระจายไป 4 จังหวัด โดย อสม.และเครือข่าย จะร่วมกันออกเยี่ยมบ้าน ถ่ายทอดความรู้ สำรวจลูกน้ำ ทำความสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงในชุมชนร่วมกับประชาชน
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้จัดว่าอยู่ในขั้นระบาดหนัก น่าเป็นห่วงมาก โดยมีผู้ป่วยสูงกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว จากรายงานสำนักระบาดวิทยารอบ 6 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคม – 14 มิถุนายน 2551 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมทั่วประเทศ 23,979 ราย มากกว่าปีที่แล้ว 10,368 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี มีผู้เสียชีวิต 32 ราย ใน 23 จังหวัด ได้แก่ กทม. 4 ราย พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสาคร จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร จังหวัดละ 2 ราย ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลาจังหวัดละ 1 ราย
นายไชยา กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีฝนตกชุกและอยู่ฤดูกาลที่โรคนี้ระบาดสูงที่สุด คือ มิถุนายน-กรกฎาคม ทำให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ละ 1,000 ราย เป็น 2,000 กว่าราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากแสดงว่าปริมาณยุงลายมีจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วย ในการแก้ไขปัญหาได้มอบนโยบายให้ อสม.กว่า 8 แสนคน ทั่วประเทศ ช่วยกันสำรวจ ค้นหาและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนที่รับผิดชอบทุก 7 วัน ลดจำนวนยุงให้เหลือน้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยมาตรการ 4 ป.คือ ปิดฝาโอ่งมิดชิด เปลี่ยนน้ำแจกันทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และให้ อสม.ช่วยประชาสัมพันธ์บอกเล่าอาการของโรคไข้เลือดออก เช่น ไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง มีจุดแดงที่ผิวหนัง ให้สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก นอนในมุ้ง อย่าให้ยุงกัดซ้ำ หากมีผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ให้แนะนำไปหาหมอที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต มิสเตอร์ไข้เลือดออก กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปีนี้ 32 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น มีอาการช็อคและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วและผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดทีมเฉพาะกิจไข้เลือดออก ประกอบด้วยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักตรวจราชการฯ ออกไปนิเทศ ติดตามในพื้นที่ที่มีไข้เลือดออกระบาด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการเสียชีวิตและมีผู้ป่วยมาก เพื่อกระตุ้นเตือนให้เจ้าหน้าที่เกิดการตื่นตัว ให้กำลังใจและร่วมแก้ไขปัญหา ป้องกัน และควบคุมการระบาดของไข้เลือดออกให้สงบโดยเร็ว